8 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 เกมต่อเกม ใครอยู่ใครไป! [2]

8 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 เกมต่อเกม ใครอยู่ใครไป! [2]

8 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 เกมต่อเกม ใครอยู่ใครไป! [2]

 

เฮี้ยนไม่เว้นวัน สนุกสนานตื่นเต้นเร้าใจไม่เว้นเกม สร้างเซอร์ไพรส์และเรื่องเล่าขานต่างๆ นานาได้ในทุกเกมที่ผ่านพ้นไป สำหรับ ฟุตบอลโลก 2022 โดยเฉพาะเมื่อยิ่งงวดลง ยิ่งมาถึงน็อกเอาต์วันท้ายๆ ก็ยิ่งมีประเด็นให้โลกลูกหนังต้องตามติด–ชนิดตาห้ามกะพริบ!

 

ประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำ! โมร็อกโกลิ่วตัดเชือกบอลโลก

8 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 เกมต่อเกม ใครอยู่ใครไป! [2]

 

ไม่เพียงแต่การเป็นม้ามืดประจำทัวร์นาเมนต์ แต่มาถึงตรงนี้ คงพูดได้ว่า โมร็อกโก มีเอี่ยวกับการ “คว้าแชมป์โลก” แล้ว

 

นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในอีกหนึ่งเกมประวัติศาสตร์ที่ วาลิด เรกรารี และลูกทีมสิงโตแอตลาส จัดมาเสิร์ฟแฟนๆ

 

รอบ 8 ทีมสุดท้ายฟุตบอลโลก 2022 สองคู่สุดท้าย วันเสาร์ที่ 10 ธ.ค. เริ่มจากแมตช์ โมร็อกโก พบ โปรตุเกส ซึ่งตัวแทนจากแอฟริกาต้องปรับหลังบ้านเล็กน้อยหลัง นาเยฟ อาแกร์ด บาดเจ็บ ส่วนทาง แฟร์นันโด ซานโตส ยังคงดร็อป คริสเตียโน่ โรนัลโด้ นั่งสำรอง เพื่อเปิดทางให้ กอนซาโล่ รามอส เจ้าของแฮตทริกในเกมถล่ม สวิตเซอร์แลนด์ 6-1 รอบที่แล้ว ลงตัวจริงต่อ

 

กระนั้น เกมรุกของทีมฝอยทองไม่อาจเจาะแนวรับโมร็อกโกที่นำโดยกัปตันทีม โรแม็ง ซาอิสส์ และนายด่านจอมหนึบ ยาสซีน “โบโน่” บูนู เข้าไปได้ ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล รวมถึงว่าโอกาสจบก็ไม่ได้มีมากครั้งนักด้วย

 

จนในช่วงท้ายครึ่งแรก น.42 โมร็อกโก ก็ทำเซอร์ไพรส์เจาะประตูนำไปก่อนจากลูกครอสเข้าหน้าประตู ของ ยาเอีย อัตติยัต อัลลาห์ เข้าทาง ยุสเซฟ เอ็น-เนซีรี่ ขึ้นโขกตัดหน้านายทวาร ดีโอโก้ คอสต้า เข้าประตูไปพอดิบพอดี

 

ครึ่งหลัง โปรตุเกส โถมเกมรุกขึ้นอีกระดับ โดยมีการส่ง โรนัลโด้ ลงสำรองมาเพิ่ม และ CR7 ก็มีโอกาสดีที่จะพังประตูตีเสมอตอนทดเจ็บ จากการทะลุเข้าไปส่องในเขตโทษทางขวา ทว่าก็ไม่ผ่านมือ ยาสซีน บูนู แต่อย่างใด

 

ทดเวลา 90+3 วาลิด เชดดิร่า โดนใบเหลืองที่สองเป็นใบแดงไล่ออกไป แต่ก็ไม่ส่งผลอะไรกับเกม แค่ว่าหอกสำรองโมร็อกโกจะอดเล่นในรอบตัดเชือกเท่านั้น

 

สุดท้ายเกมจบลง โมร็อกโก ชนะ 1-0 โปรตุเกส ตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายบอลโลกอีกครั้ง และ โรนัลโด้ เดินร่ำไห้ออกจากสนาม ด้วยความที่นี่คือเกมฟุตบอลโลกครั้งสุดท้ายของชายวัยย่าง 38 ปีอย่างเขา และความหวังในการผงาดแชมป์โลกครั้งแรก ต้องมีอันสิ้นสุดลงไป

 

สำหรับ โมร็อกโก ของกุนซือ วาลิด เรกรากี เดินหน้าสร้างประวัติศาสตร์ต่อเนื่อง เป็นชาติแอฟริกันและอาหรับที่เข้าถึงรอบตัดเชือกฟุตบอลโลกเป็นรายแรก รวมถึงมีโอกาสขึ้นบัลลังก์แชมป์โลกสมัยแรกด้วยเช่นกัน ทั้งยังเพิ่งเสียไปเพียงประตูเดียวเท่านั้นจากการเล่น 5 นัดในฟุตบอลโลกครั้งนี้

 

รายชื่อผู้เล่นและสถิติที่สำคัญ
โมร็อกโก (4-3-3) ยาสซีน บูนู – อัชราฟ ฮาคิมี่, โรแม็ง ซาอิสส์ (อัชราฟ ดารี 57), จาวัด เอล ยามิก, ยาเอีย อัตติยัต-อัลลาห์ – อัซซาดีน อูนาฮี, โซฟียาน อัมราบัต, เซลิม อมัลลาห์ (วาลิด เชดดิร่า 65) – ฮาคิม ซีเย็ค (ซากาเรีย อาบูคลัล 82), ยุสเซฟ เอ็น-เนซิรี่ (บาเดอร์ เบนูน 65), โซฟียาน บูฟาล (ยาห์ย่า จาบราน 82)
โปรตุเกส (4-3-3) ดีโอโก้ คอสต้า – ดีโอโก้ ดาโล่ต์ (ริคาร์โด้ ออร์ต้า 79), เปเป้, รูเบน ดิอาส, ราฟาแอล เกร์เรยโร่ (ชูเอา กันเซโล่ 51) – โอตาวิโอ (วิตินญ่า 69), รูเบน เนเวส (คริสเตียโน่ โรนัลโด้ 51), แบร์นาร์โด้ ซิลวา – บรูโน่ แฟร์นันเดส, กอนซาโล่ รามอส (ราฟาเอล เลเอา 69), ชูเอา เฟลิกซ์

 

• แมนออฟเดอะแมตช์ : ยาสซีน บูนู
• ยาสซีน บูนู คว้าแมนออฟเดอะแมตช์ในฟุตบอลโลก 2022 แล้ว 3 ครั้ง สูงสุดในกลุ่มนายทวาร เทียบเท่า โดมินิค ลิวาโควิช ของโครเอเชีย
• ตามสถิติฟีฟ่า ยาสซีน บูนู ทำ Goals Prevented เกมนี้ 11 ครั้ง
• ยุสเซฟ เอ็น-เนซิรี่ กระโดดโหม่งทำประตูในเกมนี้สูงถึง 2.78 เมตร เหนือกว่าที่ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ เคยทำไว้ 2.5 เมตร ในเกม ยูเวนตุส พบ ซามพ์โดเรีย

• โมร็อกโก ไม่แพ้ใครมาเป็นเกมที่ 10 แบ่งเป็นชนะ 7 เสมอ 3
• ในจำนวน 10 เกมที่ไร้พ่าย โมร็อกโก ไม่เสียประตูถึง 8 นัดด้วยกัน และเสียรวมแค่ 2 ลูก (2-1 แอฟริกาใต้, 2-1 แคนาดา)
• วาลิด เรกรากี คุมโมร็อกโกมาแค่ 8 นัด ยังไร้พ่าย ชนะ 5 เสมอ 3

• นี่คือการพบกันเพียงครั้งที่ 3 เท่านั้น เป็นในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายทั้งหมด หรือก็คือไม่เคยเตะกระชับมิตรกันมาก่อนเลย
• บอลโลก 1986 โมร็อกโก ชนะ โปรตุเกส ยุค เปาโล ฟูเตร้ 3-1
• ให้หลัง 32 ปี พบกันในฟุตบอลโลก 2018 โปรตุเกส ชนะคืน 1-0 คริสเตียโน่ โรนัลโด้ พังประตูโทน
• และล่าสุดกับเกมนี้ ที่ โมร็อกโก กำชัย 1-0
• โปรตุเกส ไปไม่ถึงดวงดาวในฟุตบอลโลกเหมือนเช่นเคย โดยตกทั้งรอบแรก, รอบ 16 ทีม, รอบ 8 ทีม ใน 3 ทัวร์นาเมนต์หลัง ส่วนผลงานดีสุดยังคงเป็นอันดับ 3 ปี 1966

• กอนซาโล่ รามอส มีโอกาสยิง 6 ครั้งในเกมกับ สวิตเซอร์แลนด์ และทำแฮตทริกได้ แต่มาเกมนี้โอกาสลดเหลือ 1 ครั้งถ้วน ไม่มีประตู ก่อนถูกถอดออกในนาที 69
• อันเดร ซิลวา ที่ยิง 19 ประตูในทีมชาติ มีโอกาสสัมผัสฟุตบอลโลก 2022 แค่ราวครึ่งชั่วโมง ด้วยการลงสำรองนาที 65 เกมแพ้ เกาหลีใต้ 1-2
• คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ลงเล่นทีมชาติเกมที่ 196 แต่ถ้าจำกัดเฉพาะ “รอบน็อกเอาต์ฟุตบอลโลก” แล้ว นี่คือนัดที่ 8 รวมเวลา 9 ชั่วโมงครึ่ง โอกาสยิง 27 ครั้ง… ได้มา 0 ประตู

 

สืบเนื่องจากผลสกอร์ โมร็อกโก 1-0 โปรตุเกส
• โมร็อกโก สร้างประวัติศาสตร์เป็นทีมแอฟริกัน/อาหรับ รายแรกที่มาถึงรอบรองชนะเลิศ ฟุตบอลโลก
• แน่นอนว่ายังเป็นผลงานดีสุดของตัวเอง ถัดจากการเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 1986
• รอบตัดเชือก โมร็อกโก จะพบกับชาติที่เป็นอดีตเจ้าอาณานิคมอย่าง ฝรั่งเศส ที่เคยปกครอง โมร็อกโก ระหว่างปี 1912 – 1956
• โมร็อกโก มีลุ้นแชมป์โลกอยู่พอประมาณเมื่อมาถึงตรงนี้ แม้ว่าข้อเท็จจริงจะบอกว่า พวกเขาเคยเป็นแชมป์ทวีป แอฟริกา คัพ ออฟ เนชั่นส์ แค่สมัยเดียวถ้วน ตั้งแต่ปี 1976 มาแล้ว

• การตกรอบอย่างสุดช็อกของ โปรตุเกส นำมาซึ่งบทสัมภาษณ์เผ็ดร้อน เต็มไปด้วยความโกรธเคืองของทางฝั่ง เปเป้ และ บรูโน่ แฟร์นันเดส ที่มีต่อผู้ตัดสิน ฟาคุนโด้ เตโย่ จากอาร์เจนติน่า ว่าไม่โปร่งใส ไม่ทันเกมอย่างที่ควรเป็น ทั้งยังเป็นสิงห์เชิ้ตดำเกรดรอง ไม่เคยผ่านการตัดสินเวทีใหญ่ของยุโรปมาก่อน แต่กลับได้มาทำหน้าที่ในเกมสำคัญอย่างรอบ 8 ทีมสุดท้ายฟุตบอลโลกอย่างน่าประหลาดใจ ไปจนถึงว่าก็ไม่ควรได้ทำหน้าที่นี้ ทั้งที่ชาติบ้านเกิดอย่าง อาร์เจนติน่า ยังคงอยู่ในทัวร์นาเมนต์

• แฟร์นันโด ซานโตส ยังไม่ด่วนตัดสินอนาคตตัวเอง โดยขอเจรจากับสมาคมฟุตบอลโปรตุเกสเสียก่อนจึงจะได้ข้อสรุปว่าจะทำทีมต่อหรือสละเก้าอี้ไป หลังคุมยาวมาตั้งแต่ปี 2014 และมีแชมป์ยูโร 1 สมัย กับแชมป์ยูฟ่า เนชั่นส์ ลีก 1 สมัย ติดมือ แต่ตกแค่รอบ 16 ทีมกับ 8 ทีมฟุตบอลโลก เท่านั้น

• แม้ไม่ได้ประกาศชัด แต่ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ที่เดินออกจากสนามแบบน้ำตานองอาบสองแก้ม ก็เผยเป็นนัยว่า เขาอาจจะเลิกเล่นทีมชาติแต่เพียงเท่านี้ ลงรับใช้ชาติไปทั้งสิ้น 196 นัด ยิง 118 ประตู โดยเป็นเจ้าของสถิติทั้งลงสนามมากสุดและยิงประตูสูงสุดตลอดกาลกับทีมชาติ ทว่าก็ยิงได้แค่ลูกเดียวเท่านั้นในฟุตบอลโลก 2022 จากจุดโทษนัดชนะ กาน่า 3-2 เกมแรกของทัวร์นาเมนต์
“การคว้าแชมป์โลกกับ โปรตุเกส คือความฝันและความทะเยอทะยานสูงสุดในอาชีพของผม โชคดีที่ผมได้แชมป์มามากมาย รวมทั้งกับ โปรตุเกส ด้วย แต่การพาประเทศของเราประสบความสำเร็จขั้นที่สูงที่สุดในโลกคือความฝันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของผม”
“ผมต่อสู้เพื่อสิ่งนี้ ผมต่อสู้อย่างหนักเพื่อความฝันนี้ จากการลงเล่นฟุตบอลโลก 5 สมัย รวมเวลาเกินกว่า 16 ปี ผมยิงประตูได้ ผมได้เล่นร่วมกับนักเตะที่ยิ่งใหญ่ และได้รับการสนับสนุนจากชาวโปรตุเกสหลายล้านคน ผมทุ่มเทอย่างเต็มร้อยในสนาม ผมไม่เคยหนีหน้าจากการต่อสู้ และผมไม่เคยยอมแพ้ที่จะสานฝัน”
“น่าเศร้าที่เมื่อวานฝันจบลงอย่างไม่สมควร ผมอยากให้คุณรู้มากกว่าการที่มันจะถูกเขียนถึง ถูกพูดถึง หรือว่าถูกเล่าลือ แต่ความทุ่มเทที่ผมมีต่อ โปรตุเกส ไม่เคยเปลี่ยนไปแม้แต่เสี้ยววินาที ผมต่อสู้เพื่อเป้าหมายเสมอ และผมไม่เคยหันหลังให้กับเพื่อนร่วมทีม และประเทศของผม”
“สำหรับตอนนี้ ผมไม่มีอะไรจะพูดมากไปกว่านี้ ขอบคุณโปรตุเกส ขอบคุณกาตาร์ ความฝันมันงดงามจนกระทั่งมันจบสิ้นลง… ตอนนี้ คงถึงเวลาแล้วสำหรับการเป็นผู้แนะนำที่ดี และเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้ทำตามต้องการ”

 

 

เคนขว้างตั๋วทิ้ง-สิงโตสลบพ่ายตราไก่ 1-2

8 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 เกมต่อเกม ใครอยู่ใครไป! [2]

 

ไม่ต่างจากที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้

 

นี่คือเกมคู่คี่สูสี ที่มีสิทธิ์ตัดสินกันด้วย “รายละเอียดเล็กๆ”

 

รายละเอียดเล็กจิ๋วอย่าง “องศาการเหินของลูกบอล” ขณะออกจากปลายเท้า แฮร์รี่ เคน ในเสี้ยววินาทีนั้น…

 

คู่ดึกของวันเสาร์ เกมสุดท้ายของรอบ 8 ทีมฟุตบอลโลก 2022 บิ๊กแมตช์ของประเทศเพื่อนบ้าน อังกฤษ พบ ฝรั่งเศส เกมนี้ต่างฝ่ายต่างยึด 11 คนแรกชุดเดิมลงสนาม สิงโตคำรามนำมาโดย แฮร์รี่ เคน, ฟิล โฟเด้น, บูกาโย่ ซาก้า, จู๊ด เบลลิงแฮม, แฮร์รี่ แม็กไกวร์ ส่วนตราไก่ให้ โอลิวิเย่ร์ ชิรูด์, คีลิยัน เอ็มบัปเป้, อองตวน กรีซมันน์, อุสมัน เดมเบเล่ รวมพลังเข้าทำ

 

เป็น ฝรั่งเศส ที่ขยับสกอร์นำ 1-0 อย่างรวดเร็ว ออเรเลียง ชูอาเมนี่ ตะบันจากหน้าเขตโทษผ่านมือ จอร์แดน พิคฟอร์ด เข้าไปในนาทีที่ 17

 

แต่จากนั้น อังกฤษ ก็ทวงคืน 1-1 ตอนต้นครึ่งหลัง จากจุดโทษที่ ซาก้า โดน ชูอาเมนี่ ขัดขาล้มลงไป และ แฮร์รี่ เคน ตะบันผ่าน อูโก้ โยริส ไม่พลาด เป็นประตูทำสถิติยิงสูงสุดในทีมชาติ 53 ลูก เทียบเท่า เวย์น รูนี่ย์

 

ทว่าเข้าช่วงท้ายเกม นาที 78 กรีซมันน์ ก็ครอสแม่นๆ จากซ้ายเข้าไปให้ ชิรูด์ ทิ่มโขกตัดหน้า แม็กไกวร์ ตุงตาข่ายให้ ฝรั่งเศส นำ 2-1

 

ท้ายเกมหลังจากนั้นอีก น.82 อังกฤษ มีโอกาสดีในการตามตีเสมอรอบสอง เมื่อมาได้จุดโทษจากวีเออาร์ที่ตัวสำรอง เมสัน เมาท์ โดน เตโอ เอร์นันเดซ กระแทกล้มหน้าทิ่ม อย่างไรก็ตาม แฮร์รี่ เคน กลับสังหารจุดโทษโด่งข้ามคานออกไปอย่างน่าผิดหวัง รวมถึงฟรีคิกหน้าเขตโทษในช่วงทดเวลานาทีสุดท้าย มาร์คัส แรชฟอร์ด ก็กดเสยคานออกไปแค่คืบเท่านั้น จนจบที่ ฝรั่งเศส กำชัยแบบลุ้นเหนื่อย 2-1

 

ฝรั่งเศส ยังอยู่ในเส้นทางป้องกันแชมป์ ส่วนทางฝั่ง อังกฤษ ยังคงไปไม่ถึงดวงดาวนับตั้งแต่แชมป์โลกสมัยแรก 1966 เป็นต้นมา

 

รายชื่อผู้เล่นและสถิติที่สำคัญ
อังกฤษ (4-3-3) จอร์แดน พิคฟอร์ด – ไคล์ วอล์คเกอร์, จอห์น สโตนส์ (แจ๊ค กรีลิช 90+8), แฮร์รี่ แม็กไกวร์, ลุค ชอว์ – จู๊ด เบลลิงแฮม, ดีแคลน ไรซ์, จอร์แดน เฮนเดอร์สัน (เมสัน เมาท์ 79) – บูกาโย่ ซาก้า (ราฮีม สเตอร์ลิ่ง 79), แฮร์รี่ เคน, ฟิล โฟเด้น (มาร์คัส แรชฟอร์ด 85)
ฝรั่งเศส (4-2-3-1) อูโก้ โยริส – ชูลส์ กุนเด้, ราฟาแอล วาราน, ดาโย่ต์ อูปาเมกาโน่, เตโอ เอร์นันเดซ – ออเรเลียง ชูอาเมนี่, อาเดรียง ราบิโอต์ – อุสมัน เดมเบเล่ (คิงส์ลี่ย์ โกม็อง 79), อองตวน กรีซมันน์, คีลิยัน เอ็มบัปเป้ – โอลิวิเย่ร์ ชิรูด์

 

• แมนออฟเดอะแมตช์ : โอลิวิเย่ร์ ชิรูด์
• ชิรูด์ กดไปแล้ว 4 ประตูในฟุตบอลโลก 2022 ตามหลัง คีลิยัน เอ็มบัปเป้ ลูกเดียวถ้วน
• ชิรูด์ ทำเพิ่มเป็น 53 ลูก ฉีกหนีเจ้าของสถิติคนเก่า เธียร์รี่ อองรี (51) เพิ่มเป็นสองเม็ดแล้ว
• อูโก้ โยริส ยังกลายเป็นเจ้าของสถิติลงสนามให้ ฝรั่งเศส สูงสุดแบบเดี่ยวๆ 143 นัด แทนที่ ลิลิยอง ตูราม 142
• อองตวน กรีซมันน์ ยังไร้สกอร์ที่กาตาร์ แต่แอสซิสต์แล้ว 3 ครั้ง สูงสุดเทียบเท่ากับ แฮร์รี่ เคน และ บรูโน่ แฟร์นันเดส
• ยังเป็นแอสซิสต์ที่ 27 จากการเล่นทีมชาติ 115 นัดของ กรีซมันน์ ด้วย

• ฝรั่งเศส ทำไป 11 ประตูในบอลโลกครั้งนี้ โดยที่ 9 ลูกในนั้นมาจาก เอ็มบัปเป้ + ชิรูด์ สองคน ที่เหลืออีกสองเม็ดเป็น อาเดรียง ราบิโอต์ กับ ออเรเลียง ชูอาเมนี่
• ฝรั่งเศส มาถึงตรงนี้โดยไม่มีการทำคลีนชีตแม้แต่เกมเดียว ลงสนาม 5 นัด เสียนัดละ 1 ลูกมาตลอด

• อังกฤษ ตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายฟุตบอลโลก เป็นครั้งที่ 7 สูงที่สุดในบรรดาทุกทีมที่ได้เข้ามาเล่น เวิลด์ คัพ
• ฟุตบอลโลก 4 ทัวร์นาเมนต์หลัง อังกฤษ ตกไม่ซ้ำรอบ
2010 ตกรอบ 16 ทีม
2014 ตกรอบแบ่งกลุ่ม
2018 ตกรอบตัดเชือก / ได้อันดับ 4
2022 ตกรอบ 8 ทีม
• การเจอกับ “ชาติยักษ์ใหญ่” ในช่วงหลัง อังกฤษ ยังคงชนะใครไม่เป็น มีผลเสมอ เยอรมนี 1-1 กับ 3-3 และเสมอ อิตาลี 0-0 กับแพ้ 0-1 ในยูฟ่า เนชั่นส์ ลีก เมื่อกลางปี ก่อนแพ้ ฝรั่งเศส นัดนี้
• อังกฤษ เอาชนะ ฝรั่งเศส ได้แค่เกมเดียวจากการพบกัน 7 นัดหลัง (แพ้ 5 เสมอ 1)
• หากตกเป็นฝ่ายตามหลังในครึ่งแรก อังกฤษ ไม่เคยพลิกกลับมาชนะได้ในเกมฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย โดยได้ผลเสมอ 2 แพ้ 7

• จุดโทษที่ แฮร์รี่ เคน ยิงเข้าไปในสกอร์ 1-1 นับเป็นประตูที่ 53 ในนามทีมชาติอังกฤษ เทียบเท่าสถิติดาวยิงสูงสุดตลอดกาลของ เวย์น รูนี่ย์ เป็นที่เรียบร้อย
• ส่วนการพลาดจุดโทษในช่วงท้าย นับเป็นการพลาดครั้งที่ 11 ของเขาในตลอดเส้นทางค้าแข้ง และพลาดหนที่ 4 ในการเล่นทีมชาติ
• สัดส่วนของการยิงจุดโทษเข้ากับยิงพลาดของ แฮร์รี่ เคน คือ 58:11
• เคน ยังทำสถิติสวมปลอกแขนกัปตันทีมชาติอังกฤษ ในเกมฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย มากที่สุดเป็นเกมที่ 11 (6 เกมในฟุตบอลโลก 2018 และอีก 5 เกมในฟุตบอลโลก 2022) แซงหน้าสถิติ 10 เกมของ บิลลี่ ไรท์ (1950-1958), บ๊อบบี้ มัวร์ (1966-1970) และ เดวิด เบ็คแฮม (2002-2006)
• เจมส์ แมดดิสัน กับ คอนเนอร์ กัลลาเกอร์ มีนาทีในฟุตบอลโลกครั้งนี้เป็น 0, เทรนท์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ ลงสำรอง 1, แคลวิน ฟิลลิปส์ ลงสำรอง 2

 

สืบเนื่องจากผลสกอร์ อังกฤษ 1-2 ฝรั่งเศส
• ฝรั่งเศส เข้าไปดวลกับชาติที่เคยอยู่ภายใต้อาณานิคมอย่าง โมร็อกโก ในรอบตัดเชือก
• พบกันก่อนหน้านี้ 11 ครั้ง ฝรั่งเศส ข่มขาดด้วยชนะ 7 เสมอ 3 โมร็อกโกชนะแค่ 1
• ฝรั่งเศส ถูกยกให้เป็นตัวเก็งเต็งหนึ่งรายใหม่ สำหรับการผงาดครองแชมป์โลก 2022 จากการปรับเรตล่าสุดของ สกาย เบท ในอัตรากดต่ำเพียง 1/1 จากนั้นจึงตามด้วย อาร์เจนติน่า 13/8, โครเอเชีย 7/1 และเต็งเบอร์สุดท้าย โมร็อกโก 8/1 รวมถึงมีเรต 10/1 ในบางเจ้า

• เลส์ เบลอส์ กลายเป็นแชมป์เก่าชาติแรกที่สามารถผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศได้ในทัวร์นาเมนต์อีก 4 ปีถัดมา เพราะไม่เคยมีแชมป์เก่าชาติไหนเลยที่เคยทำได้ จากครั้งสุดท้ายที่ บราซิล ทำไว้ ด้วยการเป็นแชมป์โลก 1994 และเป็นรองแชมป์ 1998
• มีกระแสข่าวว่า ดิดิเย่ร์ เดส์ชองส์ จะยังคงได้ไฟเขียวให้ดูแลทีมต่อไปจนถึงจบ ยูโร 2024 ที่เยอรมนี เพื่อตอบแทนผลงานที่ดีในบอลโลกหนนี้ แม้สมาคมฯ จะมีตัวเลือกน่าสนใจอย่าง ซีเนอดีน ซีดาน ที่ว่างงานและพร้อมเข้ารับตำแหน่งอยู่ ก็ตาม

• ในส่วนของผู้ตกรอบอย่าง อังกฤษ แม้ ณ ตอนนี้ แกเร็ธ เซาธ์เกต ยังไม่ได้ประกาศลาออก โดยให้สัมภาษณ์หลังเกมแพ้ ฝรั่งเศส 1-2 ว่าขอเวลาอีกนิดเพื่อตัดสินใจอนาคต แต่ก็มีการเปิดราคากุนซือคนใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่ เซาธ์เกต ไว้แล้ว โดย เมาริซิโอ โปเช็ตติโน่ อดีตนายใหญ่เปแอสเช ยืนแท่นเต็งหนึ่ง 4/1 จากนั้นตามด้วย โธมัส ทูเคิ่ล อดีตกุนซือเชลซี 5/1, เบรนแดน ร็อดเจอร์ส กุนซือเลสเตอร์ 8/1, เอ๊ดดี้ ฮาว กุนซือนิวคาสเซิ่ล 10/1, แกรห์ม พ็อตเตอร์ กุนซือเชลซี 12/1, สตีเว่น เจอร์ราร์ด 16/1, แฟร้งค์ แลมพาร์ด 16/1, สตีฟ คูเปอร์ 16/1 และ เวย์น รูนี่ย์ 18/1

 

ไกด์เถื่อน

 

อ้างอิง
wikipedia
FIFA

ภาพประกอบ
AP
GettyImages
AFP

 

เรื่องน่าอ่าน
8 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 เกมต่อเกม ใครอยู่ใครไป! [1]
16 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 เกมต่อเกม น็อกเอาต์! (2)
16 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 เกมต่อเกม น็อกเอาต์ !

โมร็อกโก vs โปรตุเกส : ตัวต่อตัว 8 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022

โมร็อกโก vs โปรตุเกส : ตัวต่อตัว 8 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022

ฟุตบอลโลก 2022 รอบน็อกเอาต์ 8 ทีมสุดท้าย : โมร็อกโก vs โปรตุเกส
เสาร์ 10 ธันวาคม 2565, 22.00 น.
สนาม : อัล ธูมาม่า สเตเดี้ยม, โดฮา
ถ่ายทอดสด : True4U

 

ผลการพบกัน : 2 นัด
ฟุตบอลโลก 1986 โมร็อกโก ชนะ 3-1
ฟุตบอลโลก 2018 โปรตุเกส ชนะ 1-0

 

ผลงานในฟุตบอลโลก 2022
โมร็อกโก
รอบแบ่งกลุ่ม เสมอ โครเอเชีย 0-0
รอบแบ่งกลุ่ม ชนะ เบลเยียม 2-0
รอบแบ่งกลุ่ม ชนะ แคนาดา 2-1
รอบ 16 ทีม เสมอ สเปน 0-0, ชนะจุดโทษ 3-0

โปรตุเกส
รอบแบ่งกลุ่ม ชนะ กาน่า 3-2
รอบแบ่งกลุ่ม ชนะ อุรุกวัย 2-0
รอบแบ่งกลุ่ม แพ้ เกาหลีใต้ 1-2
รอบ 16 ทีม ชนะ สวิตเซอร์แลนด์ 6-1

 

ความพร้อมก่อนเตะ
โมร็อกโก
ม้ามืดตัวจริงแห่งฟุตบอลโลก 2022 มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ตัวกุนซือ วาฮิด ฮาลิลฮ็อดซิช โดนเด้งไปเมื่อกลางปี หรือก่อนฟุตบอลโลกที่กาตาร์จะมาถึงแค่ไม่กี่เดือน โดยเป็น วาลิด เรกรากี อดีตนายใหญ่ อัล-ดูฮาอิล และ วีดัด คาซาบลังก้า มาเสียบแทน

 

แต่การเปลี่ยนโค้ชเหมือนเลือกหวยถูกใบ โมร็อกโก เกมแรกยันเสมอ โครเอเชีย 0-0 ต่อมาพลิกล็อกชนะ เบลเยียม 2-0 ตามด้วยตบ แคนาดา 2-1 จนเข้ารอบด้วยการเป็นแชมป์กลุ่ม

 

สำคัญคือในรอบน็อกเอาต์ 16 ทีมสุดท้าย ยันเสมอ สเปน 0-0 ใน 120 นาที ก่อนได้ ยาสซีน “โบโน่” บูนู เป็นฮีโร่ เซฟแล้วเซฟอีกจนชนะดวลเป้าแบบคลีนชีต 3-0

 

อย่างไรก็ตาม โมร็อกโก สะบักสะบอมไม่น้อยจากการศึกกับทัพกระทิงดุ จนต้องเสียกองหลังคนสำคัญ นาเยฟ อาแกร์ด เจ็บโคนขาหนีบ เกมนี้หมดสิทธิ์ลงสนาม พร้อมกับต้องเช็กฟิตกัปตันทีม โรแม็ง ซาอิสส์ ที่มีอาการบริเวณแฮมสตริง

 

ยังเชื่อว่า ซาอิสส์ จะกัดฟันลงเล่นแม้ไม่สมบูรณ์เต็มร้อย ไม่เช่นนั้น เรกรากี ต้องปรับคู่เซนเตอร์แบ็กพร้อมกันทั้งสองราย

 

ระบบคงเดิม 4-3-3 อัชราฟ ฮาคิมี่ ประจำการแบ็กขวา แนวรุก ฮาคิม ซีเย็ค กับ โซฟียาน บูฟาล ขนาบข้างหอกเป้า ยุสเซฟ เอ็น-เนซีรี่ เหมือนเช่นเคย

 

โปรตุเกส
แชมป์ยูโร 2016 ยังไม่เคยไปถึงแชมป์โลกมาก่อน รวมถึงว่าก็ยังไม่เคยเข้าชิงชนะเลิศได้ด้วย ดังนั้นจึงมุ่งมั่นเต็มที่ในการคว้าโทรฟี่อำลายุคสมัยของ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ และอีกหลายตัวเก๋าในทีม

 

และแม้เกมแรกของฟุตบอลโลก 2022 จะมีตำหนิพอสมควรกับการทุบ กาน่า 3-2 แต่ก็ยังสร้างความต่อเนื่องด้วยการตบ อุรุกวัย 2-0 จนสุดท้ายแม้จะแพ้ เกาหลีใต้ แต่ไม่ได้มากพอให้หลุดออกจากตำแหน่งแชมป์กลุ่ม ขณะที่รอบ 16 ทีมสุดท้าย ผ่าน สวิตเซอร์แลนด์ แบบยิงไม่ยั้ง 6-1

 

แฟร์นันโด ซานโตส ยังมีปัญหาตัวเจ็บคั่งค้างอยู่ 2 ราย คือ นูโน่ เมนเดส กับ ดานิโล่ เปเรยร่า ซึ่งเป็นกองหลังทั้งคู่ โดยรายแรกเจ็บหนักพักยาวหมดสิทธิ์เล่นฟุตบอลโลก 2022 แล้ว ส่วนรายหลังยังไม่พร้อมสำหรับเกมนี้ ต้องลุ้นให้ทีมไปต่อรอบหน้า

 

ซานโตส มีการปรับทัพสำคัญในรอบที่ผ่านมา ด้วยการดร็อป คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ซึ่งโรยราไปตามวัย ลงสู่ม้านั่งสำรอง เปิดทางให้ กอนซาโล่ รามอส ดาวรุ่งวัย 21 จากเบนฟิก้า ลงตัวจริงแทน และ รามอส ก็ตอบแทนด้วยการทำแฮตทริกในทันที

 

ดังนั้นการจัดทัพจึงจะไม่เปลี่ยน ในระบบ 4-3-3 ข้างหน้าขยับ บรูโน่ แฟร์นันเดส ขึ้นมาเล่นร่วมกับ กอนซาโล่ รามอส และ ชูเอา เฟลิกซ์ ขณะที่แนวรับ ท่านผู้เฒ่า เปเป้ วัยย่าง 40 จะลงยืนเซนเตอร์แบ็กคู่ รูเบน ดิอาส เช่นเดิม

 

ตัวความหวัง
โมร็อกโก : ฮาคิม ซีเย็ค & อัชราฟ ฮาคิมี่
ซีเย็ค เลิกเล่นทีมชาติไปช่วงหนึ่งเนื่องจากความขัดแย้งส่วนตัวกับโค้ชเก่า วาฮิด ฮาลิลฮอดซิช ซึ่งพอมีการเปลี่ยนเป็น วาลิด เรกรากี แล้วก็กลับสู่สารบบทีมชาติดังเดิม โดยแม้จะเจอปัญหาเข้าๆ ออกๆ จากทีมเชลซี แต่ก็คือตัวยืนของทีมชาติ มีผลงานยิง 19 ประตูจาก 47 เกม ด้าน ฮาคิมี่ พัฒนาตัวเองไปจนอยู่ในระดับแบ็กขวาตัวท็อปของวงการแล้ว พร้อมกับบางเสียงยกว่าเป็นเบอร์ 1 โลกยุคปัจจุบันด้วยซ้ำ โดยยิงไปแล้ว 8 ประตูใน 58 เกมทีมชาติ

 

โปรตุเกส : กอนซาโล่ รามอส
แม้จะยิง 1 ลูกในเกมลับแข้งกับ ไนจีเรีย (4-0) ก่อนบอลโลก แต่ก็น้อยคนนักที่จะรู้จักเด็กหนุ่มชื่อ กอนซาโล่ มาติอัส รามอส เมื่อนี่คือหัวหอกดาวรุ่งวัยเพียง 21 ที่ขึ้นชั้นมาเล่นกับ เบนฟิก้า ชุดใหญ่ เมื่อปี 2020 เป็นต้นมา และที่จริงก็เพิ่งระเบิดฟอร์มน่าประทับใจในช่วงครึ่งซีซั่นแรกที่ผ่านมานี้เอง ด้วยการยิง 14 ประตูจาก 21 นัด เป็นใบเบิกทางให้ แฟร์นันโด ซานโตส หิ้วมาฟุตบอลโลก 2022 และเพียงเกมแรกที่ลงตัวจริงก็กระหน่ำแฮตทริกใส่ สวิตเซอร์แลนด์ จนแฟนๆ แทบจะลืมไปแล้วว่ามี คริสเตียโน่ โรนัลโด้ อยู่ที่ม้านั่งสำรอง

 

11 ตัวจริงที่คาด
โมร็อกโก (4-3-3, กุนซือ วาลิด เรกรากี) ยาสซีน บูนู – นูสแซร์ มาซราอุย, จาวัด เอล ยามิก, โรแม็ง ซาอิสส์, อัชราฟ ฮาคิมี่ – อัซเซดีน อูนาฮี, โซฟียาน อัมราบัต, เซลิม อมัลลาห์ – ฮาคิม ซีเย็ค, โซฟียาน บูฟาล, ยุสเซฟ เอ็น-เนซีรี่
โปรตุเกส (4-3-3, กุนซือ แฟร์นันโด ซานโตส) ดีโอโก้ คอสต้า – ราฟาเอล เกร์เรยโร่, เปเป้, รูเบน ดิอาส, ดีโอโก้ ดาโล่ต์ – รูเบน เนเวส, วิลเลี่ยม คาร์วัลโญ่, แบร์นาร์โด้ ซิลวา – บรูโน่ แฟร์นันเดส, กอนซาโล่ รามอส, ชูเอา เฟลิกซ์

 

สถิติที่เกี่ยวข้อง
• แม้จะอยู่ห่างกันแค่ชั่วโมงเศษ (ทางอากาศ) แต่คู่นี้พบกันมาเพียง 2 ครั้งเท่านั้น เป็นในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายทั้งสองเกม หรือก็คือไม่เคยเตะกระชับมิตรกันมาก่อนเลย
• บอลโลก 1986 โมร็อกโก ชนะ โปรตุเกส ยุค เปาโล ฟูเตร้ 3-1
• จากนั้นอีก 32 ปี มาพบกันในฟุตบอลโลก 2018 โปรตุเกส ชนะคืน 1-0 คริสเตียโน่ โรนัลโด้ พังประตูโทน

 

• วาลิด เรกรารี เป็นฮีโร่ของชนชาติโมร็อกโกไปแล้ว และจะคุมทีมลงสนามเกมนี้เป็นเพียงนัดที่ 8 เท่านั้น ด้วยสถิติไร้พ่าย ที่ผ่านมาชนะ 4 เสมอ 3
• โมร็อกโก ยังไร้พ่ายมาถึง 9 เกมซ้อน และในจำนวนนี้ทำคลีนชีตได้ถึง 7 เกม
• แม้กระทั่งการดวลจุดโทษ โมร็อกโก ก็ยังจะทำคลีนชีต ชนะ สเปน 3-0

 

• ในการเจอทีมจากแอฟริกาหนล่าสุด โปรตุเกส เฉือนชนะ กาน่า 3-2 ซึ่งก็คือเกมแรกของฟุตบอลโลก 2022 ครั้งนี้
• 5 นัดหลัง โปรตุเกส ยิงรวม 16 ประตู เฉลี่ยนัดละ 3.2 ลูก
• โปรตุเกส อยู่ในเส้นทางของการลุ้นแชมป์โลกสมัยแรก โดยยังไม่เคยเข้าชิงชนะเลิศได้มาก่อน ผลงานดีสุดคืออันดับสาม 1966 และอันดับสี่ 2006

 

• กอนซาโล่ รามอส เป็นเจ้าของแฮตทริกแรกในฟุตบอลโลก 2022 และเป็นคนแรกที่ทำแฮตทริกในรอบน็อกเอาต์บอลโลก นับตั้งแต่ โธมัส สคูราวี่ ปี 1990 นอกจากนั้นยังเป็นคนแรกในรอบ 15 เกมของโปรตุเกส ถัดจากที่ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ซัดสามใส่ ลักเซมเบิร์ก เมื่อ ต.ค. 2021
• กอนซาโล่ รามอส เล่นทีมชาติ 4 นัด ซัด 4 ประตู

 

ความน่าจะเป็น
เป็นอีกเกมที่คาดเดาผลได้ลำบาก ด้วยแม้ว่า โปรตุเกส จะถล่ม สวิตเซอร์แลนด์ มา แต่ระดับคุณภาพของ โมร็อกโก ที่แสดงให้เห็นตลอดในฟุตบอลโลก 2022 ก็ทำให้เชื่อได้ว่าจะไม่ใช่เกมแบบนั้น ดีไม่ดีมีสิทธิ์ซ้ำรอยเกมที่แล้วของ โมร็อกโก ซึ่งกินกันไม่ลงใน 90 นาที จากนั้นก็ค่อยมาดูกันว่าโชคดวงจะเข้าข้างฝั่งไหน

 

ผลที่คาด : เสมอ 1-1 ใน 90 นาที

 

16 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 เกมต่อเกม น็อกเอาต์! (2)

16 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 เกมต่อเกม น็อกเอาต์! (2)

ฟุตบอลโลก 2022 กับ 16 ทีมสุดท้าย รอบน็อกเอาต์ !

 

จากที่จบใน 90 นาที แถมยิงกันขาดถึง 3 จาก 4 คู่แรก พอมาถึง 4 คู่หลังของรอบ 16 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 กลับออกทรงคาดเดาลำบากเหลือใจ ต้องวัดกันถึงดวลจุดโทษ 2 แมตช์ด้วยกัน และนี่คือบทบันทึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลังและสิ่งสืบเอง สำหรับแมตช์ที่เหลืออยู่ของรอบ 2 เวิลด์ คัพ ฉบับกาตาร์…

 

 

สุดทางปาฏิหาริย์! ซามูไรพ่ายดวลเป้าหมากรุก

16 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 เกมต่อเกม น็อกเอาต์! (2)

 

หากยังพอจำกันได้ ฮาจิเมะ โมริยาสุ กุนซือทัพซามูไรสีน้ำเงิน ประกาศไว้แต่แรกว่าเป้าหมายของเขาคือการเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย และนั่นเป็นสิ่งที่ใครก็ปรามาส ไม่คิดว่าจะทำได้–แม้แต่การผ่านรอบแรก แต่เมื่อเกมจริงมาถึง ญี่ปุ่น ก็พลิกสยบ เยอรมนี 2-1 ตั้งแต่แมตช์แรก ต่อมาแม้จะเจอความพลิกล็อกเล่นงานเองบ้างด้วยการแพ้ คอสตาริกา 0-1 แต่ก็ยังมาพลิกยิงแซงชนะ สเปน ในเกมที่บังคับต้องชนะอีก 2-1 จนผงาดคว้าแชมป์กลุ่มอีอย่างหล่อ

 

เพียงแต่คู่แข่งของ ญี่ปุ่น ก็ไม่ใช่ทีมที่ใครจะสามารถมองข้ามได้ เมื่อนี่คือหนึ่งในทีมแข็งของยุโรป ดีกรีรองแชมป์โลกหนก่อนอย่าง โครเอเชีย ที่โชว์ความหลังเหนียวด้วยการไม่เสียประตูทั้งเกมกับ โมร็อกโก และ เบลเยียม โดยเฉพาะนัดหลังที่เป็นเกมชี้ชะตาเข้ารอบหรือตกรอบ ก็ไม่พลาดท่าเสียที แม้ภาพรวมอาจไม่ได้เปรี้ยงปร้างเหมือนครั้งก่อนที่รัสเซีย แต่ยังเข้ารอบมาได้ตามเป้า

 

เกมที่ อัล จานู้บ สเตเดี้ยม โมริยาสุ มีการปรับไลน์อัพเล็กน้อย ริสึ โดอัน ถูกส่งลงตัวจริงบ้าง ประสานเกมรุกร่วมกับ ไดจิ คามาดะ และหน้าเป้า ไดเซน มาเอดะ ส่วนทัพตาหมากรุกของ ซลัตโก้ ดาลิช ก็ปรับเล็กๆ เหมือนกัน แต่ยังนำมาโดย 3 แดนกลางตัวท็อป ลูก้า โมดริช – มาร์เซโล่ โบรโซวิช – มาเตโอ โควาซิช เช่นเดิม

 

ญี่ปุ่น ยังคงรักษามาตรฐานในการทำได้ดี เล่นได้เยี่ยม พังประตูนำก่อน 1-0 จากจังหวะตวัดยิงหน้ากรอบ 6 หลาของ ไดเซน มาเอดะ น.43 ทว่าต้นครึ่งหลัง น.55 ก็โดนตีเสมอ 1-1 จากลูกโขกเน้นๆ ของ อีวาน เปริซิช แล้วหลังจากนั้นต่างฝ่ายต่างไม่สามารถทำอะไรกันได้ ทั้งใน 90 นาทีและต่อเวลาพิเศษ จนครบ 120 นาที ลงเอยที่ 1-1 เท่ากับเป็นคู่แรกที่ต้องตัดสินด้วยการดวลจุดโทษ

 

ญี่ปุ่น เสี่ยงทายได้เป็นฝ่ายยิงก่อน แต่….
ทาคุมิ มินามิโนะ ยิงติดเซฟ โดมินิค ลิวาโควิช 0-0
นิโกล่า วลาซิช ยิงเข้าไม่พลาด 0-1
คาโอรุ มิโตมะ ซัดเต็มข้อ ยังกดติดเซฟ ลิวาโควิช 0-1
มาร์เซโล่ โบรโซวิช ยิงเข้ากลางประตูเข้าอย่างมั่นใจ 0-2
ทาคุมะ อาซาโนะ ยิงเบี่ยงขวาเข้าไป ไล่ตีตื้นมาที่ 1-2
มาร์โก ลิวาย่า กดไปชนเสาเต็มใบ 1-2
ทว่ากัปตันทีม มายะ โยชิดะ ก็ยังซัดไม่ผ่านมือ ลิวาโควิช 1-2
จึงปิดท้ายที่ มาริโอ ปาซาลิช ยิงจมตาข่าย เช็คบิล 1-3

 

โครเอเชีย ชนะดวลเป้า 3-1 ได้ผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายต่อไป ส่วน ญี่ปุ่น ตกรอบ สิ้นสุดการผจญภัยอันเต็มไปด้วยความทรงจำแสนสวย แต่เพียงเท่านี้

 

(และประโยคของ เอโกะ จินปาจิ แห่ง Blue Lock ก็ดังขึ้น – “พอใจกันมากใช่มั้ย…ทีมที่ไม่เคยผ่านรอบ 16 ทีมได้เนี่ย หึหึหึ”)

 

รายชื่อผู้เล่นและสถิติที่สำคัญ
ญี่ปุ่น (3-4-3) ชูอิจิ กอนดะ – ทาเคฮิโร่ โทมิยาสุ, มายะ โยชิดะ (c), โชโง ทานิงุจิ – จุนยะ อิโตะ, ฮิเดมาสะ โมริตะ (อาโอะ ทานากะ 105), วาตารุ เอ็นโดะ, ยูโตะ นางาโตโมะ (คาโอรุ มิโตมะ 64) – ไดจิ คามาดะ (ฮิโรกิ ซากาอิ 75), ไดเซน มาเอดะ (ทาคุมะ อาซาโนะ 64), ริสึ โดอัน (ทาคุมิ มินามิโนะ 87)
โครเอเชีย (4-3-3) โดมินิค ลิวาโควิช – โยซิป ยูราโนวิช, เดยัน ลอฟเรน, ยอสโก้ กวาร์ดิโอล, บอร์น่า บาริซิช – ลูก้า โมดริช (ลอฟโร มาเยอร์ 99), มาร์เซโล่ โบรโซวิช, มาเตโอ โควาซิช (นิโกล่า วลาซิช 99) – อันเดรจ์ ครามาริช (มาริโอ ปาซาลิช 68), บรูโน่ เพ็ตโควิช (อันเต้ บูดิเมียร์ 62, มาร์โก ลิวาย่า 106), อีวาน เปริซิช (มิสลาฟ ออร์ซิช 105)

 

• แมนออฟเดอะแมตช์ : โดมินิค ลิวาโควิช
• พบกัน 3 ครั้งในบอลโลกรอบสุดท้าย ญี่ปุ่น เอาชนะ โครเอเชีย ไม่ได้ทั้งหมด – แพ้ 0-1 ฟร้องซ์ 98, เสมอ 0-0 เยอรมนี 2006 และเสมอ 1-1 ก่อนแพ้ดวลเป้า ครั้งนี้
• ญี่ปุ่น ตกรอบ 16 ทีมสุดท้ายเหมือนเช่นเคย และยังไม่เคยไปได้ไกลกว่านี้
1998 รอบแรก
2002 รอบ 16 ทีม (แพ้ ตุรกี 0-1)
2006 รอบแรก
2010 รอบ 16 ทีม (แพ้จุดโทษ ปารากวัย 3-5)
2014 รอบแรก
2018 รอบ 16 ทีม (แพ้ เบลเยียม 2-3)
2022 รอบ 16 ทีม (แพ้จุดโทษ โครเอเชีย 1-3)
• ทีมที่เป็นฝ่าย “ยิงจุดโทษก่อน” ในรอบน็อกเอาต์บอลโลก แพ้ติดต่อกันมา 7 เกมแล้ว นับตั้งแต่ คอสตาริกา แพ้ เนเธอร์แลนด์ 3-4 ปี 2014 ที่บราซิล4
• โดมินิค ลิวาโควิช เซฟ 3 จุดโทษในการดวลเป้าเป็นคนที่ 3 ถัดจาก ริคาร์โด้ (โปรตุเกส) 2006 และรุ่นพี่ ดานิเยล ซูบาซิช (โครเอเชีย) 2018

 

สืบเนื่องจากผลสกอร์ ญี่ปุ่น แพ้จุดโทษ โครเอเชีย 1-3
• โครเอเชีย เข้ารอบสุดท้ายไปดวลกับ บราซิล ยักษ์อเมริกาใต้ที่พวกเขาไม่เคยเอาชนะได้มาก่อนเลย จากการพบกัน 4 นัด
• โครเอเชีย ยังอยู่ในเส้นทางความ “สุดโต่ง” ในฟุตบอลโลก เมื่อถ้าไม่ตกรอบแรก ก็เข้ารอบลึกๆ ไปเลย
1998 อันดับ 3 (ชนะ เนเธอร์แลนด์ 2-1)
2002 รอบแรก
2006 รอบแรก
2014 รอบแรก
2018 รองแชมป์ (แพ้ ฝรั่งเศส 2-4)
2022 รอบ 8 ทีมสุดท้าย (เป็นอย่างน้อย)
• โดมินิค ลิวาโควิช นายประตูโลว์โพรไฟล์วัยย่าง 28 จาก ดินาโม ซาเกร็บ ถูกจับตาและคาดหมายว่าจะได้ย้ายสู่ทีมใหญ่ในเร็ววัน หลังขึ้นมาเป็นมือ 1 ในบอลโลกหนแรก และมีผลงานน่าประทับใจ
• อีวาน เปริซิช ยิงในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเป็นลูกที่ 6 สูงสุดเทียบเท่า ดาวอร์ ซูเคอร์
• ฮาจิเมะ โมริยาสุ ยังจะอยู่ทำงานคุมญี่ปุ่นต่อ แต่ยังไม่แน่ชัดว่าลูกทีมวัยเก๋าจะยังเหลือใครบ้างในชุดถัดไป ซึ่งที่เข้าข่ายต้องจับตามี ยูโตะ นางาโตโมะ (36), เออิจิ คาวาชิมะ (39), มายะ โยชิดะ (34), ชูอิจิ กอนดะ (33) และ ฮิโรกิ ซากาอิ (32)

 

 

 

แซมบ้าฆ่าโสมแดดิ้น 4-1

16 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 เกมต่อเกม น็อกเอาต์! (2)

 

แม้จะพลาดพลั้งส่งทีมสำรองลงไปแพ้ แคเมอรูน 0-1 ในเกมปิดกลุ่ม แต่ถือว่าไม่ได้เสียหายอะไรกับ บราซิล ที่เกมแรกอัด เซอร์เบีย จนน่าชนะมากกว่า 2-0 เกมสองก็ฮึดเชือด สวิสส์ ด้วยประตูเวิลด์คลาสจาก กาเซมิโร่ จนการันตีการเข้ารอบ (และแชมป์กลุ่ม) ไว้อยู่ก่อนแล้ว

 

ทางด้าน เกาหลีใต้ สร้างเซอร์ไพรส์ได้ไม่แพ้เพื่อนบ้าน ญี่ปุ่น แต่ก็ต้องลุ้นใจหายใจคว่ำมากกว่าเมื่อสองเกมแรกผ่านไปมีแต้มในมือแค่คะแนนเดียว (0-0 อุรุกวัย, 2-3 กาน่า) จนสถานการณ์บังคับให้ต้องชนะ โปรตุเกส สถานเดียวพร้อมลุ้นผลอีกคู่ สุดท้ายทำสำเร็จด้วยการยิงแซง 2-1 และ อุรุกวัย ยิงได้ไม่พอในเกมของตัวเอง

 

เกมที่ สเตเดี้ยม 974 บราซิล ของ ตีเต้ ได้ เนย์มาร์ หายเจ็บข้อเท้ากลับมาเดินเกมรุกเคียงข้าง ริชาร์ลิซอน, ราฟินญ่า และ วินิซิอุส จูเนียร์ เช่นเดียวกับ ดานิโล่ ที่ฟิตลงยืนแบ็กซ้าย (ส่วนแบ็กขวาเป็น เอแดร์ มิลิเตา) เพื่อชิงตั๋วเข้ารอบกับทางด้าน เกาหลีใต้ ที่นำมาโดย ซน ฮึง-มิน, ฮวาง ฮี-ชาน และ คิม มิน-แจ เหมือนเช่นเคย

 

ปรากฏว่า “ลา เซเลเซา” ใช้วิธีจู่โจมเร็วจน “โสมขาว” ตั้งตัวไม่ติด ครึ่งชั่วโมงแรกรัวแล้วสามเม็ด เริ่มจาก วินิซิอุส จูเนียร์ ได้ลูกที่เสาไกลแล้วยิงยัดสวนทางเข้าไป น.7, จุดโทษที่ ริชาร์ลิซอน ไปโดน จอง อู-ยอง เตะใส่จนล้มลง และ เนย์มาร์ สังหารนิ่มๆ น.13, ริชาร์ลิซอน กดเน้นๆ ด้วยอีซ้าย น.29 แถม น.36 ยังฉีกกระจาย 4-0 จาก ลูคัส ปาเกต้า ที่ทะลุขึ้นวอลเลย์ผ่านมือ คิม ซึง-กยู ด้วย

 

ครึ่งแรกถ่างกระจายแล้ว 4-0 นับว่าเกมจบตรงนี้ เกาหลีใต้ หมดสิทธิ์คิดจะไปต่อ เท่ากับตาม ญี่ปุ่น ร่วงตกรอบไป สูญพันธุ์ทีมเอเชีย (เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย) เกลี้ยงแผงในรอบ 16 ทีม

 

สำหรับเกมครึ่งหลัง บราซิล ยังมีโอกาสได้ประตูหลายครั้ง รวมถึง เกาหลีใต้ เองก็เปิดหน้าแลกจน อลิสซอน เบ็คเกอร์ ต้องเซฟช่วยบราซิลไว้ 2-3 หนเช่นกัน จนกระทั่งนาที 76 เพค ซุง-โฮ จึงยิงตีไข่แตก 1-4 จังหวะซัดฮาล์ฟวอลเลย์สวนจากหน้าเขตโทษส่งลูกทะยานเข้าประตูอย่างสวยงาม แต่ก็ทำได้ดีที่สุดเพียงเท่านั้น จบเกมที่ บราซิล ชนะขาด 4-1

 

สิ่งเดียวที่ ตีเต้ อาจทำพลาดในเกมนี้ คือการปล่อยให้ เนย์มาร์ เล่นจนถึงนาทีที่ 80 แล้วค่อยถอดออกให้ โรดรีโก้ โกเอส ลงไปแทน ซึ่งซุปตาร์จากเปแอสเชที่เพิ่งยิงได้ลูกเดียวในทัวร์นาเมนต์นี้ ก็ต้องรีบประคบข้อเท้าทันทีหลังเข้าไปนั่งที่ข้างสนาม แม้คงไม่น่าห่วงสำหรับรอบถัดไปก็ตาม

 

รายชื่อผู้เล่นและสถิติที่สำคัญ
บราซิล (4-2-3-1) อลิสซอน เบ็คเกอร์ (เวแวร์ตอน 80) เอแดร์ มิลิเตา (ดานี่ อัลเวส 63), ติอาโก้ ซิลวา, มาร์กินญอส, ดานิโล่ (เบรแมร์ 72) – กาเซมิโร่, ลูคัส ปาเกต้า – ราฟินญ่า, เนย์มาร์ (โรดรีโก้ โกเอส 80), วินิซิอุส จูเนียร์ (กาเบรียล มาร์ติเนลลี่ 72) – ริชาร์ลิซอน
เกาหลีใต้ (4-2-3-1) คิม ซึง-กยู – คิม มุน-ฮวาน, คิม มิน-แจ, คิม ยอง-กวอน, คิม จิน-ซู (ฮง ชอล น.46) – ฮวาง อิน-บอม (เพค ซึง-โฮ 65), จอง อู-ยอง (ซน จุน-โฮ 46) – ฮวาง ฮี-ชาน, อี แจ-ซอง (อี คัง-อิน 74), ซน ฮึง-มิน – โช คยู-ซอง (ฮวาง อุย-โจ 80)

 

• แมนออฟเดอะแมตช์ : เนย์มาร์
• บราซิล สร้างโอกาสจบได้ถึง 18 ครั้ง ตรงกรอบ 9 ซึ่งหมายถึง คิม ซึง-กยู เซฟไป 5 รอบ ไม่วายโดน 4 เม็ด
• ส่วนสถิติของฟีฟ่า บอกว่า คิม ซึง-กยู มีส่วนป้องกัน หรือ Goals Prevented 18 ครั้งทีเดียว
• อลิสซอน เบ็คเกอร์ เพิ่งเสียประตูลูกแรก (เพค ซึง-โฮ) หลังลงเฝ้าเสา 3 เกม
• ริชาร์ลิซอน ยังอยู่ในเส้นทางช่วงชิงรองเท้าทองคำ ดาวซัลโวฟุตบอลโลก 2022 หลังยิงไป 3 ลูก ตามหลัง คีลิยัน เอ็มบัปเป้ 2 เม็ด
• บราซิล เป็นทีมแรกที่ใช้งานนักเตะครบถ้วน 26 คน หลังมีการส่ง เวแวร์ตอน นายประตูมือสาม ลงสำรองไปแทน อลิสซอน เบ็คเกอร์ ช่วงสิบนาทีท้าย

 

สืบเนื่องจากผลสกอร์ บราซิล 4-1 เกาหลีใต้
• บราซิล ลิ่วเข้าชน โครเอเชีย รองแชมป์เก่า ที่พวกเขาไม่เคยแพ้มาก่อนจากการพบกัน 4 นัดก่อนหน้านี้ (ชนะ 3 เสมอ 1)
• หากเดินหน้าเอาชนะ โครเอเชีย ได้ต่อ บราซิล มีสิทธิ์พบกับคู่รักคู่แค้นร่วมทวีปอย่าง อาร์เจนติน่า ในรอบตัดเชือก (ถ้าฟ้าขาวสามารถผ่าน เนเธอร์แลนด์ ได้)
• เปาโล เบนโต้ กุนซือชาวโปรตุเกส ลาออกจากการคุมทีมเกาหลีใต้เรียบร้อยแล้ว หลังทำทีมมา 4 ปีถ้วน มีสถิติคุมทีม 57 ชนะ 35 เสมอ 13 แพ้ 9 เปอร์เซ็นต์ชนะสูงถึง 61.4%
• บราซิล โดนตำหนิจากบางฝ่าย (เช่น รอย คีน) ถึงการทำท่าดีใจออกสเต็ปแดนซ์ยับหลังยิงประตูได้แต่ละลูก บ้างว่าไม่เหมาะสม บ้างว่าไม่เคารพคู่แข่ง แต่พวกเขาก็ยืนยันว่าจะไม่เปลี่ยนแนวทางนี้เป็นเด็ดขาด เมื่อเป็นการแสดงความดีใจแบบเพียวๆ ไม่มีการดูหมิ่นคู่แข่งสอดแทรกอยู่แต่อย่างใด
• นับจากที่เข้าไปถึงเป็นอันดับ 4 บอลโลกในบ้านตัวเอง (2002) แล้ว เกาหลีใต้ ก็ไม่เคยผ่านรอบ 16 ทีมได้เลย และก่อนหน้านี้ (2010) ก็แพ้ทีมอเมริกาใต้มาเช่นกัน
2006 ตกรอบแรก
2010 ตกรอบ 16 ทีม (แพ้ อุรุกวัย 1-2)
2014 ตกรอบแรก
2018 ตกรอบแรก
2022 ตกรอบ 16 ทีม (แพ้ บราซิล 1-4)

 

 

กระทิงเขาหัก! โมร็อกโกเฮดวลเป้าเข้า 8 ทีม ฟุตบอลโลก 2022

16 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 เกมต่อเกม น็อกเอาต์! (2)

 

จากที่มองกันว่าอาจจะเป็น เดนมาร์ก, อุรุกวัย, เอกวาดอร์, เซอร์เบีย หรือ ญี่ปุ่น ที่จะเป็น “ม้ามืด” แห่งฟุตบอลโลก 2022

 

ถึงตรงนี้ ชัดเจนแล้วว่าม้ามืดทีมนั้นก็คือ โมร็อกโก

 

เด็กๆ ของ วาลิด เรกรากี (ที่เพิ่งจะเข้าทำทีมต่อจาก วาฮิด ฮาลิลฮ็อดซิช เมื่อกลางปี) เริ่มต้นทัวร์นาเมนต์ด้วยการยันเสมอ โครเอเชีย 0-0 ก่อนสร้างเซอร์ไพรส์ปราบ เบลเยียม 2-0 และฟาดอีกสามแต้มด้วยการสยบ แคนาดา 2-1 จนเข้ารอบด้วยการเป็นแชมป์กลุ่มเสียเฉยๆ

 

ด้าน สเปน ของ หลุยส์ เอ็นริเก้ มาดีเกินคาดอยู่เหมือนกันในนัดแรกที่ไล่โขยก คอสตาริกา 7-0 จากนั้นก็หวิดชนะ เยอรมนี แต่โดนทวงท้ายเกม 1-1 แต่ปรากฏว่านัดสุดท้าย เล่นแบบเอื่อยๆ จนโดน ญี่ปุ่น แซงเชือด 2-1 ท่ามกลางครหาว่าอันที่จริง พวกเขาตั้งใจแพ้เพื่อขวางไม่ให้ เยอรมนี หลุดเข้าไปเป็นเสี้ยนหนาม แถมตัวเองยังจะเลี่ยงทีมแข็งอย่าง โครเอเชีย หรือ บราซิล ในรอบถัดๆ ไปได้ด้วย

 

หากเป็นไปตามที่หลายฝ่ายมอง — สเปน เลือกที่จะมาเจอ โมร็อกโก

 

แล้วเป็นไงล่ะเพื่อน…

 

ที่จริง เกมที่ เอดูเคชั่น ซิตี้ สเตเดี้ยม หลายฝ่ายมองว่า “กระทิงดุ” เหนือกว่าพอตัว ทว่าพวกเขาก็ไม่อาจเจาะแนวรับของ โมร็อกโก เข้าได้เลย ทั้งใน 90 นาทีและ 120 นาที จบแบบไร้สกอร์ 0-0 ซึ่งโอกาสที่ใกล้เคียงสุดเป็นในนาทีสุดท้ายของช่วงต่อเวลา ปาโบล ซาราเบีย เข้าชาร์จลูกย้อนทางสะกิดเสาแรกหลุดออกไป นอกนั้นโอกาสทั้งหมดถ้าไม่หลุดไปเองก็ไม่ผ่านมือ ยาสซีน “โบโน่” บูนู นายประตูโมร็อกโก จากเซบีย่า

 

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อถึงการดวลจุดโทษตัดสิน ก็กลายเป็น “โบโน่” ที่กลายเป็นโคตรพระเอก เซฟ 2 จุดโทษของทั้ง คาร์ลอส โซเลร์ และ เซร์คิโอ บุสเก็ตส์ ถัดจากที่ ปาโบล ซาราเบีย (ซึ่ง เอ็นริเก้ ตั้งใจส่งลงมายิงจุดโทษโดยเฉพาะ) ยิงคนแรกแล้วอัดไปชนเสาดังโครม

 

ส่งผลให้ โมร็อกโก ที่แม่นเป้ากว่า ยิงเข้า 3 จาก 4 คน โดยเฉพาะคนสุดท้าย อัชราฟ ฮาคิมี่ ที่ชิปนิ่มๆ เข้ากลางประตูนั้น เป็นฝ่ายชนะดวลเป้าด้วยสกอร์ประหลาด 3-0 — หมายถึงว่า สเปน ที่ก่อนนี้เผยว่าพวกเขาซ้อมยิงจุดโทษกันมาเป็นพันๆ ครั้ง ยิงไม่เข้าเลยเมื่อเกมจริงมาถึง และ… ตกรอบ…

 

สำหรับ โมร็อกโก สร้างประวัติศาสตร์เข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายเป็นครั้งแรก และเป็นทีมแอฟริการายที่ 3 ถัดจาก แคเมอรูน 1990, เซเนกัล 2002 และ กาน่า 2010 ที่มาได้ถึงตรงนี้

 

รายชื่อผู้เล่นและสถิติที่สำคัญ
โมร็อกโก (4-3-3) ยาสซีน บูนู – อัชราฟ ฮาคิมี่, โรแม็ง ซาอิสส์, นาเยฟ อาแกร์ด (จาวาด เอล ยามิก 84), นูสแซร์ มาซราอุย (ยาเฮีย อัตติยัด-อัลลาห์ 82) – อัซซาดีน อูนาฮี (บาเดอร์ เบนูน 120), โซฟียาน อัมราบัต, เซลิม อมัลลาห์ (วาลิด เชดดิรา 82) – ฮาคิม ซีเย็ค, ยุสเซฟ เอ็น-เนซิรี่ (อับเดลฮามิด ซาบิรี 82), โซฟียาน บูฟาล (อับเด เอซซัลซูลี่ 66)
สเปน (4-3-3) อูไน ซิมอน – มาร์กอส ยอเรนเต้, โรดรี้, อายเมอริก ลาป๊อร์กต์, จอร์ดี้ อัลบา (อเลฆานโดร บัลเด้ 98) – เปดรี้, เซร์คิโอ บุสเก็ตส์, กาบี (คาร์ลอส โซเลร์ น.63) – เฟร์ราน ตอร์เรส (นิโก้ วิลเลี่ยมส์ 75, ปาโบล ซาราเบีย 118), มาร์โก อเซนซิโอ (อัลบาโร่ โมราต้า 63), ดานี่ โอลโม (อันซู ฟาติ 98)

 

• แมนออฟเดอะแมตช์ : ยาสซีน บูนู
• ที่จริงแล้ว ยาสซีน บูนู เกิดที่แคนาดา แต่ย้ายมาโตที่โมร็อกโก ตอน 3 ขวบ และเคยเป็นเด็กฝึกของ แอตเลติโก มาดริด มาก่อน ก่อนจะย้ายจาก คิโรน่า มาเล่นกับ เซบีย่า ตั้งแต่ 2019 เป็นต้นมา พร้อมคว้ารางวัลนายประตูแห่งปี Zamora Trophy ลา ลีกา ซีซั่นที่แล้วด้วย
• ตลอดเกม 120 นาที มียิงตรงกรอบกันแค่ 4 ครั้ง (สเปน 3 โมร็อกโก 1) และ สเปน ไม่ได้เตะมุมเลยสักครั้ง
• อัซซาดีน อูนาฮี วิ่งรวมระยะ 14.71 กม.
• ด้วยที่ตั้ง จึงสามารถนิยาม โมร็อกโก ว่าเป็นได้ทั้ง “ชาติอาหรับ” และ “แอฟริกาเหนือ” โดยนอกจากเป็นแอฟริกันรายที่ 4 ที่เข้ารอบ 8 ทีมบอลโลกแล้ว ก็นับเป็นชาติอาหรับรายแรกที่มาถึงตรงนี้
• สเปน ร่วงรอบ 16 ทีมสุดท้ายอีกครั้ง ซ้ำรอยเดิมจากฟุตบอลโลก 2018 ที่รัสเซีย
• สเปน ยังแพ้จุดโทษจนตกรอบทัวร์นาเมนต์ใหญ่ 3 หนซ้อน
ฟุตบอลโลก 2018 แพ้จุดโทษ รัสเซีย 3-4
ยูโร 2020 แพ้จุดโทษ อิตาลี 2-4
ฟุตบอลโลก 2022 แพ้จุดโทษ โมร็อกโก 0-3

 

สืบเนื่องจากผลสกอร์ โมร็อกโก ชนะจุดโทษ สเปน 3-0
• โมร็อกโก เข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายไปชน โปรตุเกส อีกหนึ่งเพื่อนบ้านต่างทวีป ที่อยู่ห่างกันแค่ข้ามทะเลชั่วโมงเศษ (เที่ยวบิน)
• อย่าว่าแต่เข้ารอบ 8 ทีม ก่อนนี้ โมร็อกโก เคยได้เข้าน็อกเอาต์ 16 ทีมบอลโลกมาแค่หนเดียวถ้วน คือปี 1986 นอกนั้นตกรอบแรก 4 ครั้ง
• วาลิด เรกรากี โค้ชเชื้อสายฝรั่งเศสวัย 47 กลายเป็นฮีโร่ของประเทศไปแล้ว และยังนับเป็นโค้ชแอฟริกันคนแรกที่เข้าถึง 8 ทีมสุดท้ายบอลโลก
• หลุยส์ เอ็นริเก้ ลาออกจากการทำทีม สเปน ในที่สุด หลังอยู่บนเก้าอี้มาตั้งแต่ปี 2018 (มีเว้นช่วงไปพักหนึ่ง) ลงสนาม 47 ชนะ 26 เสมอ 14 แพ้ 7

 

 

แฮตทริกแรกมา! ฝอยทองกระหน่ำสวิสส์ 6-1

16 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 เกมต่อเกม น็อกเอาต์! (2)

 

นี่คือการพบกันครั้งที่ 26 เข้าไปแล้วของ โปรตุเกส กับ สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งรายแรก ชนะ 2 เกมซ้อนเหนือทั้ง กาน่า และ อุรุกวัย จนการันตีการเข้ารอบน็อกเอาต์ได้ตั้งแต่จบสองเกมแรก ส่วนรายหลัง ชนะ แคเมอรูน 1-0 และยัน บราซิล 0-0 จนถึงนาที 83 (โดน กาเซมิโร่ สอย 1-0) ก่อนจะเจอเกมแลกหมัดกับ เซอร์เบีย ซึ่งทัพนาฬิกาก็ยังมีดีพอจะเบียดชนะ 3-2 และเข้ารอบตามหลัง บราซิล มา

 

ที่จริง การเจอกันระหว่าง โปรตุเกส กับ สวิตเซอร์แลนด์ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่ 1938 แม้จะยิงกันเยอะในช่วงหลัง แต่ก็ผลัดกันแพ้ชนะมาเรื่อยๆ

 

คัดบอลโลก 2016 สวิตเซอร์แลนด์ ชนะ 2-0
คัดบอลโลก 2017 โปรตุเกส ชนะ 2-0
เนชั่นส์ลีก 2019 โปรตุเกส ชนะ 3-1
เนชั่นส์ลีก 2022 โปรตุเกส ชนะ 4-0
เนชั่นส์ลีก 2022 สวิตเซอร์แลนด์ ชนะ 1-0

 

นั่นแสดงให้เห็นถึงความคู่คี่สูสีที่ โปรตุเกส กับ สวิตเซอร์แลนด์ มี และหลายฝ่ายก็คาดว่า การพบกันอีกครั้งในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 น่าจะออกทรงกินกันยาก เผลอๆ อาจยิงยาวถึงดวลจุดโทษอีกเกม

 

ที่ไหนได้…

 

การเปลี่ยนทีมอย่างเซอร์ไพรส์ของ แฟร์นันโด ซานโตส เล่นงาน สวิตเซอร์แลนด์ ได้อย่างหนักหน่วง–ช่างทำรุนแรงเหลือเกิน โดยเฉพาะการดร็อป คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ลงนั่งสำรอง เปิดทางให้หัวหอกหน้าใหม่จากเบนฟิก้า กอนซาโล่ รามอส ลงตัวจริงหนแรกในทัวร์นาเมนต์ หลังจากที่ก่อนนี้ ดาวรุ่งวัย 21 ได้สัมผัสเกมในฐานะตัวสำรองท้ายเกมมาแค่ 2 นัด ลงนาที 88 กับกาน่า และนาที 82 กับอุรุกวัย (ส่วนกับ เกาหลีใต้ ไม่ได้เล่น)

 

1-0 ชูเอา เฟลิกซ์ ไหลให้ กอนซาโล่ รามอส พลิกยิงด้วยซ้ายเสียบเสาแรก น.17
2-0 เปเป้ ทิ่มโขกลูกเตะมุมของ บรูโน่ แฟร์นันเดส ไม่เหลือ น.33
3-0 ดีโอโก้ ดาโล่ต์ แทงขึ้นหน้าให้ กอนซาโล่ รามอส จิ้มลอดขา ยานน์ ซอมเมอร์ น.51
4-0 รามอส จ่ายให้ ราฟาเอล เกร์เรยโร่ สอดขึ้นกดด้วยซ้ายปะทะตาข่าย น.55
4-1 มานูเอล อคานจี เก็บตกชาร์จเตะมุมเสาสอง น.58
5-1 กอนซาโล่ รามอส ทะลุเข้ายกลูกข้ามตัว ซอมเมอร์ อย่างเหนือชั้น เป็นแฮตทริก น.67
6-1 หอกสำรอง ราฟาเอล เลเอา ปั่นด้วยขวาเข้าเสาสอง น.90+2

 

ผ่าน 48 เกมของรอบแรก และอีกหลายนัดของรอบ 16 ทีม “แฮตทริกแรก” ก็มาจนได้ และมาอย่างเซอร์ไพรส์กับราย กอนซาโล่ รามอส ที่แทบไม่มีใครรู้จักมักจี่มาก่อน

 

สำคัญคือ โปรตุเกส กรีธาทัพผ่าน สวิตเซอร์แลนด์ อย่างสบาย ง่ายดายเกินคาด

 

เพื่อไปไล่ล่าแชมป์โลกสมัยแรก…ไม่ว่าจะมี คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ในทีมตัวจริงหรือไม่ ก็ตาม

 

รายชื่อผู้เล่นและสถิติที่สำคัญ
โปรตุเกส (4-3-3) ดีโอโก้ คอสต้า – ดีโอโก้ ดาโล่ต์, เปเป้, รูเบน ดิอาส, ราฟาเอล เกร์เรยโร่ – โอตาวิโอ (วิตินญ่า 74), วิลเลี่ยม คาร์วัลโญ่, แบร์นาร์โด้ ซิลวา (รูเบน เนเวส 81) – บรูโน แฟร์นันเดส (ราฟาเอล เลเอา 87), กอนซาโล่ รามอส (ริคาร์โด้ ออร์ต้า 74), ชูเอา เฟลิกซ์ (คริสเตียโน่ โรนัลโด้ 73)
สวิตเซอร์แลนด์ (4-2-3-1) ยานน์ ซอมเมอร์ – เอดิมิลซอน แฟร์นันเดส, ฟาเบียน ชาร์ (เอราย โคเมิร์ต 46), มานูเอล อคานจี, ริคาร์โด้ โรดริเกซ – เรโม่ ฟรอยเลอร์ (เดนิส ซากาเรีย 54), กรานิต ชาก้า – เซอร์ดาน ชากิรี่, ชิบริล โซว์ (ฮาริส เซเฟโรวิช 54), รูเบน วาร์กัส (โนอาห์ โอคาฟอร์ 66) – บรีล เอ็มโบโล่ (อาร์ดอน ยาชารี 89)

 

• แมนออฟเดอะแมตช์ : กอนซาโล่ รามอส
• กอนซาโล่ รามอส ซัด 3 ประตูในนัดเดียว แม้เพิ่งได้ลงเล่นฟุตบอลโลกไปเพียง 85 นาทีเท่านั้น และเป็นแฮตทริกแรกในฟุตบอลโลก 2022
• กอนซาโล่ รามอส เป็นนักเตะคนแรกที่ทำแฮตทริกในรอบน็อกเอาต์ฟุตบอลโลก นับตั้งแต่ โธมัส สคูราวี่ ในเกมกับคอสตาริกา ปี 1990
• กอนซาโล่ รามอส ยิงประตูรอบน็อกเอาต์บอลโลก เกมเดียวได้ 3 ลูก มากกว่าที่ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ เล่นมาทั้งชีวิต และไม่เคยยิงได้เลย
• เปเป้ กลายเป็นนักเตะสูงวัยสุดที่ยิงได้ในรอบน็อกเอาต์ฟุตบอลโลก ด้วยอายุ 39 ปี 283 วัน
• สวิตเซอร์แลนด์ ตกรอบ 16 ทีมสุดท้ายบอลโลกเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน และ 4 จาก 5 หนหลัง (อีกหน ตกรอบแรก 2010)

 

สืบเนื่องจากผลสกอร์ โปรตุเกส 6-1 สวิตเซอร์แลนด์
• โปรตุเกส ทะลุเข้าไปดวล โมร็อกโก ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย
• โปรตุเกส อยู่ในเส้นทางของการลุ้นแชมป์โลกสมัยแรก โดยยังไม่เคยเข้าชิงชนะเลิศได้มาก่อน ผลงานดีสุดคืออันดับสาม 1966 และอันดับสี่ 2006
• กอนซาโล่ รามอส เล่นทีมชาติ 4 นัด ซัด 4 ประตู
• คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ไม่วายเป็นข่าวว่าออกลูกงอแง จะปลีกตัวทิ้งแคมป์ทีมชาติไปกลางคันด้วยความไม่พอใจที่ต้องตกเป็นตัวสำรองเกมสำคัญนัดล่าสุดนี้ แต่สมาคมบอลโปรตุเกสยืนกรานชัดว่าข่าวนี้เป็น fake news และ โรนัลโด้ ไม่ได้ออกอาการอะไรใดๆ

 

ไกด์เถื่อน

 

อ้างอิง
wikipedia
FIFA

ภาพประกอบ
amNewYork
SPORT
Bloomberg
AFP

 

เรื่องน่าอ่าน
16 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 เกมต่อเกม น็อกเอาต์ !
บอลโลกบันทึก #2 : สำรวจสถิติรอบแรก ฟุตบอลโลก 2022
บอลโลกบันทึก #1 : สุดทางรอบแรก ฟุตบอลโลก 2022

 

โปรตุเกส vs สวิตเซอร์แลนด์ : ตัวต่อตัว 16 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022

โปรตุเกส vs สวิตเซอร์แลนด์ : ตัวต่อตัว 16 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022

ฟุตบอลโลก 2022 รอบน็อกเอาต์ 16 ทีมสุดท้าย : โปรตุเกส vs สวิตเซอร์แลนด์

อังคาร 6 ธันวาคม 2565, 02.00 น.
สนาม : ลูเซล ไอคอนิก สเตเดี้ยม, ลูเซล
ถ่ายทอดสด : GMM25

 

ผลการพบกัน : 25 นัด
โปรตุเกส ชนะ 9
เสมอ 5
สวิตเซอร์แลนด์ ชนะ 11

 

ฟอร์ม 5 เกมหลังสุด
โปรตุเกส
เนชั่นส์ ลีก แพ้ สเปน 0-1
อุ่นเครื่อง ชนะ ไนจีเรีย 4-0
ฟุตบอลโลก 2022 ชนะ กาน่า 3-2
ฟุตบอลโลก 2022 ชนะ อุรุกวัย 2-0
ฟุตบอลโลก 2022 แพ้ เกาหลีใต้ 1-2

 

สวิตเซอร์แลนด์
เนชั่นส์ ลีก ชนะ สาธารณรัฐเช็ก 2-1
อุ่นเครื่อง แพ้ กาน่า 0-2
ฟุตบอลโลก 2022 ชนะ แคเมอรูน 1-0
ฟุตบอลโลก 2022 แพ้ บราซิล 0-1
ฟุตบอลโลก 2022 ชนะ เซอร์เบีย 3-2

 

ผลงานรอบแบ่งกลุ่ม
โปรตุเกส : ชนะ 2 เกมซ้อนเหนือทั้ง กาน่า และ อุรุกวัย จนการันตีการเข้ารอบได้ตั้งแต่จบสองเกมแรก และ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ แม้ไม่ได้เล่นดีมากแต่ก็มียิงประตูทำสถิติ จนเกมสุดท้ายแม้จะหลุดแพ้ เกาหลีใต้ แต่ก็ไม่ได้สั่นคลอนตำแหน่งแชมป์กลุ่ม
สวิตเซอร์แลนด์ : แสดงให้เห็นถึงเกมรับที่แข็งแกร่งทั้งในเกมชนะ แคเมอรูน 1-0 และยัน บราซิล 0-0 จนถึงนาที 83 (โดน กาเซมิโร่ สอย 1-0) ก่อนจะเจอเกมแลกหมัดกับ เซอร์เบีย ซึ่งทัพนาฬิกาก็ยังมีดีพอจะเบียดชนะ 3-2 ดังนั้นจึงเข้ารอบได้ตามสมควร

 

ความพร้อมก่อนเตะ โปรตุเกสและสวิตเซอร์แลนด์

โปรตุเกส
แม้เกมแรกของฟุตบอลโลก 2022 จะมีรตำหนิพอสมควรกับการทุบ กาน่า 3-2 แต่ก็ยังสร้างความต่อเนื่องด้วยการตบ อุรุกวัย อีก 2-0 จนสุดท้ายแม้จะแพ้ เกาหลีใต้ แต่ไม่ได้มากพอให้หลุดออกจากตำแหน่งแชมป์กลุ่ม

 

โปรตุเกส เข้ารอบน็อกเอาต์ได้อีกครั้ง เป็นหนที่ 4 จากการเล่นฟุตบอลโลก 5 ทัวร์นาเมนต์หลัง โดยหนึ่งในนั้นมีเข้าไปเป็นอันดับ 4 (2006) ด้วย

 

เกมล่าสุด แฟร์นันโด ซานโตส ปรับ 11 คนแรกค่อนข้างเยอะหลังจากเข้ารอบไปแล้ว และเกมนี้จะกลับไปใช้ตัวจริงเต็มพิกัดอีกหน กระนั้นพวกเขาก็มีปัญหาตัวเจ็บ ทั้ง ดานิโล่ เปเรยร่า, โอตาวิโอ และ นูโน่ เมนเดส

 

ในราย นูโน่ เมนเดส แบ็กดาวรุ่งจากเปแอสเช เจ็บหนักที่ต้นขา รายงานระบุต้องพัก 2 เดือน เท่ากับปิดฉากฟุตบอลโลก 2022 ไปโดยปริยาย ขณะที่ ดานิโล่ เปเรยร่า ก็ยังไม่พร้อมคืนสังเวียน

 

การจัดทัพใช้ 4-3-1-2 ข้างหน้าวาง คริสเตียโน่ โรนัลโด้ กับ ชูเอา เฟลิกซ์ เข้าทำ รูเบน ดิอาส สนับสนุนเกมโดย บรูโน่ แฟร์นันเดส ขณะที่ผู้เฒ่า เปเป้ วัยย่าง 40 จะลงยืนเซนเตอร์แบ็กคู่ รูเบน ดิอาส

 

สวิตเซอร์แลนด์
เปิดสนาม เวิลด์ คัพ ด้วยการเฉือนชัย แคเมอรูน 1-0 แต่ว่าจากนั้นต้าน บราซิล ไม่อยู่ แพ้ไป 0-1

 

สุดท้ายเจอเกมแลกหมัดกับ เซอร์เบีย จนชนะ 3-2 ได้เข้ารอบเป็นอันดับ 2 ของกลุ่ม เป็นการเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายหนที่ 3 จาก 4 ทัวร์นาเมนต์หลัง

 

ความพร้อมของ มูรัต ยาคิน กุนซืออดีตดาวเตะคนดัง มีแค่ต้องเช็กอาการของ เรนาโต้ สเตฟเฟ่น ซึ่งเจ็บกล้ามเนื้อก่อนหน้านี้

 

ขณะที่ เซอร์ดาน ชากิรี่ ที่มีปัญหาความฟิตจนหายหน้าไปจากเกมแพ้ บราซิล กลับลงช่วยทีมไปแล้วแถมยิงประตูได้ด้วย และเกมนี้ก็จะยืนกลางรุกฝั่งขวา เล่นร่วมกับ ชิบริล โซว์ และ รูเบน วาร์กาส เพื่อสนับสนุนหน้าเป้า บรีล เอ็มโบโล่ ในระบบ 4-2-3-1

 

ตัวความหวัง
โปรตุเกส : บรูโน่ แฟร์นันเดส
ไม่ใช่ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ที่โดดเด่นที่สุดเมื่อสวมชุด โปรตุเกส ลงสนามในช่วงหลัง แต่คือ บรูโน่ แฟร์นันเดส จอมทัพจากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่ยิ่งเล่นยิ่งส่งอิทธิพล เผลอๆ ในภาพรวมจะเล่นได้ดีกว่าตอนรับใช้ปีศาจแดงต้นสังกัดด้วยซ้ำไป โดยสตาร์วัย 28 กดประตูในทีมชาติไปถึง 7 ลูกจากการเล่น 11 นัดในปีนี้ รวมถึง 2 ประตูที่เช็คบิล อุรุกวัย

 

สวิตเซอร์แลนด์ : บรีล เอ็มโบโล่
พังประตูนำชัยให้ สวิตเซอร์แลนด์ เชือด แคเมอรูน บ้านเกิดเมืองนอน (ก่อนโอนสัญชาติ) 1-0 ก่อนที่จะสร้างปัญหาให้เกมรับบราซิลได้พอตัว แล้วก็มายิงอีกเม็ดนัดสยบ เซอร์เบีย ซึ่งแสดงถึงความอันตรายที่หอกร่างบึกวัย 25 มี โดยถึงตอนนี้กดให้ทีมชาติไปแล้ว 13 ลูกจากการเล่น 62 เกม ขณะที่ในสโมสร เอ็มโบโล่ เพิ่งย้ายจาก โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค ไปเล่นกับ โมนาโก ด้วยค่าตัว 12 ล้านยูโรเมื่อซัมเมอร์ และยิงไปแล้ว 8 ประตูด้วยกัน

 

11 ตัวจริงที่คาด
โปรตุเกส (4-3-1-2, กุนซือ แฟร์นันโด ซานโตส) ดีโอโก้ คอสต้า – ชูเอา กันเซโล่, เปเป้, รูเบน ดิอาส, ดีโอโก้ ดาโล่ต์ – รูเบน เนเวส, วิลเลี่ยม คาร์วัลโญ่, แบร์นาร์โด้ ซิลวา – บรูโน่ แฟร์นันเดส – คริสเตียโน่ โรนัลโด้, ชูเอา เฟลิกซ์
สวิตเซอร์แลนด์ (4-2-3-1, กุนซือ มูรัต ยาคิน) ยานน์ ซอมเมอร์ – ริคาร์โด้ โรดริเกซ, มานูเอล อคานจี, นิโก้ เอลเวดี้, ซิลวาน วิดเมอร์ – กรานิต ชาก้า, เรโม่ ฟรอยเลอร์ – รูเบน วาร์กาส, ชิบริล โซว์, เซอร์ดาน ชากิรี่ – บรีล เอ็มโบโล่

 

สถิติที่เกี่ยวข้อง
• พบกันบ่อยถึง 25 ครั้ง หรือตั้งแต่ 1938 เป็นต้นมาแล้ว โดย สวิตเซอร์แลนด์ เหนือกว่าที่ชนะ 11 เสมอ 5 ส่วนโปรตุเกสชนะ 9
• เพิ่งพบกันเหย้าเยือนใน ยูฟ่า เนชั่นส์ ลีก เมื่อกลางปี โปรตุเกสเปิดบ้านชนะ 4-0 ก่อนสวิสส์เปิดบ้านชนะคืน 1-0
• 12 เกมในทุกรายการของปีนี้ สวิตเซอร์แลนด์ ชนะ 5 เสมอ 1 แพ้ไปถึง 6
• โปรตุเกส ไม่เคยเข้าถึงชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกมาก่อนเลย ดีสุดคือเป็นอันดับ 3 และ 4
• นอกจาก คริสเตียโน่ โรนัลโด้ (118) มีอีกแค่ 2 คนที่ยิงเกิน 10 ลูกในทีมชาติโปรตุเกส คือ อันเดร ซิลวา (19) กับ บรูโน่ แฟร์นันเดส (13)

 

ความน่าจะเป็น
แม้ชนะ 2 เกมแรกและตีตั๋วเข้ารอบได้อย่างรวดเร็ว แต่การที่เกมสามหลุดแพ้ เกาหลีใต้ รวมถึงก่อนหน้านั้นก็ไม่ได้ท็อปฟอร์มมากมาย ทำให้ โปรตุเกส ยังไม่ถูกยกเป็นหนึ่งในตัวเต็งแชมป์โลก ซึ่งด้วยความเหนียวแน่นของเกมรับสวิสส์ และการที่เอาชนะกันได้มาแล้วไม่กี่เดือนก่อน ทำให้จะไม่ใช่เกมง่ายของทีมฝอยทอง และคงยากหน่อยถ้าคิดจะชนะใน 90 นาที

 

ผลที่คาด : เสมอ 1-1 ใน 90 นาที

เกาหลีใต้ vs โปรตุเกส : วิเคราะห์นัดปิดกลุ่ม ฟุตบอลโลก 2022

เกาหลีใต้ vs โปรตุเกส : วิเคราะห์นัดปิดกลุ่ม ฟุตบอลโลก 2022

ฟุตบอลโลก 2022 รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มเอช นัดสุดท้าย : เกาหลีใต้ vs โปรตุเกส
ศุกร์ 2 ธันวาคม 2565, 22.00 น.
สนาม : เอดูเคชัน ซิตี้ สเตเดี้ยม, อัล รายยาน
ถ่ายทอดสด : True4U

 

ผลงานรอบคัดเลือก
เกาหลีใต้
อันดับ 2 กลุ่มเอ รอบ 3 โซนเอเชีย
เตะ 10 ชนะ 7 เสมอ 2 แพ้ 1 ยิงได้ 13 เสีย 3

โปรตุเกส
ชนะ ตุรกี 3-1 รอบเพลย์ออฟ
ชนะ มาซิโดเนียเหนือ 2-0 รอบเพลย์ออฟ

 

ฟอร์ม 5 เกมหลังสุด
เกาหลีใต้
อุ่นเครื่อง เสมอ คอสตาริกา 2-2
อุ่นเครื่อง ชนะ แคเมอรูน 1-0
อุ่นเครื่อง ชนะ ไอซ์แลนด์ 1-0
ฟุตบอลโลก 2022 เสมอ อุรุกวัย 0-0
ฟุตบอลโลก 2022 แพ้ กาน่า 2-3

โปรตุเกส
เนชั่นส์ ลีก ชนะ สาธารณรัฐเช็ก 4-0
เนชั่นส์ ลีก แพ้ สเปน 0-1
อุ่นเครื่อง ชนะ ไนจีเรีย 4-0
ฟุตบอลโลก 2022 ชนะ กาน่า 3-2
ฟุตบอลโลก 2022 ชนะ อุรุกวัย 2-0

 

ผลการพบกัน : 1 นัด
ฟุตบอลโลก 2002 เกาหลีใต้ ชนะ 1-0

 

ตารางคะแนนกลุ่มเอช หลังผ่าน 2 นัด
1. โปรตุเกส คะแนน 6 ผลต่างประตู +3 (เข้ารอบแล้ว)
2. กาน่า คะแนน 3 ผลต่างประตู 0
3. เกาหลีใต้ คะแนน 1 ผลต่างประตู -1
4. อุรุกวัย คะแนน 1 ผลต่างประตู -2

 

สภาพทีม
เกาหลีใต้
โสมขาวหลุดแพ้แค่นัดเดียวเท่านั้นจาก 8 เกมของรอบคัดเลือก และนัดแรกที่เสมอ อุรุกวัย ไข่ไม่แตก 0-0 ก็ถือว่าทำได้ดี

 

กระนั้นพวกเขาทำพลาดในเกมสอง ที่สู้อุตส่าห์เปลี่ยนสกอร์จากตามหลัง 0-2 เป็นเสมอ 2-2 แล้ว ก็ดันมาโดน กาน่า ยิงตัดสินชัย 3-2 ในที่สุด

 

การที่สองนัดมีแต้มเดียว ทำให้ เกาหลีใต้ ตกที่นั่งลำบากพอตัว ไม่สามารถขอผลเสมอเกมนี้ได้ โดยต้องการชัยชนะเหนือ โปรตุเกส ที่เข้ารอบไปแล้ว ทั้งยังต้องหวังว่า กาน่า จะไม่ชนะ อุรุกวัย ในคราวเดียวกันด้วย

 

เปาโล เบนโต้ กุนซือชาวโปรตุเกสของเกาหลีใต้ มีปัญหาตรงที่ ฮวาง ฮี-ชาน ตัวเก่งจาก วูล์ฟแฮมป์ตัน เจ็บแฮมสตริง จนยังไม่ได้เล่นบอลโลกงวดนี้เลย และยังไม่ชัวร์ว่าจะฟื้นทันเกมนี้หรือไม่ ส่วนทาง ซน ฮึง-มิน ดาวยิงตัวความหวังจากสเปอร์ส ต้องลงสนามแบบสวมหน้ากากกันกระแทก แต่สภาพความฟิตไม่เป็นปัญหา

 

ดังนั้นทำให้จะเป็นทีมเดิมๆ ในระบบ 4-2-3-1 ซน ฮึง-มิน ถอยลงมาเป็นแผงเกมรุกทางซ้าย สนับสนุนหอกเป้า โช กิว-ซุง ที่กดไปแล้ว 2 ประตูใน เวิลด์ คัพ ฉบับกาตาร์

 

โปรตุเกส
แม้เกมแรกของฟุตบอลโลก 2022 จะมีร่องรอยตำหนิพอสมควรกับการทุบ กาน่า 3-2 และ โปรตุเกส ก็ยังสร้างความต่อเนื่องด้วยการตบ อุรุกวัย อีก 2-0 ในเกมถัดมา ทำให้ลอยลำแล้วโดยไม่ต้องสนใจใคร

 

สิ่งที่เหลือมีแค่ว่า โปรตุเกส จะเป็นแชมป์กลุ่มหรือไม่ ซึ่งโอกาสก็ถือว่าสูง เนื่องจากมีแค่ กาน่า เท่านั้นที่พอไล่ทัน จากการมี 3 แต้มในมือ แต่ กาน่า ก็ต้องชนะ อุรุกวัย ให้ได้แบบยิงเยอะหน่อยด้วย (กรณีที่ โปรตุเกส แพ้)

 

ด้วยการเข้ารอบไปแล้ว จึงคาดว่า แฟร์นันโด ซานโตส จะปรับ 11 คนแรกค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะว่ามีปัญหาตัวเจ็บเพิ่มด้วย ทั้ง ดานิโล่ เปเรยร่า, โอตาวิโอ และ นูโน่ เมนเดส

 

ทั้งนี้ในราย นูโน่ เมนเดส แบ็กดาวรุ่งจากเปแอสเช เจ็บหนักที่ต้นขา รายงานระบุต้องพัก 2 เดือน เท่ากับปิดฉากฟุตบอลโลก 2022 ไปโดยปริยาย แม้จะยังอยู่เชียร์ทีมจนจบทัวร์นาเนต์ค่อยกลับออกจากแคมป์ก็ตาม

 

การจัดทัพจะใช้ 4-3-1-2 ข้างหน้ามีโอกาสสูงที่จะเปลี่ยนคู่ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ กับ ชูเอา เฟลิกซ์ เตรียมได้พัก เปิดทางให้ อันเดร ซิลวา กับ ราฟาเอล เลเอา ลงตัวจริงแทน เช่นเดียวกับตำแหน่งอื่นๆ ที่น่าจะปรับเยอะดังกล่าว

 

ตัวความหวัง
โปรตุเกส : บรูโน่ แฟร์นันเดส
ไม่ใช่ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ที่โดดเด่นที่สุดเมื่อสวมชุด โปรตุเกส ลงสนามในช่วงหลัง แต่คือ บรูโน่ แฟร์นันเดส จอมทัพจากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่ยิ่งเล่นยิ่งส่งอิทธิพล เผลอๆ ในภาพรวมจะเล่นได้ดีกว่าตอนรับใช้ปีศาจแดงต้นสังกัดด้วยซ้ำไป โดยสตาร์วัย 28 กดประตูในทีมชาติไปถึง 7 ลูกจากการเล่น 11 นัดในปีนี้ รวมถึง 2 ประตูที่เช็คบิล อุรุกวัย เกมที่แล้ว

 

เกาหลีใต้ : ซน ฮึง-มิน & โช กิว-ซุง
ซน ฮึง-มิน ถูกยกว่าเป็นแข้งเบอร์ 1 ของเอเชียยุคนี้ จากผลงานที่ร่ายให้ สเปอร์ส ต่อเนื่องปีแล้วปีเล่า จนถึงขั้นคว้าดาวซัลโวพรีเมียร์ลีกซีซั่นก่อนมาแล้ว โดยในทีมชาติ โอปป้าซนยิงไป 35 ลูกจาก 106 นัด และพร้อมๆ กันนั้น ฟุตบอลโลก 2022 ได้กลายเป็นเวทีแจ้งเกิดเดอะสตาร์ค้นฟ้าคว้าดาวของ โช กิว-ซุง หัวหอกหน้าหล่อบอยแบนด์เค-ป๊อป วัย 24 จาก ชนบุค ฮุนได มอเตอร์ส ซึ่งเริ่มติดธงในปีที่แล้ว และยิงไปแล้ว 6 ประตูจากการเล่น 18 นัด รวม 2 เม็ดที่จัดใส่ กาน่า เกมก่อน

 

11 ตัวจริงที่คาด
เกาหลีใต้ (4-2-3-1, กุนซือ เปาโล เบนโต้) คิม ซุง-กิว – คิม จิน-ซู, คิม ยัง-กวอน, คิม มิน-แจ, คิม มุน-วาน – ฮวาง อิน-บอม, จุง วู-ยัง – ซน ฮึง-มิน, จอง วู-ยอง, ควอน ชาง-ฮุน – โช กิว-ซุง
โปรตุเกส (4-3-1-2, กุนซือ แฟร์นันโด ซานโตส) รุย ปาตริซิโอ – ราฟาเอล เกร์เรยโร่, เปเป้, อันโตนิโอ ซิลวา, ดีโอโก้ ดาโล่ต์ – ชูเอา ปาลินญ่า, วิลเลี่ยม คาร์วัลโญ่, มาเตอุส นูเนส – บรูโน่ แฟร์นันเดส – ราฟาเอล เลเอา, อันเดร ซิลวา

 

สถิติที่เกี่ยวข้อง
• พบกันมาหนเดียวถ้วนในฟุตบอลโลกเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว ผลเป็น เกาหลีใต้ ทำเซอร์ไพรส์เชือด 1-0 จากการยิงของ พาร์ค ชี-ซอง
• เวลานั้น (2002) คริสเตียโน่ โรนัลโด้ เพิ่งเทิร์นโปรกับ สปอร์ติ้ง ลิสบอน และยังไม่ได้เริ่มติดธงชุดใหญ่
• แม้ส่วนใหญ่เป็นนักเตะในประเทศ แต่ตัวอิมพอร์ตเล่นลีกยุโรปของ เกาหลีใต้ ก็มีอยู่ถึง 8 ราย โดยอยู่กับ โอลิมเปียกอส ในกรีซ 2 ราย ฮวาง อุย-โจ กับ ฮวาง อิน-บอม
• นอกจาก โรนัลโด้ (118) มีอีกแค่ 2 คนที่ยิงเกิน 10 ลูกในทีมชาติโปรตุเกส คือ อันเดร ซิลวา (19) กับ บรูโน่ แฟร์นันเดส (13)

 

ความน่าจะเป็น
ความที่ เกาหลีใต้ ต้องการชัยชนะเป็นพิเศษ ขณะที่ โปรตุเกส เข้ารอบไปก่อนแล้ว ทำให้ความมุ่งมั่นและหิวกระหายจะเป็นของทางฝั่ง เกาหลีใต้ มากกว่า เพียงแต่การจะชนะให้ได้จริงๆ ก็จะเป็นเรื่องยาก ถึงแม้ว่า โปรตุเกส จะปรับส่งสำรองลงเยอะก็ตาม เมื่อชัดเจนว่า เกาหลี ก็มีจุดอ่อนในตัวเองอย่างแนวรับ ที่โดนยิงไป 3 ลูกในนัดที่แล้ว

 

ผลที่คาด : เสมอ 2-2

โปรตุเกส vs อุรุกวัย : ตรวจความพร้อมรอบแรก นัดสอง ฟุตบอลโลก 2022

โปรตุเกส vs อุรุกวัย : ตรวจความพร้อมรอบแรก นัดสอง ฟุตบอลโลก 2022

ฟุตบอลโลก 2022 รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มเอช : โปรตุเกส vs อุรุกวัย
จันทร์ 28 พฤศจิกายน 2565, 08.00 น.
สนาม : ลูเซล ไอคอนิก สเตเดี้ยม, ลูเซล
ถ่ายทอดสด : CH5

 

ผลงานรอบคัดเลือก
โปรตุเกส
ชนะ ตุรกี 3-1 รอบเพลย์ออฟ
ชนะ มาซิโดเนียเหนือ 2-0 รอบเพลย์ออฟ

อุรุกวัย
อันดับ 3 โซนอเมริกาใต้
เตะ 18 ชนะ 8 เสมอ 4 แพ้ 6 ยิงได้ 22 เสีย 22

 

ฟอร์ม 5 เกมหลังสุด
อุรุกวัย
อุ่นเครื่อง เสมอ สหรัฐอเมริกา 0-0
อุ่นเครื่อง ชนะ ปานามา 5-0
อุ่นเครื่อง แพ้ อิหร่าน 0-1
อุ่นเครื่อง ชนะ แคนาดา 2-0
ฟุตบอลโลก 2022 เสมอ เกาหลีใต้ 0-0

โปรตุเกส
เนชั่นส์ ลีก แพ้ สวิตเซอร์แลนด์ 0-1
เนชั่นส์ ลีก ชนะ สาธารณรัฐเช็ก 4-0
เนชั่นส์ ลีก แพ้ สเปน 0-1
อุ่นเครื่อง ชนะ ไนจีเรีย 4-0
ฟุตบอลโลก 2022 ชนะ กาน่า 3-2

 

ผลการพบกัน : 3 นัด
อุ่นเครื่อง 1966 โปรตุเกส ชนะ 3-0
อุ่นเครื่อง 1972 เสมอ 1-1
ฟุตบอลโลก 2018 อุรุกวัย ชนะ 2-1

 

สภาพทีม
โปรตุเกส
กว่าจะเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลก 2022 มาได้ก็ต้องออกแรงหนักไม่น้อย เมื่อต้องไปตัดสินชะตาในรอบเพลย์ออฟ 2 เกม ส่วนเกมแรกของกลุ่มแม้เก็บ 3 แต้มเต็ม แต่ถือว่ามีร่องรอยตำหนิพอสมควรกับการทุบ กาน่า 3-2

 

สำหรับการตัดตัว 26 คนสุดท้ายเพื่อมาลุยฟุตบอลโลก 2022 ของ แฟร์นันโด ซานโตส มีมองข้ามชื่อบางคนไปเหมือนกัน เช่น ชูเอา มูตินโญ่, เปโดร เนโต้, โชเซ่ ฟอนเต้, มาริโอ รุย, เซดริก โซอาเรส อดมาโชว์ตัวที่กาตาร์ทั้งหมด เช่นเดียวกับ ดีโอโก้ โชต้า กองหน้าลิเวอร์พูล ที่บาดเจ็บ

 

แง่ดีคือ ซานโตส ไม่ได้มีปัญหาตัวเจ็บเพิ่มเติม และการจัดทีมก็จะมาชุดเดิมๆ นำขบวนโดย คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ที่จะยืนเป็น 3 กองหน้าร่วมกับ ชูเอา เฟลิกซ์ และ แบร์นาร์โด้ ซิลวา

 

เกมนี้ยังถือเป็นเกมล้างตาที่ โปรตุเกส หมายมั่นปั้นมือจะเอาคืน อุรุกวัย ให้ได้ หลังโดนทีมจอมโหดตบทิ่ม 2-1 ร่วงรอบ 16 ทีมสุดท้ายฟุตบอลโลก 2018 ที่รัสเซีย

 

อุรุกวัย
เจ้าของแชมป์โลก 2 สมัย (ยุคโบราณ 1930 และ 1950) เป็นอันดับ 3 โซนอเมริกาใต้ตามมาตรฐาน ส่วนเกมแรกของฟุตบอลโลก 2022 เสมอ เกาหลีใต้ ดุเดือดในเกมแต่ไม่ดุเดือดกับสกอร์ ที่ออก 0-0

 

สำหรับการมาฟุตบอลโลก 2022 คงถือเป็นการสั่งลาหลายๆ ตัวเก๋าของทีมจอมโหด ไม่ว่าจะ หลุยส์ ซัวเรซ ในวัย 35, เอดินสัน คาวานี่ 35, มาร์ติน กาเซเรส 35, แฟร์นันโด มุสเลร่า 36 และ ดีเอโก้ โกดิน 36

 

ส่วนของความพร้อม กุนซือ ดีเอโก้ อลอนโซ่ มีปัญหาแค่ โรนัลด์ อเราโฮ เซนเตอร์แบ็กจากบาร์เซโลน่า ที่คาดว่าจะฟื้นไม่ทันรอบแรก ดังนั้นเซนเตอร์แบ็กจะเป็น โกดิน ยืนกับ โฮเซ่ คิมิเนซ ต่อไป

 

ด้านเกมรุกใช้ 3 กองหน้า ดาร์วิน นูนเยซ, หลุยส์ ซัวเรซ, ฟาคุนโด้ เปยิสตรี้ ลงล่าตาข่ายตามเดิม ส่วน คาวานี่ นั่งสำรองไปก่อน

 

ตัวความหวัง
โปรตุเกส : คริสเตียโน่ โรนัลโด้
แม้จะมีปัญหาทั้งเรื่องฟอร์มการเล่นและเรื่องอื่นๆ จนทำให้ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ มีครึ่งซีซั่นแรกกับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่ไม่ดี (3 ประตูจาก 16 นัด) จนสุดท้ายแยกทางกันไปเป็นฟรีเอเยนต์ แต่ในระดับนานาชาติที่สปีดบอลช้ากว่า ยอดแข้งวัย 37 ยังอันตรายสำหรับทุกคู่แข่งเสมอ เช่นเดียวกับที่สามารถปิดสกอร์ได้จากทุกรูปแบบ ใกล้ไกล ลูกนิ่งลูกเคลื่อนไหว ซึ่ง โรนัลโด้ ก็ทำสถิติยิงในฟุตบอลโลกได้ 5 สมัยแล้ว จากการกดจุดโทษนำ กาน่า 1-0 นัดก่อน

 

อุรุกวัย : ดาร์วิน นูนเยซ
กด 34 ประตูกับการเล่นให้ เบนฟิก้า ซีซั่นก่อน จนทำให้ ลิเวอร์พูล ทุ่ม 85 ล้านปอนด์ (รวมออปชั่นเสริม) ดึงมาเสริมทัพ ซึ่งผลงานก็ออกมาไม่เลวเลยกับปีแรกของการเล่นในอังกฤษ สอยไป 9 ประตูจาก 18 นัด ซึ่งพร้อมๆ กันกับที่ เอดินสัน คาวานี่ กับ หลุยส์ ซัวเรซ โรยราไปตามกาลเวลา นูนเยซ วัย 23 ก็ก้าวขึ้นมาเป็นความหวังใหม่ในเกมรุกทัพจอมโหดได้ทันที ถึงตรงนี้เล่นทีมชาติ 14 นัด ซัดแล้ว 3 ตุง

 

11 ตัวจริงที่คาด
โปรตุเกส (4-3-3, กุนซือ แฟร์นันโด ซานโตส) ดีโอโก้ คอสต้า – ราฟาเอล เกร์เรยโร่, ดานิโล่ เปเรยร่า, รูเบน ดิอาส, ชูเอา กันเซโล่ – รูเบน เนเวส, โอตาวิโอ, บรูโน่ แฟร์นันเดส – ชูเอา เฟลิกซ์, คริสเตียโน่ โรนัลโด้, แบร์นาร์โด้ ซิลวา
อุรุกวัย (4-3-3, กุนซือ ดีเอโก้ อลอนโซ่) เซร์คิโอ โรเช่ต์ – มาติอัส โอลิเวร่า, โฮเซ่ คิมิเนซ, ดีเอโก้ โกดิน, มาร์ติน กาเซเรส – โรดริโก้ เบนตันกูร์, มาติอัส เวซิโน่, เฟเดริโก้ วัลเวร์เด้ – ดาร์วิน นูนเยซ, หลุยส์ ซัวเรซ, ฟาคุนโด้ เปยิสตรี้

 

สถิติที่เกี่ยวข้อง
• ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ พบกันมาแค่ 3 ครั้ง ผลัดกันแพ้ชนะฝั่งละหน
• เจอล่าสุดในฟุตบอลโลกหนที่แล้ว รอบ 16 ทีม เอดินสัน คาวานี่ ซัดสองเม็ดสยบฝอยทอง 2-1
• โปรตุเกส เพิ่งได้เข้าเล่นรอบสุดท้ายฟุตบอลโลก ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 8 เท่านั้น และไม่เคยเข้าถึงชิงชนะเลิศมาก่อน ดีที่สุดอันดับ 3 ปี 1966
• อุรุกวัย เข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายฟุตบอลโลก 2018 (ก่อนแพ้ฝรั่งเศส 0-2) ถัดจากที่เข้ารอบ 16 ทีม (2014) และคว้าอันดับ 4 (2010) ก่อนหน้านั้น
• นอกจาก โรนัลโด้ มีอีกแค่ 2 คนที่ยิงเกิน 10 ลูกในทีมชาติโปรตุเกส คือ อันเดร ซิลวา (19) กับ บรูโน่ แฟร์นันเดส (11)

 

ความน่าจะเป็น
คู่คี่สูสี ความแข็งแกร่งพอๆ กัน แถมต่างฝ่ายต่างก็มีอาวุธเด็ดที่เกมรุก ซึ่งก็ทำให้มีโอกาสที่เกมนี้จะออกได้ครบทุกหน้า ไม่ว่า โปรตุเกสชนะ, เสมอกัน หรือ อุรุกวัยชนะ ตีเป็นเปอร์เซ็นต์อาจอยู่ที่ 33% ในทุกผล และเกมก็น่าจะตัดสินกันด้วยรายละเอียดเล็กๆ การฉวยโอกาสความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หรือไม่ก็แบ่งแต้มกันแบบแฟร์ๆ

 

ผลที่คาด : เสมอ 1-1

 

โปรแกรมถัดไป
ศุกร์ 2 ธันวาคม 2565
22.00 — เกาหลีใต้ vs โปรตุเกส
22.00 — กาน่า vs อุรุกวัย

โปรตุเกส vs กาน่า : ตรวจความพร้อมรอบแรก ฟุตบอลโลก 2022

โปรตุเกส vs กาน่า : ตรวจความพร้อมรอบแรก ฟุตบอลโลก 2022

ฟุตบอลโลก 2022 รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มเอช : โปรตุเกส vs กาน่า
พฤหัสบดี 24 พฤศจิกายน 2565, 23.00 น.
สนาม : สเตเดี้ยม 974, โดฮา
ถ่ายทอดสด : ทรูโฟร์ยู

 

ผลงานรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 2022

โปรตุเกส
ชนะ ตุรกี 3-1 รอบเพลย์ออฟ
ชนะ มาซิโดเนียเหนือ 2-0 รอบเพลย์ออฟ

กาน่า
ชนะ ไนจีเรีย รอบ 3 โซนแอฟริกา
นัดแรกเสมอ 0-0
นัดสองเสมอ 1-1, เข้ารอบด้วยกฎประตูทีมเยือน

 

ฟอร์ม 5 เกมหลังสุด
โปรตุเกส
เนชั่นส์ ลีก ชนะ สาธารณรัฐเช็ก 2-0
เนชั่นส์ ลีก แพ้ สวิตเซอร์แลนด์ 0-1
เนชั่นส์ ลีก ชนะ สาธารณรัฐเช็ก 4-0
เนชั่นส์ ลีก แพ้ สเปน 0-1
อุ่นเครื่อง ชนะ ไนจีเรีย 4-0

กาน่า
กิริน คัพ เสมอ ชิลี 0-0, ชนะจุดโทษ 3-1
อุ่นเครื่อง แพ้ กาตาร์ 1-2
อุ่นเครื่อง แพ้ บราซิล 0-3
อุ่นเครื่อง ชนะ นิคารากัว 1-0
อุ่นเครื่อง ชนะ สวิตเซอร์แลนด์ 2-0

 

ผลการพบกัน (1 นัด)
ฟุตบอลโลก 2014 โปรตุเกส 2-1 กาน่า

 

สภาพทีม
โปรตุเกส
กว่าจะเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลก 2022 มาได้ก็ต้องออกแรงหนักไม่น้อย เมื่อต้องไปตัดสินชะตาในรอบเพลย์ออฟ 2 เกม จากนั้นในช่วงเดือนหลังๆ ถือว่าฟอร์มขึ้นๆ ลงๆ ชนะสลับแพ้ ล่าสุดชนะ ไนจีเรีย 4-0 บรูโน่ แฟร์นันเดส ซัดสอง

 

สำหรับการตัดตัว 26 คนสุดท้ายเพื่อมาลุยฟุตบอลโลก 2022 ของ แฟร์นันโด ซานโตส มีมองข้ามชื่อบางคนไปเหมือนกัน เช่น ชูเอา มูตินโญ่, เปโดร เนโต้, โชเซ่ ฟอนเต้, มาริโอ รุย, เซดริก โซอาเรส อดมาโชว์ตัวที่กาตาร์ทั้งหมด เช่นเดียวกับ ดีโอโก้ โชต้า กองหน้าลิเวอร์พูล ที่บาดเจ็บ

 

ซานโตส ไม่ได้มีปัญหาตัวเจ็บเพิ่มเติม และการจัดทีมก็จะมาชุดเดิมๆ เสียเป็นส่วนใหญ่ นำขบวนโดย คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ที่จะยืนเป็น 3 กองหน้าร่วมกับ ราฟาเอล เลเอา และ แบร์นาร์โด้ ซิลวา

 

ทั้งนี้แม้ โรนัลโด้ จะแจ้งถึงปัญหาบาดเจ็บกับ แมนฯ ยูไนเต็ด จนไม่ได้มีส่วนร่วมในช่วง 2-3 เกมสุดท้ายก่อนพักเบรค แต่ตอนนี้ฟิตพร้อมเต็มที่แล้ว พร้อมเล่นตามปกติ และจะเล่นด้วยการเป็นฟรีเอเยนต์ด้วย ภายหลัง แมนฯ ยูไนเต็ด แถลงฉีกสัญญาปล่อยตัวเป็นอิสระแล้วเรียบร้อย

 

กาน่า
กาน่าที่ไม่มีโจอี้ แต่มีสมาชิกหน้าเก่าๆ อยู่หลายรายทีเดียว ทั้งคู่พี่น้อง อายิว, โธมัส ปาร์เตย์, ดาเนียล อมาร์ตีย์ ผ่านเข้ารอบสุดท้ายมาได้แบบมีโชคเล็กๆ จากการเตะตัดสินกับ ไนจีเรีย ที่ออกหน้าเสมอทั้งสองนัด สุดท้ายกลายเป็นกาน่าได้เข้ารอบมาเล่นฟุตบอลโลก 2022 ด้วยกฎประตูทีมเยือน

 

ปัญหาใหญ่ของ อ๊อตโต้ อัดโด้ กุนซือทีมดาวดำ คือพวกเขาเสีย โจ วอลลาค็อตต์ จาก ชาร์ลตัน แอธเลติก บาดเจ็บไม่พร้อมช่วยชาติลุยบอลโลก และต้องถอนตัวไปก่อนประกาศ 26 คนสุดท้าย

 

การขาดหายของมือหนึ่ง ทำให้จะเป็น ลอว์เรนซ์ อาติ-ซิกี้ จาก เซนต์ กัลเลน ลงเฝ้าเสาแทน ส่วนเกมรุกจะใช้ อินยากี้ วิลเลี่ยมส์ ดาวยิงสมาชิกใหม่จาก แอธเลติก บิลเบา ล่าตาข่ายในฐานะกองหน้าตัวเป้า

 

ตัวความหวัง
โปรตุเกส : คริสเตียโน่ โรนัลโด้
แม้จะมีปัญหาทั้งเรื่องฟอร์มการเล่นและเรื่องอื่นๆ ที่มารบกวนหัวใจ จนทำให้ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ มีครึ่งซีซั่นแรกกับ แมนฯ ยูไนเต็ด ที่ไม่ดี (3 ประตูจาก 16 นัด) แต่ในระดับนานาชาติที่สปีดบอลช้ากว่า ยอดแข้งวัย 37 ยังอันตรายสำหรับทุกคู่แข่งเสมอ เช่นเดียวกับที่สามารถปิดสกอร์ได้จากทุกรูปแบบ ใกล้ไกล ลูกนิ่งลูกเคลื่อนไหว และการที่เจ้าตัวเองก็รู้ว่านี่คงเป็นฟุตบอลโลกครั้งสุดท้ายของตัวเองแล้ว ทำให้จะใส่สุดชีวิตไม่มีอะไรต้องกั้๊กไว้ ตั้งแต่เกมแรกเป็นต้นไป

 

กาน่า : อินยากี้ วิลเลี่ยมส์
มีเส้นทางชีวิตค้าแข้งน่าสนใจแบบที่เขียนถึงได้เป็นหน้าหรือเอาไปทำหนังสั้นได้เลยสำหรับหัวหอกวัย 28 เชื้อสายกาน่า ที่เกิดและเติบโตในสเปน ก่อนสร้างชื่อกับ แอธเลติก บิลเบา อย่างยาวนานภายใต้สังกัดเดียว ลงเล่นไปกว่าสามร้อยนัด (355) ซัด 78 ประตู โดยในช่วงรุ่นๆ ลงเล่นให้ทีมชาติสเปนชุดยู-21 มากถึง 17 เกม ก่อนเล่นให้ สเปน ชุดใหญ่ 1 นัดด้วยในปี 2016 จนเกือบได้ไปยูโร 2016 อยู่แล้วแต่ไม่ถูกเลือก แต่ต่อมาเมื่อพบว่า ฟีฟ่า อนุญาตให้นักเตะเปลี่ยนทีมชาติได้ถ้ายังไม่เคยได้เล่นเกมใดในทัวร์นาเมนต์เป็นทางการ วิลเลี่ยมส์ จึงตอบรับคำเชิญจาก กาน่า มาเข้าร่วมเมื่อกลางปีนี้เอง ถึงตรงนี้ได้สัมผัสเกมกับ กาน่า ไปแล้ว 3 นัด

 

11 ตัวจริงที่คาด
โปรตุเกส (4-3-3, กุนซือ แฟร์นันโด ซานโตส) รุย ปาตริซิโอ – นูโน่ เมนเดส, เปเป้, รูเบน ดิอาส, ชูเอา กันเซโล่ – รูเบน เนเวส, วิลเลี่ยม คาร์วัลโญ่, บรูโน่ แฟร์นันเดส – ราฟาเอล เลเอา, คริสเตียโน่ โรนัลโด้, แบร์นาร์โด้ ซิลวา
กาน่า (4-2-3-1, กุนซือ อ๊อตโต้ อัดโด้) ลอว์เรนซ์ อาติ-ซิกี้ – กีเดี้ยน เมนซาห์, โมฮัมเหม็ด ซาลิซู, ดาเนียล อมาร์ตีย์, ทาริค แลมพ์ตีย์ – ซาลิส อับดุล ซาเหม็ด, โธมัส ปาร์เตย์ – อองเดร อายิว, จอร์แดน อายิว, คามัลดีน ซุเลมาน่า – อินยากี้ วิลเลี่ยมส์

 

สถิติที่เกี่ยวข้อง
• เคยฉะกันมาในรอบแรกฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิล เป็น โปรตุเกส เบียดชนะ 2-1 คริสเตียโน่ โรนัลโด้ พังประตูชัยสิบนาทีท้าย
• โปรตุเกส เพิ่งได้เข้าเล่นรอบสุดท้ายฟุตบอลโลก ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 8 เท่านั้น และไม่เคยเข้าถึงชิงชนะเลิศมาก่อน ดีที่สุดอันดับ 3 ปี 1966
• กาน่า ชนะไม่เป็นในรอบแบ่งกลุ่มบอลโลก 2014 (เสมอ 1 แพ้ 2) ซึ่งเป็นหนล่าสุดที่ได้เข้ามาเล่นรอบสุดท้าย
• 5 นัดหลังของ โปรตุเกส ไม่มีประตูจาก คริสเตียโน่ โรนัลโด้ แม้แต่ลูกเดียว
• นอกจาก โรนัลโด้ มีอีกแค่ 2 คนที่ยิงเกิน 10 ลูกในทีมชาติโปรตุเกส คือ อันเดร ซิลวา (19) กับ บรูโน่ แฟร์นันเดส (11)

 

ความน่าจะเป็นฟุตบอลโลก 2022

แม้จะมีปัญหาทั้งเรื่องฟอร์มการเล่นและเรื่องอื่นๆ ที่มารบกวนหัวใจ จนทำให้ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ มีครึ่งซีซั่นแรกกับ แมนฯ ยูไนเต็ด ที่ไม่ดี แต่ในระดับนานาชาติที่สปีดบอลช้ากว่า ยอดแข้งวัย 37 ยังอันตรายสำหรับทุกคู่แข่งเสมอ ซึ่งดูวี่แววแล้ว กาน่า ก็ไม่น่าจะเอาอยู่แต่อย่างใด ยิ่งโดยเฉพาะว่า โปรตุเกส ไม่ได้มีทีเด็ดแค่ โรนัลโด้ คนเดียวด้วย

 

ผลที่คาด : โปรตุเกส ชนะ 2-0

 

โปรแกรมถัดไป
โปรตุเกส
จันทร์ 28 พฤศจิกายน 2565 — 02.00 — โปรตุเกส vs อุรุกวัย
ศุกร์ 2 ธันวาคม 2565 — 22.00 — เกาหลีใต้ vs โปรตุเกส

กาน่า
จันทร์ 28 พฤศจิกายน 2565 — 20.00 — เกาหลีใต้ vs กาน่า
ศุกร์ 2 ธันวาคม 2565 — 22.00 — กาน่า vs อุรุกวัย

8 ชาติแถวหน้ากับโผนักเตะชุดลุยฟุตบอลโลก 2022

8 ชาติแถวหน้ากับโผนักเตะชุดลุยฟุตบอลโลก 2022

กังหัน, สิงโต, ฟ้าขาว, ตราไก่, กระทิง, อินทรีเหล็ก, ปีศาจแดง, ฝอยทอง ใครกัน จะเข้าใกล้ความสำเร็จแห่งฟุตบอลโลก 2022 มากที่สุด…เมื่อพิจารณาจากขุมกำลังนักเตะที่เผยออกมา

 

นับถอยหลังแค่ไม่กี่คืน ทัวร์นาเมนต์ที่โลกรอคอยอย่าง ฟุตบอลโลก 2022 ก็จะมาถึง และเกือบทุกทีมก็เผยชื่อนักเตะ 26 คนสุดท้ายที่จะไปแอ่วกาตาร์ ออกมาแล้ว

 

ด้านล่างนี้คือ 26 รายชื่อชุดสุดท้ายของบรรดาชาติยักษ์ใหญ่ มีเอี่ยวลุ้นแชมป์โลก ที่ทยอยประกาศออกมาก่อนที่ เวิลด์ คัพ จะเริ่มโรมรันประชันแข้งกันราว 1 สัปดาห์

 

ใครเป็นใคร ใครไปบอลโลก ใครหลุดโผ ใครจัดให้ครบถ้วนกว่านี้ มาบอก!

 

 

กังหันลม เนเธอร์แลนด์ กับความหวังถึง ‘ครั้งแรก’
แม้จะผลิตยอดดาวเตะขึ้นสู่วงการได้แบบนับไม่ถ้วน ไม่ว่าอดีตหรือปัจจุบัน แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ เนเธอร์แลนด์ ก็ไม่เคยไปถึงแชมป์โลกได้มาก่อน โดยต้องเจ็บปวดกับการเป็น “พระรอง” ถึง 3 ครั้ง คือฟุตบอลโลก 1974, 1978 และ 2010 ที่ถึงชิงชนะเลิศแล้วแต่กลับแพ้ทั้งสามครั้ง

 

ยิ่งน่าสนใจมากขึ้นตรงที่ฟุตบอลโลกครั้งก่อน รัสเซีย 2018 เนเธอร์แลนด์ ตกต่ำสุดถึงขั้นตกรอบคัดเลือกมาแล้ว ดังนั้น มาคราวนี้ในการทำทีมของคนคุ้นเคยอย่าง หลุยส์ ฟาน กัล พวกเขาจึงพกความมุ่งมั่นมาอย่างเต็มพิกัด โดยเฉพาะการได้อยู่ในกลุ่มที่ไม่แข็งนัก ร่วมกับเจ้าภาพ กาตาร์, เอกวาดอร์ และ เซเนกัล แม้อาจเป็นบอลต่างสไตล์ไม่ค่อยได้เจอนัก แต่หลายฝ่ายก็เชื่อว่าจะผ่านไปได้ จากนั้นในรอบน็อกเอาต์ก็ต้องมาตามลุ้นกันว่าจะได้คู่แข่งเป็นใครในแต่ละรอบ ดูกันแต่ละแมตช์ แล้วถึงเวลาจะเห็นเองว่า “แชมป์โลกสมัยแรก” มีความเป็นไปได้มากขนาดไหน

 

สำหรับขุมกำลังที่ ฟาน กัล หิ้วไปกาตาร์ ส่วนใหญ่ก็เป็นชุดเดิมๆ ที่ใช้มาตลอดปีหลังๆ แต่ก็น่าเสียดายแทนตัวที่หลุดออกไป ทั้ง สเวน บ็อตมัน, ฮานส์ ฮาเตบัวร์, ดอนเยลล์ มาเลน, อาร์โนต์ ดันยูม่า หรือ ดอนนี่ ฟาน เดอ เบ็ค (ส่วน จอร์จินโญ่ ไวจ์นัลดุม ปกติต้องได้ไป แต่ดันเจ็บหนักพักยาวเสียก่อน) ซึ่งมองว่า ถ้าบางคนได้ไป น่าจะมีประโยชน์กับทัพกังหันอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะ บ็อตมัน เซนเตอร์แบ็กวัย 22 ที่เล่นดีมากกับ นิวคาสเซิ่ล ยูไนเต็ด ซีซั่นนี้

 

โผ 26 แข้งเนเธอร์แลนด์ ชุดลุยฟุตบอลโลก 2022
ผู้รักษาประตู
ยุสติน ไบจ์โลว์ / อายุ 24 / เฟเยนูร์ด / เล่นทีมชาติ 6 นัด
เรมโก้ พาสเฟียร์ / 39 / อาแจ็กซ์ / 2
อันเดรียส น็อพเพิร์ต / 28 / ฮีเรนวีน / 0

กองหลัง
ดาลี่ย์ บลินด์ / 32 / อาแจ็กซ์ / 94 – 2
สเตฟาน เดอ ฟราย / 30 / อินเตอร์ / 59 – 3
เฟอร์จิล ฟาน ไดค์ (กัปตันทีม) / 31 / ลิเวอร์พูล / 49 – 6
มัทไธส์ เดอ ลิกท์ / 23 / บาเยิร์น / 38 – 2
เดนเซล ดุมฟรีส์ / 26 / อินเตอร์ / 37 – 5
นาธาน อาเก้ / 27 / แมนฯ ซิตี้ / 29 – 3
ยูร์เรียน ทิมเบอร์ / 21 / อาแจ็กซ์ / 10 – 0
ไทเรลล์ มาลาเซีย / 23 / แมนฯ ยูไนเต็ด / 6 – 0
เยเรมี่ ฟริมปง / 21 / เลเวอร์คูเซ่น / 0 – 0

กองกลาง
เฟรงกี้ เดอ ยอง / 25 / บาร์เซโลน่า / 45 – 1
สตีเฟ่น แบร์กฮุยส์ / 30 / อาแจ็กซ์ / 39 – 2
ดาวี่ คลาสเซ่น / 29 / อาแจ็กซ์ / 35 – 9
มาร์เท่น เดอ รอน / 31 / อตาลันต้า / 30 – 0
เทน โคปไมเนอร์ส / 24 / อตาลันต้า / 10 – 1
เคนเน็ธ เทย์เลอร์ / 20 / อาแจ็กซ์ / 2 – 0
ชาบี ซิมอนส์ / 19 / พีเอสวี / 0-0

กองหน้า
เมมฟิส เดอปาย / 28 / บาร์เซโลน่า / 81 – 42
ลุค เดอ ยอง / 32 / พีเอสวี / 38 – 8
สตีเฟ่น เบิร์กไวน์ / 25 / อาแจ็กซ์ / 24 – 7
วินเซนต์ ยานส์เซ่น / 28 / อันท์เวิร์ป / 20 – 7
วู้ท เวกอร์ทส์ / 30 / เบซิคตัส / 15 – 3
โคดี้ กัคโป / 23 / พีเอสวี / 9 – 3
โนอา ลัง / 23 / คลับ บรูช / 5 – 1

หลุดโผ
ยาสเปอร์ ชิลเลสเซ่น (เอ็นอีซี), ทิม ครูล (นอริช), สเวน บ็อตมัน (นิวคาสเซิ่ล), ปาสกาล สเตราค์ (ลีดส์), บรูโน่ มาร์ตินส์ อินดี้ (อาแซด), ฮานส์ ฮาเตบัวร์ (อตาลันต้า), ริค คาร์สดอร์ป (โรม่า), ยอร์ดี้ คลาซี่ (อาแซด), ดอนนี่ ฟาน เดอ เบ็ค (แมนฯ ยูไนเต็ด), ไรอัน กราเฟนเบิร์ค (บาเยิร์น), จอร์จินโญ่ ไวจ์นัลดุม (โรม่า), ดอนเยลล์ มาเลน (ดอร์ทมุนด์), อาร์โนต์ ดันยูม่า (บียาร์เรอัล), ไบรอัน บร๊อบบี้ย์ (อาแจ็กซ์)

 

 

 

สิงโตคำราม อังกฤษ กับฟุตบอลโลก 2022 และคำปรามาส
ท่ามกลางคำปรามาสที่ แกเร็ธ เซาธ์เกต ต้องเผชิญ อันที่จริง อดีตนายใหญ่มิดเดิ้ลโบรช์ ก็พา อังกฤษ เข้ารอบลึกมาแล้ว 2 รายการติดต่อกัน ทั้งฟุตบอลโลก 2018 ที่ตกตัดเชือก (และเป็นอันดับ 4) ต่อด้วยยูโร 2020 ที่ถึงชิงมาแล้ว ก่อนแพ้อย่างหวุดหวิดมากๆ เพียงการดวลจุดโทษต่อ อิตาลี เท่านั้นเอง

 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แฟนบอลค่อนข้างเป็นกังวล คือฟอร์มช่วงหลังที่สิงโตออกทรงฟุบอย่างชัดเจน เอาชนะใครไม่เป็นเลยใน 6 เกมของ ยูฟ่า เนชั่นส์ ลีก จนตกชั้น และน่าหวั่นเกรงว่าจะเร่งเครื่องฮึดขึ้นทันไหมเมื่อฟุตบอลโลก 2022 มาถึง

 

และกับขุมกำลัง 26 สิงโตคำราม ที่ เซาธ์เกต เลือกไป ก็ก่อให้เกิดคำถามในหลายจุดเหมือนกัน ตั้งแต่หลังสุดไปหน้าสุด ทั้งการที่ยังคงเชื่อใจในจอมรั่วอย่าง แฮร์รี่ แม็กไกวร์ ถึงขั้นที่น่าจะยังคงยัดลงตัวจริงไม่เปลี่ยน, แดนกลางที่หิ้ว แคลวิน ฟิลลิปส์ ผู้ซึ่งเจ็บออดๆ แอดๆ มาทั้งซีซั่น ติดไปด้วย หรือข้างหน้าที่ไม่แคล้วคงต้องพึ่งพา แฮร์รี่ เคน เป็นสำคัญ

 

คำถามทั้งหมด จะปรากฏคำตอบในเกมกับ อิหร่าน, สหรัฐอเมริกา, เวลส์ และรอบถัดๆ ไป หากไม่เกิดข้อผิดพลาดหนักหนาจนร่วงรอบแรกแบบช็อกโลกไปเสียก่อน

 

โผ 26 แข้งอังกฤษ ชุดลุยฟุตบอลโลก 2022
ผู้รักษาประตู
1. จอร์แดน พิคฟอร์ด / 28 / เอฟเวอร์ตัน / 45
13. นิค โป๊ป / 10 / นิวคาสเซิ่ล / 10
23. อารอน แรมส์เดล / 24 / อาร์เซน่อล / 3

กองหลัง
2. ไคล์ วอล์คเกอร์ / 32 / แมนฯ ซิตี้ / 70 – 0
3. ลุค ชอว์ / 27 / แมนฯ ยูไนเต็ด / 23 – 3
5. จอห์น สโตนส์ / 28 / แมนฯ ซิตี้ / 59 – 3
6. แฮร์รี่ แม็กไกวร์ / 29 / แมนฯ ยูไนเต็ด / 48 – 7
12. คีแรน ทริปเปียร์ / 32 / นิวคาสเซิ่ล / 37 – 1
15. เอริก ไดเออร์ / 28 / สเปอร์ส / 47 – 3
16. โคเนอร์ คอดี้ / 29 / เอฟเวอร์ตัน / 10 – 1
18. เทรนท์ อล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ / 24 / ลิเวอร์พูล / 17 – 1
21. เบน ไวท์ / 25 / อาร์เซน่อล / 4 – 0

กองกลาง
4. ดีแคลน ไรซ์ / 23 / เวสต์แฮม / 34 – 2
8. จอร์แดน เฮนเดอร์สัน / 32 / ลิเวอร์พูล / 70 – 2
14. แคลวิน ฟิลลิปส์ / 26 / แมนฯ ซิตี้ / 23 – 0
19. เมสัน เมาท์ / 23 / เชลซี / 32 – 5
22. จู๊ด เบลลิงแฮม / 19 / ดอร์ทมุนด์ / 17 – 0
26. โคเนอร์ กัลลาเกอร์ / 22 / เชลซี / 4 – 0

กองหน้า
7. แจ๊ค กรีลิช / 27 / แมนฯ ซิตี้ / 24 – 1
9. แฮร์รี่ เคน (กัปตันทีม) / 29 / สเปอร์ส / 75 – 51
10. ราฮีม สเตอร์ลิ่ง / 27 / เชลซี / 79 – 19
11. มาร์คัส แรชฟอร์ด / 25 / แมนฯ ยูไนเต็ด / 46 – 12
17. บูกาโย่ ซาก้า / 21 / อาร์เซน่อล / 20 – 4
20. ฟิล โฟเด้น / 22 / แมนฯ ซิตี้ / 18 – 2
24. คัลลั่ม วิลสัน / 30 / นิวคาสเซิ่ล / 4 – 1
25. เจมส์ แมดดิสัน / 26 / เลสเตอร์ / 1 – 0

หลุดโผ
ดีน เฮนเดอร์สัน (ฟอเรสต์), เบน ชิลเวลล์ (เชลซี), รีซ เจมส์ (เชลซี), ฟิคาโย่ โทโมรี่ (มิลาน), เจมส์ จัสติน (เลสเตอร์), ไทโรน มิงส์ (วิลล่า), ไคล์ วอล์คเกอร์-ปีเตอร์ส (เซาธ์แฮมป์ตัน), แอชลี่ย์ ยัง (วิลล่า), ไรอัน แซสเซยง (สเปอร์ส), ติโน่ ลอฟราเมนโต้ (เซาธ์แฮมป์ตัน), ทาริค แลมป์ตี้ย์ (ไบรท์ตัน), เคอร์ติส โจนส์ (ลิเวอร์พูล), เจมส์ วอร์ด-เพราส์ (เซาธ์แฮมป์ตัน), เอมิล สมิธ โรว์ (อาร์เซน่อล), โอลิเวอร์ สคิปป์ (สเปอร์ส), แฮร์รี่ วิงค์ส (ซามพ์โดเรีย), ฮาร์วี่ย์ เอลเลียตต์ (ลิเวอร์พูล), แอนโธนี่ กอร์ดอน (เอฟเวอร์ตัน), แทมมี่ อบราแฮม (โรม่า), จาร์ร็อด โบเว่น (เวสต์แฮม), ไอแวน โทนี่ย์ (เบรนท์ฟอร์ด), โอลลี่ วัตกิ้นส์ (วิลล่า), แดนนี่ เวลเบ็ค (ไบรท์ตัน), เมสัน กรีนวู้ด (แมนฯ ยูไนเต็ด)

 

 

 

ฟ้าขาว อาร์เจนติน่า ชุดนี้…ถึงแชมป์โลก???
ทั้งเอไอ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์, โปรแกรมซิมูเลชั่นของเกมฟีฟ่า หรือการคาดหมายของหลากหลายกูรู ต่างก็ได้บทสรุปเดียวกันคือ แชมป์โลกประจำปีนี้ ได้แก่ ทีมชาติเมสซี่-เอ๊ย-ทีมชาติอาร์เจนติน่า ในการดูแลของ ลิโอเนล สคาโลนี่

 

ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเมื่อมีความคาดหวังสูงขนาดนี้ เมสซี่ และพลพรรคฟ้าขาว จะสามารถนำโทรฟี่แชมป์โลกมาเสิร์ฟได้หรือไม่ เมื่ออย่างที่เราเห็นกันมาตลอดหลายสิบปี (จากแชมป์โลกหนสุดท้าย 1986) ว่าพวกเขามักไม่ “ขาด” ก็ “ล้นเกิน” ในบางอย่างหรือบางจุด จนไม่ประสบความสำเร็จซ้ำรอยยุค ดีเอโก้ มาราโดน่า ได้อีกเลย

 

แต่กระนั้น อาร์เจนติน่า ชุดนี้ ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าพวกเขาเป็น “ของจริง” กำลังอยู่ในการต่อยอดสถิติไร้พ่ายให้มากขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งขุมกำลังที่ สคาโลนี่ เลือกมา ก็ดูจะไม่ได้ขาดอะไรไปนัก มีแค่ โจวานี่ โล เซลโซ่ มิดฟิลด์บียาร์เรอัล ที่เป็นแกนหลักแดนกลางในรอบคัดเลือก ซึ่งต้องถอนตัวไปเนื่องจากบาดเจ็บ กับเด็กใหม่มาแรงอย่าง อเลฮานโดร การ์นาโช่ ของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่ยังไม่ถูกเรียกตัว ทว่าอันที่จริงก็ไม่เคยติดธงมาก่อนแต่อย่างใด

 

โผ 26 แข้งอาร์เจนติน่า ชุดลุยฟุตบอลโลก
ผู้รักษาประตู
เอมิเลียโน่ มาร์ติเนซ / 30 / วิลล่า / 18
ฟรังโก้ อาร์มานี่ / 36 / ริเวอร์เพลท / 18
เคโรนิโม่ รุลลี่ / 30 / บียาร์เรอัล / 4

กองหลัง
นิโกลัส โอตาเมนดี้ / 34 / เบนฟิก้า / 92 – 4
มาร์กอส อคุนย่า / 31 / เซบีย่า / 42 – 0
นิโกลัส ตายาฟิโก้ / 30 / ลียง / 42 – 0
เคร์มัน เปซเซลล่า / 31 / เรอัล เบติส / 31 – 2
นาอูเอล โมลิน่า / 24 / แอตฯ มาดริด / 19 – 0
กอนซาโล่ มอนเทียล / 25 / เซบีย่า / 17 – 0
ฮวน ฟอยธ์ / 24 / บียาร์เรอัล / 15 – 0
คริสเตียน โรเมโร่ / 24 / สเปอร์ส / 12 – 1
ลิซานโดร มาร์ติเนซ / 24 / แมนฯ ยูไนเต็ด / 9 – 0

กองกลาง
เลอันโดร ปาเรเดส / 28 / ยูเวนตุส / 45 – 4
โรดริโก้ เด ปอล / 28 / แอตฯ มาดริด / 43 – 2
กีโด้ โรดริเกซ / 28 / เรอัล เบติส / 25 – 1
เอเซเกล ปาลาซิออส / 24 / เลเวอร์คูเซ่น / 20 – 0
อเลฮานโดร โกเมซ / 34 / เซบีย่า / 15 – 3
อเล็กซิส แม็ค อัลลิสเตอร์ / 23 / ไบรท์ตัน / 7 – 0
เอ็นโซ่ เฟร์นันเดซ / 21 / เบนฟิก้า / 2 – 0

กองหน้า
ลิโอเนล เมสซี่ (กัปตันทีม) / 35 / เปแอสเช / 164 – 90
อังเคล ดิ มาเรีย / 34 / ยูเวนตุส / 123 – 25
เลาตาโร่ มาร์ติเนซ / 25 / อินเตอร์ / 40 – 21
เปาโล ดีบาล่า / 29 / โรม่า / 34 – 3
นิโกลัส กอนซาเลซ / 24 / ฟิออเรนติน่า / 21 – 3
ฮัวกิน กอร์เรอา / 28 / อินเตอร์ / 18 – 3
ฮูเลี่ยน อัลวาเรซ / 22 / แมนฯ ซิตี้ / 11 – 2

หลุดโผ
ฮวน มุสโซ่ (อตาลันต้า), ลูคัส มาร์ติเนซ (ฟิออเรนติน่า), มาร์กอส เซเนซี่ (บอร์นมัธ), โจวานี่ โล เซลโซ่ (บียาร์เรอัล), โรแบร์โต้ เปเรยร่า (อูดิเนเซ่), มักซิมิเลียโน่ เมซ่า (มอนเตอร์เรย์), ลูคัส โอคัมโปส (อาแจ็กซ์), เอมิเลียโน่ บูเอนเดีย (วิลล่า), มานูเอล ลันซินี่ (เวสต์แฮม), อังเคล กอร์เรอา (แอตฯ มาดริด), โจวานนี่ ซิเมโอเน่ (นาโปลี), อเลฮานโดร การ์นาโช่ (แมนฯ ยูไนเต็ด)

 

 

 

ตราไก่ ฝรั่งเศส กับหลายคำถามซึ่งต้องพิสูจน์
น่าสนใจ…น่าสนใจมากกับก้าวเดินของ ฝรั่งเศส ในฟุตบอลโลก 2022 งวดนี้ เมื่อมีอย่างน้อย 4-5 คำถามที่ ดิดิเย่ร์ เดส์ชองส์ และบรรดาแข้งตราไก่ จะต้องตอบให้ได้ เช่นว่า

 

1. อาถรรพ์แชมป์เก่า ทั้ง อิตาลี, สเปน, เยอรมนี ต่างเอาตัวไม่รอด เป็นแชมป์โลกมาแล้วก็ร่วงเพียงรอบแรกของทัวร์นาเมนต์ถัดมาทั้งหมด ฝรั่งเศสล่ะ จะเข้าทรงเดียวกันหรือเปล่า

 

2. ขุมกำลัง พร้อมจริงๆ ไหม เมื่อตัวเจ็บสำคัญ อดไปบอลโลกมีทั้ง เอ็นโกโล่ ก็องเต้, ปอล ป๊อกบา, โกร็องแต็ง โตลิสโซ่ และล่าสุดกับ เพรสแนล คิมเพ็มเบ้ เซนเตอร์แบ็กเปแอสเช ที่ต้องถอนตัวจากการศึกครั้งนี้ไป แถม คาริม เบนเซม่า กับ ราฟาแอล วาราน ที่่ต่างก็เป็นคีย์แมนในเกมรุกและรับ ยังบาดเจ็บติดพัน ไม่ได้ช่วย เรอัล มาดริด ตลอดสี่ซ้าห้าเกมหลังอีกต่างหาก

 

3. ความเปลี่ยนแปลง ที่มีค่อนข้างเยอะจากชุดแชมป์โลก จะส่งผลดีหรือเสีย อย่างน้อยแผงกลางทั้งแผง เปลี่ยนหมด หรือจากชุดลุยยูโร 2020 ก็มีแค่ อาเดรียง ราบิโอต์ คนเดียวที่หลงเหลือมาอยู่ในทีมชุดนี้

 

4. การต้องเจอทีมของแสลงอย่าง เดนมาร์ก อีกแล้ว หลังแพ้มาทั้งเหย้าเยือนใน ยูฟ่า เนชั่นส์ ลีก (1-2, 0-2) รอบปีที่ผ่านมา หากยังคงซ้ำแผลเก่า แพ้ทีมโคนมเป็นครั้งที่ 3 ติดกันขึ้นมา ก็มีสิทธิ์เป็นไปได้ทั้งร่วงรอบแรก หรือเข้ารอบด้วยการเป็นอันดับ 2 ไปเจอกระดูกชิ้นโตตั้งแต่รอบ 16 ทีม

 

5. ฟอร์มช่วงหลัง น่าเป็นห่วงใช่ย่อย ชนะเกม เนชั่นส์ ลีก แค่นัดเดียวเหนือ ออสเตรีย 2-0 นอกนั้นเสมอ 2 แพ้ 3 แม้ข้อดีคือการได้อยู่ในกลุ่มที่ไม่แข็งนัก อย่างน้อยน่าผ่าน ออสเตรเลีย กับ ตูนิเซีย ได้ แต่ก็อย่างที่ว่า ถ้าไปเจอของแข็งในรอบน็อกเอาต์แล้ว ก็เสียวว่า เอ็มบัปเป้ และชาวคณะ จะไปไม่เป็น

 

โผ 26 แข้งฝรั่งเศส ชุดลุยฟุตบอลโลก
ผู้รักษาประตู
อูโก้ โยริส / 35 / สเปอร์ส / 139
สตีฟ ม็องด็องด้า / 37 / แรนส์ / 34
อัลฟงส์ อเรโอล่า / 29 / เวสต์แฮม / 5

กองหลัง
ราฟาแอล วาราน / 29 / แมนฯ ยูไนเต็ด / 87 – 5
เบนชาแม็ง ปาวาร์ / 26 / บาเยิร์น / 46 – 2
ลูคัส เอร์นันเดซ / 26 / บาเยิร์น / 32 – 0
อักเซล ดิซาซี่ / 24 / โมนาโก / 0 – 0
ชูลส์ กุนเด้ / 24 / บาร์เซโลน่า / 12 – 0
เตโอ เอร์นันเดซ / 25 / มิลาน / 7 – 1
วิลเลี่ยม ซาลิบา / 21 / อาร์เซน่อล / 7 – 0
ดาโยต์ อูปาเมกาโน่ / 24 / บาเยิร์น / 7 – 1
อิบราฮิมา โกนาเต้ / 23 / ลิเวอร์พูล / 2 – 0

กองกลาง
อาเดรียง ราบิโอต์ / 27 / ยูเวนตุส / 29 – 2
ออเรเลียง ชูอาเมนี่ / 22 / เรอัล มาดริด / 14 – 1
มัตเตโอ เก็นดูซี่ / 23 / มาร์กเซย / 6 – 1
จอร์แดน เวเรตูต์ / 29 / มาร์กเซย / 5 – 0
เอดูอาร์โด้ กามาวินก้า / 20 / เรอัล มาดริด / 4 – 1
ยุสซูฟ โฟฟาน่า / 23 / โมนาโก / 2 – 0

กองหน้า
โอลิวิเย่ร์ ชิรูด์ / 36 / มิลาน / 114 – 49
อองตวน กรีซมันน์ / 31 / แอตฯ มาดริด / 110 – 42
คาริม เบนเซม่า / 34 / เรอัล มาดริด / 97 – 37
คีลิยัน เอ็มบัปเป้ / 23 / เปแอสเช / 59 – 28
คิงสลี่ย์ โกม็อง / 26 / บาเยิร์น / 40 – 5
อุสมัน เดมเบเล่ / 25 / บาร์เซโลน่า / 28 – 4
คริสตอฟเฟอร์ เอ็นคุนคู / 25 / แอร์เบ ไลป์ซิก / 8 – 0
มาร์คัส ตูราม / 25 / กลัดบัค / 4 – 0

หลุดโผ
ไมค์ เมนยอง (มิลาน), เบอนัวต์ คอสติล (โอแซร์), เพรสแนล คิมเพ็มเบ้ (เปแอสเช), แฟร์กล็องด์ เมนดี้ (เรอัล มาดริด), เบนชาแม็ง เมนดี้ (แมนฯ ซิตี้), โชนาต็อง เคลาส์ (มาร์กเซย), ลูก้าส์ ดีญ (วิลล่า), เกลม็องต์ ล็องเล่ต์ (สเปอร์ส), เคิร์ต ซูม่า (เวสต์แฮม), บูบาการ์ กามาร่า (วิลล่า), เอ็นโกโล่ ก็องเต้ (เชลซี), ปอล ป๊อกบา (ยูเวนตุส), สตีเว่น เอ็นซอนซี่ (อัล-รายยาน), โกร็องแต็ง โตลิสโซ่ (ลียง), แบลส มาตุยดี้ (อินเตอร์ ไมอามี่), นาบิล เฟคีร์ (เบติส), โตมัส เลอมาร์ (แอตฯ มาดริด), วิสซาม เบน เยแดร์ (โมนาโก), มุสซ่า ดิยาบี้ (เลเวอร์คูเซ่น)

 

 

 

อินทรีเหล็ก เยอรมนี จากแชมป์โลกสู่รอบแรก, จากรอบแรกสู่…
ภายหลังเข้ามาสานต่องานของ โยอัคคิม เลิฟ หลังจบยูโร 2020 แล้วนั้น ฮันซี่ ฟลิค ก็สร้างปรากฏการณ์ให้กับทัพอินทรีเหล็ก ด้วยการพาทีมชนะรวดถึง 7 นัดในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกหนนี้ จนเป็นทีมแรกของยุโรปที่การันตีเข้ารอบสุดท้าย

 

อย่างไรก็ตาม กับ ยูฟ่า เนชั่นส์ ลีก ในรอบปีที่ผ่านมา เยอรมนี ก็ถือว่าเสียรังวัดไปพอสมควร เมื่อกลับเอาชนะคู่แข่งได้แค่เกมเดียว (5-2 อิตาลี) นอกนั้นเสมอรัวๆ 4 เกม และแพ้พลิกล็อกคาบ้านต่อ ฮังการี หนึ่งนัด เรียกว่าพวกเขามุ่งหน้าสู่กาตาร์แบบที่ระดับความมั่นใจไม่ได้สูงมาก ทั้งยังต้องเสีย 2 คีย์แมนเกมรุกอย่าง มาร์โก รอยส์ จอมทัพดอร์ทมุนด์ กับ ติโม แวร์เนอร์ ดาวยิงแอร์เบ ไลป์ซิก ที่ล้มเจ็บอดไปบอลโลกทั้งคู่ด้วย

 

จึงเป็นสิ่งที่ต้องจับตา, เริ่มต้นตั้งแต่รอบแรกที่ต้องอยู่ในสายแข็งร่วมกับ สเปน-ญี่ปุ่น-คอสตาริกา, ว่าถัดจากการร่วงรอบแรกในทัวร์นาเมนต์ครั้งก่อนแล้ว อินทรีเหล็ก 2022 จะไปได้ไกลถึงไหน

 

โผ 26 แข้งเยอรมนี ชุดลุยฟุตบอลโลก 2022
ผู้รักษาประตู
1. มานูเอล นอยเออร์ / 36 / บาเยิร์น / 113
12. เควิน ทรัปป์ / 32 / แฟร้งค์เฟิร์ต / 6
22. มาร์ก-อันเดร แทร์ สเตเก้น / 30 / บาร์เซโลน่า / 30

กองหลัง
2. อันโตนิโอ รูดิเกอร์ / 29 / เรอัล มาดริด / 54 -2
3. ดาวิด เราม์ / 24 / แอร์เบ ไลป์ซิก / 11 – 0
4. มัทธีอัส กินเทอร์ / 28 / ไฟรบวร์ก / 46 – 2
5. ติโล เคห์เรอร์ / 26 / เวสต์แฮม / 22 – 0
15. นิคลาส ซูเล่ / 27 / ดอร์ทมุนด์ / 42 – 1
16. ลูคัส คลอสเตอร์มันน์ / 26 / แอร์เบ ไลป์ซิก / 18 – 0
20. คริสเตียน กุนเทอร์ / 29 / ไฟรบวร์ก / 6 – 0
23. นิโก้ ชล็อตเตอร์เบ็ค / 22 / ดอร์ทมุนด์ / 5 – 0
25. อาร์เมล เบลล่า-ค็อตชัป / 20 / เซาธ์แฮมป์ตัน / 1 – 0

กองกลาง
6. โยชัว คิมมิช / 27 / บาเยิร์น / 70 – 5
7. ไค ฮาแวร์ตซ์ / 23 / เชลซี / 30 – 10
8. เลออน โกเร็ตซ์ก้า / 27 / บาเยิร์น / 44 – 14
11. มาริโอ เกิทเซ่ / 30 / แฟร้งค์เฟิร์ต / 63 – 17
14. จามาล มูเซียล่า / 19 / บาเยิร์น / 17 – 1
17. ยูเลี่ยน บรันท์ / 26 / ดอร์ทมุนด์ / 38 – 3
18. โยนาส ฮอฟมันน์ / 30 / กลัดบัค / 16 – 4
21. อิลคาย กุนโดกัน / 32 / แมนฯ ซิตี้ / 62 – 16

กองหน้า
9. นิคลาส ฟุลล์ครุก / 29 / เบรเมน / 0 – 0
10. แซร์จ นาบรี้ / 27 / บาเยิร์น / 36 – 20
13. โธมัส มุลเลอร์ / 33 / บาเยิร์น / 118 – 44
19. เลรอย ซาเน่ / 26 / บาเยิร์น / 47 – 11
24. คาริม อเดเยมี่ / 20 / ดอร์ทมุนด์ / 4 – 1
26. ยุสซูฟา มูโกโก้ / 18 / ดอร์ทมุนด์ / 0 – 0

หลุดโผ
แบร์นด์ เลโน่ (ฟูแล่ม), มัตส์ ฮุมเมิลส์ (ดอร์ทมุนด์), เยโรม บัวเต็ง (ลียง), โรบิน โกเซนส์ (อินเตอร์), เบนจามิน เฮนริกส์ (แอร์เบ ไลป์ซิก), โยนาธาน ทาห์ (เลเวอร์คูเซ่น), โรบิน ค็อก (ลีดส์), มาร์โก รอยส์ (ดอร์ทมุนด์), ยูเลี่ยน ดรักซ์เลอร์ (เบนฟิก้า), ฟลอเรียน นอยเฮาส์ (กลัดบัค), ยูเลี่ยน ไวเกิ้ล (กลัดบัค), ติโม แวร์เนอร์ (แอร์เบ ไลป์ซิก), ลูคัส เอ็นเมช่า (โวล์ฟสบวร์ก)

 

 

 

กระทิงดุ สเปน ในระบบเผด็จการของ หลุยส์ เอ็นริเก้
หนึ่งคือทรัพยากรนักเตะดีๆ ของ สเปน มีเยอะมาก และอีกหนึ่งก็คือ หลุยส์ เอ็นริเก้ มีแนวทางและการตัดสินใจที่เข้มแข็งเด็ดเดี่ยวมาก ไม่สนกระแสสังคมใดๆ ทั้งสิ้น เราจึงได้เห็นแข้งสแปนิชตกขบวนอดไปฟุตบอลโลก 2022 อื้อซ่าตามรายชื่อด้านล่าง ชนิดไปรวมตัวเป็นอีกทีมได้ง่ายๆ

 

แต่ก็แน่นอนว่า การเลือกตัวแบบไม่ฟังเสียงใครของ เอ็นริเก้ ย่อมจะนำมาซึ่งความเสี่ยง ถ้าผลงานที่กาตาร์ไปได้สวย ก็รับเสียงปรบมือไป แต่ถ้าล้มเหลวขึ้นมา ไม่ต้องสงสัย… เละ

 

น่าสนใจมากเสียด้วยกับการที่ต้องอยู่ในกลุ่มแห่งความตาย เจองานหนักทุกนัดในรอบแรก ไล่ตั้งแต่กับ คอสตาริกา ไปต่อกับ เยอรมนี ปิดท้ายด้วยเกมกับ ญี่ปุ่น

 

กระทิงดุในระบบเผด็จการของ เอ็นริเก้ จะออกหัวออกก้อย เดี๋ยวรู้กัน — เริ่มตั้งแต่รอบแรกนี่เลย!

 

โผ 26 แข้งสเปน ชุดลุยฟุตบอลโลก 2022
ผู้รักษาประตู
อูไน ซิมอน / 25 / บิลเบา / 27
โรเบิร์ต ซานเชซ / 25 / ไบรท์ตัน / 1
ดาบิด ราย่า / 27 / เบรนท์ฟอร์ด / 1

กองหลัง
จอร์ดี้ อัลบา / 33 / บาร์เซโลน่า / 86 – 9
เซซ่าร์ อัซปิลิกวยต้า / 33 / เชลซี / 41 – 1
ดานี่ การ์บาฆัล / 30 / เรอัล มาดริด / 30 – 0
เปา ตอร์เรส / 25 / บียาร์เรอัล / 21 – 1
โฆเซ่ กาย่า / 27 / บาเลนเซีย / 18 – 3
เอริก การ์เซีย / 21 / บาร์เซโลน่า / 18 – 0
อายเมอริก ลาป๊อร์กต์ / 28 / แมนฯ ซิตี้ / 15 – 1
อูโก้ กียามอน / 22 / บาเลนเซีย / 3 – 1

กองกลาง
เซร์คิโอ บุสเก็ตส์ / 34 / บาร์เซโลน่า / 139 – 2
โกเก้ / 30 / แอตฯ มาดริด / 67 – 0
โรดรี้ / 26 / แมนฯ ซิตี้ / 34 – 1
มาร์กอส ยอเรนเต้ / 27 / แอตฯ มาดริด / 17 – 0
เปดรี้ / 19 / บาร์เซโลน่า / 14 – 0
กาบี / 18 / บาร์เซโลน่า / 12 – 1
คาร์ลอส โซเลร์ / 25 / เปแอสเช / 11 – 3

กองหน้า
อัลบาโร่ โมราต้า / 30 / แอตฯ มาดริด / 57 – 27
เฟร์ราน ตอร์เรส / 22 / บาร์เซโลน่า / 30 – 13
มาร์โก อเซนซิโอ / 26 / เรอัล มาดริด / 29 – 1
ปาโบล ซาราเบีย / 30 / เปแอสเช / 24 – 9
ดานี่ โอลโม่ / 24 / แอร์เบ ไลป์ซิก / 24 – 4
เยเรมี่ ปิโน่ / 20 / บียาร์เรอัล / 6 – 1
อันซู ฟาติ / 20 / บาร์เซโลน่า / 4 – 1
นิโก้ วิลเลี่ยมส์ / 20 / บิลเบา / 2 – 0

หลุดโผ
ดาบิด เด เคอา (แมนฯ ยูไนเต็ด), เกป้า อาร์ริซาบาลาก้า (เชลซี), เซร์คิโอ รามอส (เปแอสเช), อินยิโก้ มาร์ติเนซ (บิลเบา), ดีเอโก้ ยอเรนเต้ (ลีดส์), มาร์กอส อลอนโซ่ (บาร์เซโลน่า), อเลฆานโดร บัลเด้ (บาร์เซโลน่า), ติอาโก้ อัลกันตาร่า (ลิเวอร์พูล), เซร์จี้ โรเบร์โต้ (บาร์เซโลน่า), ซาอูล ญีเกซ (แอตฯ มาดริด), อิสโก้ (เซบีย่า), มิเกล เมริโน่ (โซเซียดัด), เซร์คิโอ กานาเลส (เบติส), แบรส เมนเดซ (โซเซียดัด), ปาโบล ฟอร์นัลส์ (เวสต์แฮม), บราฮิม ดิอาซ (มิลาน), โรดริโก้ โมเรโน่ (ลีดส์), มิเกล โอยาร์ซาบัล (โซเซียดัด), ยาโก้ อัสปาส (เซลต้า), เคราร์ด โมเรโน่ (บียาร์เรอัล), ราอูล เด โตมัส (ราโย บาเยกาโน่)

 

 

 

ปีศาจแดง เบลเยียม กับยุคทองหนสุดท้าย
อย่างที่ได้เอ่ยถึงไปแล้วใน คำให้การของ โรเบร์โต้ มาร์ติเนซ ว่า เบลเยียม ไปลุยฟุตบอลโลก 2022 ครั้งนี้ด้วยเดิมพันครั้งยิ่งใหญ่ กับการเป็น เวิลด์ คัพ หนสุดท้ายของยุคทอง เบลเจี้ยน โกลเด้น เจเนอเรชั่น เนื่องจากอีก 4 ปีข้างหน้า ยังไม่รู้ว่าพวก เควิน เดอ บรอยน์, เอแด็น อาซาร์, ติโบต์ กูร์กตัวส์, โรเมลู ลูกากู จะยังพร้อมรับใช้ชาติอยู่หรือไม่

 

รอบแรก ไม่น่าใช่ปัญหา แข็งหน่อยมี โครเอเชีย แต่ก็ยังแข็งไม่เท่าพวกเขา ส่วนอีกสองคู่แข่งอย่าง แคนาดา กับ โมร็อกโก ทิศทางออกไปในทางว่า จะชนะมากหรือชนะน้อย ดังนั้น คงต้องจับตาดูต่อในรอบน็อกเอาต์ ทีละแมตช์ ทีละก้าว

 

สำหรับขุมกำลังที่ มาร์ติเนซ เลือกมา ไม่ได้มีเซอร์ไพรส์อะไร แค่น่าเป็นห่วงที่ความฟิตของ โรเมลู ลูกากู ซึ่งได้เล่นให้ อินเตอร์ มิลาน ไปแค่ 5 นัดในซีซั่นนี้ รวมถึงการเรื้อสนามของ เอแด็น อาซาร์ ที่ช่วงหลังกลายเป็นตัวเลือกลำดับท้ายๆ ในแนวรุกเรอัล มาดริด ไปแล้ว จะส่งผลเสียมากน้อยประการใด

 

โผ 26 แข้งเบลเยียม ชุดลุยฟุตบอลโลก
ผู้รักษาประตู
ติโบต์ กูร์กตัวส์ / 30 / เรอัล มาดริด / 96
ซิมง มินโยเล่ต์ / 34 / คลับ บรูช / 35
โคเอน คาสตีลส์ / 30 / โวล์ฟสบวร์ก / 4

กองหลัง
ยาน แฟร์ตองเก้น / 35 / อันเดอร์เลทช์ / 141 – 9
โทบี้ อัลเดอร์ไวเรลด์ / 33 / อันท์เวิร์ป / 123 – 5
โธมัส มูนิเยร์ / 31 / ดอร์ทมุนด์ / 58 – 8
ทิโมธี คาสตันเย่ / 26 / เลสเตอร์ / 25 – 2
อาร์เธอร์ เธียเต้ / 22 / แรนส์ / 3 – 0
เซโน่ เดบาสต์ / 19 / อันเดอร์เลทช์ / 2 – 0
วู้ท ฟาเอส / 24 / เลสเตอร์ / 1 – 0

กองกลาง
อักเซล วิตเซล / 33 / แอตฯ มาดริด / 126 – 12
เควิน เดอ บรอยน์ / 31 / แมนฯ ซิตี้ / 93 – 25
ยานนิค การ์รัสโก้ / 29 / แอตฯ มาดริด / 59 – 8
ยูรี่ ตีเลอมันส์ / 25 / เลสเตอร์ / 54 – 5
เลอันเดอร์ เดนดองเคอร์ / 27 / วิลล่า / 29 – 1
ฮานส์ ฟานาเก้น / 30 / คลับ บรูช / 22 – 5
เลอันโดร ทรอสซาร์ / 27 / ไบรท์ตัน / 21 – 5
ชาร์ลส์ เด คาตาแลร์ / 21 / มิลาน / 10 – 1
อมาดู โอนาน่า / 21 / เอฟเวอร์ตัน / 2 – 0

กองหน้า
เอแด็น อาซาร์ / 31 / เรอัล มาดริด / 122 – 33
ดรีส เมอร์เท่นส์ / 35 / กาลาตาซาราย / 106 – 21
โรเมลู ลูกากู / 29 / อินเตอร์ / 102 – 68
มิชี่ บัตชูอายี่ / 29 / เฟเนร์บาห์เช่ / 47 – 26
ธอร์แกน อาซาร์ / 29 / ดอร์ทมุนด์ / 45 – 9
เยเรมี่ โดกู / 20 / แรนส์ / 10 – 2
โลอิส โอเพ็นด้า / 22 / ล็องส์ / 4 – 1

หลุดโผ
มัตซ์ เซลส์ (สตราส์บูร์ก), เจสัน เดนาเยอร์ (ชาบับ อัล-อาห์ลี), เดดริค โบยาต้า (คลับ บรูช), โธมัส โฟเก็ต (แร็งส์), อเล็กซิส แซเลแมเกอร์ส (มิลาน), เดนนิส ปราเอ้ต์ (เลสเตอร์), อัลแบร์ แซมบี้ โลกอนก้า (อาร์เซน่อล), นาเซอร์ ชาดลี่ (เวสเตอร์โล), คริสเตียน เบนเตเก้ (ดีซี ยูไนเต็ด), ดิว็อค โอริกี้ (มิลาน), อัดนาน ยานาไซ (เซบีย่า)

 

 

 

โปรตุเกส กับบอลโลกครั้งสั่งลา CR7
สั่นสะเทือนวงการดีเหลือเกินกับการทิ้งระเบิดลูกนาปาล์มเดธของ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ใส่ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ผ่านการให้สัมภาษณ์กับช่องทีวีของอังกฤษ เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

แต่ประเด็นสำคัญที่ต้องเน้นตอนนี้ คือเรื่อง ฟุตบอลโลก 2022 การช่วยชาติไปให้ถึงฝั่งฝัน — ที่น่าจะเป็นฟุตบอลโลกหนสุดท้ายของชายวัยย่าง 38 อย่าง โรนัลโด้ ด้วย

 

ว่ากันตามตรง ชื่อนักเตะชุดลุยกาตาร์ของ แฟร์นันโด ซานโตส แข็งแกร่งน่าเกรงขามไม่เบา ดูหนั่นแน่นตั้งแต่หลังสุดมาหน้าสุด โดยเฉพาะเกมรุกที่เลือกลำบากเลย เมื่อคงต้องกันโควตาหนึ่งที่ไว้ให้ โรนัลโด้ ส่วนที่เหลือ อันเดร ซิลวา (แอร์เบ ไลป์ซิก), ชูเอา เฟลิกซ์ (แอตเลติโก มาดริด), ราฟาแอล เลเอา (เอซี มิลาน) ไปแย่งกันเอา

 

แต่ก็ต้องว่ากันตามตรงเพิ่มอีกว่า โปรตุเกส มีสิทธิ์จะแข็งขึ้นกว่านี้อีก ถ้าบรรดาตัวที่หลุดไปอย่าง มาริโอ รุย, เซดริก โซอาเรส, เนลซอน เซเมโด้, ชูเอา มูตินโญ่, เรนาโต้ ซานเชส, เปโดร เนโต้, กอนซาโล่ เกเดส ไม่นับ ดีโอโก้ โชต้า (บาดเจ็บ) ถูกหอบหิ้วไปกาตาร์ด้วย

 

แน่นอน ก็คงต้องตามดูกันว่า การตัดสินใจของ แฟร์นันโด ซานโตส ในการเลือกจิ้มขุมกำลังมาแบบนี้ จะปรากฏผลในท้ายที่สุดว่าอย่างไร

 

โผ 26 แข้งโปรตุเกส ชุดลุยฟุตบอลโลก 2022
ผู้รักษาประตู
รุย ปาตริซิโอ / 34 / โรม่า / 104
ดีโอโก้ คอสต้า / 23 / ปอร์โต้ / 7
โชเซ่ ซา / 29 / วูล์ฟส์ / 0

กองหลัง
เปเป้ / 39 / ปอร์โต้ / 128 – 7
ดานิโล เปเรยร่า / 31 / เปแอสเช / 63 – 2
ราฟาแอล เกร์เรยโร่ / 28 / ดอร์ทมุนด์ / 56 – 3
รูเบน ดิอาส / 25 / แมนฯ ซิตี้ / 39 – 2
ชูเอา กันเซโล่ / 28 / แมนฯ ซิตี้ / 37 -7
นูโน่ เมนเดส / 20 / เปแอสเช / 16 – 0
ดีโอโก้ ดาโล่ต์ / 23 / แมนฯ ยูไนเต็ด / 6 – 2
อันโตนิโอ ซิลวา / 19 / เบนฟิก้า / 0 – 0

กองกลาง
วิลเลี่ยม คาร์วัลโญ่ / 30 / เบติส / 75 – 5
แบร์นาร์โด้ ซิลวา / 28 / แมนฯ ซิตี้ / 72 – 8
ชูเอา มาริโอ / 29 / เบนฟิก้า / 52 – 2
บรูโน่ แฟร์นันเดส / 28 / แมนฯ ยูไนเต็ด / 48 – 9
รูเบน เนเวส / 25 / วูล์ฟส์ / 32 – 0
ชูเอา ปาลินญ่า / 27 / ฟูแล่ม / 15 – 2
มาเตอุส นูเนส / 24 / วูล์ฟส์ / 9 – 1
โอตาวิโอ / 27 / ปอร์โต้ / 7 – 2
วิตินญ่า / 22 / เปแอสเช / 4 – 0

กองหน้า
คริสเตียโน่ โรนัลโด้ / 37 / แมนฯ ยูไนเต็ด / 191 – 117
อันเดร ซิลวา / 27 / แอร์เบ ไลป์ซิก / 51 – 19
ชูเอา เฟลิกซ์ / 23 / แอตฯ มาดริด / 23 – 3
ราฟาแอล เลเอา / 23 / มิลาน / 11 – 0
ริคาร์โด้ ออร์ต้า / 28 / บราก้า / 5 – 1
กอนซาโล่ รามอส / 21 / เบนฟิก้า / 0 – 0

หลุดโผ
อันโธนี่ โลเปส (ลียง), รุย ซิลวา (เบติส), มาริโอ รุย (นาโปลี), โดมิงกอส ดูอาร์เต้ (เคตาเฟ่), โชเซ่ ฟอนเต้ (ลีลล์), เซดริก โซอาเรส (อาร์เซน่อล), เนลซอน เซเมโด้ (วูล์ฟส์), ชูเอา มูตินโญ่ (วูล์ฟส์), เรนาโต้ ซานเชส (เปแอสเช), ดีโอโก้ โชต้า (ลิเวอร์พูล), เปโดร เนโต้ (วูล์ฟส์), กอนซาโล่ เกเดส (วูล์ฟส์), ฟรานซิสโก้ ตรินเกา (สปอร์ติ้ง)

 

 

 

ไกด์เถื่อน

 

 

 

อ้างอิง
WIKIPEDIA

ภาพประกอบ
Olympics

 

 

เรื่องน่าอ่าน
• บราซิลลิ่วแชมป์โลก…? : โผ 26 แข้งลุยฟุตบอลโลก 2022
• และแชมป์ฟุตบอลโลก 2022 ก็ได้แก่… ทำนายผลบอลโลกด้วย AI
• เจ็บขนาดนี้…คงจะไม่ไหว : สตาร์รายใดอดไปฟุตบอลโลก 2022 บ้างแล้ว?

ทีมชาติโปรตุเกส โผรายชื่อนักเตะ ลุยฟุตบอลโลก 2022

ทีมชาติโปรตุเกส โผรายชื่อนักเตะ ลุยฟุตบอลโลก 2022

คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ทีมชาติโปรตุเกส นำทีมบุกบอลโลก

แบกความหวังชิ้นโตหอบใส่กระเป๋า นำมาโดย คริสเตียโน่ โรนัลโด้ เจ้าเก่าที่คงจะเล่นฟุตบอลโลกเป็นครั้งสุดท้าย แต่คำถามสำคัญก็คือ โปรตุเกส จะไปได้ไกลขนาดไหน ที่กาตาร์…

 

ก่อนจะไปลงลึกถึงรายละเอียดและประเด็นที่เกี่ยวข้อง ก็ดูกันเลยกับโผ 55 นักเตะเบื้องต้น preliminary squad ทีมชาติโปรตุเกส ชุดลุยฟุตบอลโลก 2022 ของกุนซือ แฟร์นันโด ซานโตส ที่เปิดเผยออกมาเมื่อ 23 ตุลาคม ก่อนที่พวกเขาจะตัดตัวให้เหลือไม่เกิน 26 คนสุดท้าย final squad เพื่อส่งรายชื่อให้กับ ฟีฟ่า ภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน

 

รายชื่อนักเตะทีมชาติโปรตุเกส ชุดเบื้องต้นก่อนตัดตัวไปฟุตบอลโลก 2022
ผู้รักษาประตู
รุย ปาตริซิโอ / อายุ 34 / โรม่า / เล่นทีมชาติ 104 นัด
อันโธนี่ โลเปส / 32 / ลียง / 14
ดีโอโก้ คอสต้า / 23 / ปอร์โต้ / 7
รุย ซิลวา / 28 / เบติส / 1
โชเซ่ ซา / 29 / วูล์ฟแฮมป์ตัน / 0

 

กองหลัง
เปเป้ / 39 / ปอร์โต้ / เล่นทีมชาติ 128 นัด ยิง 7 ประตู
ดานิโล่ เปเรยร่า / 31 / เปแอสเช / 63 – 2
ราฟาแอล เกร์เรยโร่ / 28 / ดอร์ทมุนด์ / 56 – 3
โชเซ่ ฟอนเต้ / 38 / ลีลล์ / 50 – 1
รูเบน ดิอาส / 25 / แมนเชสเตอร์ ซิตี้ / 39 – 2
ชูเอา กันเซโล่ / 28 / แมนเชสเตอร์ ซิตี้ / 37 – 7
เซดริก โซอาเรส / 31 / อาร์เซน่อล / 34 – 1
เนลซอน เซเมโด้ / 28 / วูล์ฟแฮมป์ตัน / 24 – 0
นูโน่ เมนเดส / 20 / เปแอสเช / 16 – 0
มาริโอ รุย / 31 / นาโปลี / 12 – 0
ดีโอโก้ ดาโล่ต์ / 23 / แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด / 6 – 2
โดมิงกอส ดูอาร์เต้ / 27 / เคตาเฟ่ / 3 – 0
ฟาบิโอ การ์โดโซ่ / 28 / ปอร์โต้ / 0 – 0
ดาวิด การ์โม่ / 23 / ปอร์โต้ / 0 – 0
เธียร์รี่ กอร์เรอา / 23 / บาเลนเซีย / 0 – 0
ติอาโก้ ชาโล่ / 22 / ลีลล์ / 0 – 0
กอนซาโล่ อินาซิโอ / 21 / สปอร์ติ้ง / 0 – 0
ดีโอโก้ เลอิเต้ / 23 / อูนิโอน เบอร์ลิน / 0 – 0
นูโน่ ซานโตส / 27 / สปอร์ติ้ง / 0 – 0
อันโตนิโอ ซิลวา / 18 / เบนฟิก้า / 0 – 0
นูโน่ ตาวาเรส / 22 / มาร์กเซย / 0 – 0

 

กองกลาง
ชูเอา มูตินโญ่ / 36 / วูล์ฟแฮมป์ตัน / 146 – 7
วิลเลี่ยม คาร์วัลโญ่ / 30 / เบติส / 75 – 5
แบร์นาร์โด้ ซิลวา / 28 / แมนเชสเตอร์ ซิตี้ / 72 – 8
ชูเอา มาริโอ / 29 / เบนฟิก้า / 52 – 2
บรูโน่ แฟร์นันเดส / 28 / แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด / 48 – 9
เรนาโต้ ซานเชส / 25 / เปแอสเช / 32 – 3
รูเบน เนเวส / 25 / วูล์ฟแฮมป์ตัน / 32 – 0
ชูเอา ปาลินญ่า / 27 / ฟูแล่ม / 15 – 2
แซร์โจ้ โอลิเวียร่า / 30 / กาลาตาซาราย / 13 – 0
มาเตอุส นูเนส / 24 / วูล์ฟแฮมป์ตัน / 9 – 1
โอตาวิโอ / 27 / ปอร์โต้ / 7 – 2
วิตินญ่า / 22 / เปแอสเช / 4 – 0
ฟาบิโอ คาร์วัลโญ่ / 20 / ลิเวอร์พูล / 0 – 0
ฟลอเรนติโน่ หลุยส์ / 23 / เบนฟิก้า / 0 – 0
ฟาบิโอ วิเอร่า / 22 / อาร์เซน่อล / 0 – 0

 

กองหน้า
คริสเตียโน่ โรนัลโด้ / 37 / แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด / 191 – 117
อันเดร ซิลวา / 26 / แอร์เบ ไลป์ซิก / 51 – 19
กอนซาโล่ เกเดส / 25 / วูล์ฟแฮมป์ตัน / 32 – 7
ชูเอา เฟลิกซ์ / 22 / แอตเลติโก มาดริด / 23 – 3
ราฟาเอล เลเอา / 23 / เอซี มิลาน / 11 – 0
ฟรานซิสโก้ ตรินเกา / 22 / สปอร์ติ้ง / 7 – 0
ริคาร์โด้ ฮอร์ต้า / 28 / บราก้า / 5 – 1
เปาลินโญ่ / 29 / สปอร์ติ้ง / 3 – 2
เปโดร กอนซัลเวส / 24 / สปอร์ติ้ง / 2 – 0
ดาเนี่ยล โปเดนเซ่ / 27 / วูล์ฟแฮมป์ตัน / 1 – 0
เบโต้ / 24 / อูดิเนเซ่ / 0 – 0
โชต้า / 23 / เซลติก / 0 – 0
กอนซาโล่ รามอส / 21 / เบนฟิก้า / 0 – 0
วิตินญ่า / 22 / บราก้า / 0 – 0

 

• ภายหลังผ่าน “ยุคมืด” ที่ตกรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกแบบรัวๆ 3 ครั้งซ้อนระหว่างปี 1990-1998 (ทั้งที่ก็มียอดแข้งอย่าง หลุยส์ ฟิโก้, รุย คอสต้า, เจา ปินโต้, แฟร์นันโด เคาโต้, แซร์โจ้ คอนไซเซา, เปาโล ซูซ่า, วิเตอร์ บาย่า ฯลฯ ในทีม) โปรตุเกส ก็พลิกกระดานได้สำเร็จ เข้ารอบสุดท้ายบอลโลกหนนี้เป็นครั้งที่ 6 ติดต่อกัน

 

• อย่างไรก็ตาม โปรตุเกส ไม่เคยไปถึงแชมป์โลกมาก่อน ผลงานดีสุดยังคงเป็นในฟุตบอลโลก 1966 ที่แดนผู้ดี ซึ่งตำนานอย่าง ยูเซบิโอ พาทีมฝอยทองผยองเดชยึดอันดับ 3

 

• จากนั้นรองลงมาคือเป็นอันดับ 4 ฟุตบอลโลก 2006 อันเป็นการเล่นบอลโลกสมัยแรกของ คริสเตียโน่ โรนัลโด้

 

• จากวันนั้นจนถึงวันนี้ หากไม่เกิดดวงแตกบาดเจ็บในเดือนสุดท้ายก่อน “กาตาร์ 2022” มาถึง โรนัลโด้ ก็จะได้เล่นฟุตบอลโลกเป็นสมัยที่ 5 อันเป็นสถิติสูงสุดตลอดกาลเทียบเท่า อันโตนิโอ การ์บาฮัล (เม็กซิโก), โลธ่าร์ มัทเธอุส (เยอรมนี), ราฟาเอล มาร์เกซ (เม็กซิโก) และรวมถึง ลิโอเนล เมสซี่ คนดีคนเดิมของอาร์เจนติน่า

 

• สมัยที่ 5 และก็น่าจะเป็นสมัยสุดท้ายของ โรนัลโด้ ในวัย 37

 

ทีมชาติโปรตุเกส โผรายชื่อนักเตะ ลุยฟุตบอลโลก 2022• ซึ่งก็แน่นอนว่า แฟร์นันโด ซานโตส ยังคงมี โรนัลโด้ เป็นคีย์แมนแดนหน้าอยู่ในชุดนี้ แม้ผลงานกับ แมนฯ ยูไนเต็ด จะค่อนข้างดร็อปในซีซั่นนี้ (ลง 12 ยิง 2) ก็ตาม

 

• โรนัลโด้ จะไม่ถูกคัดทิ้งแน่ เช่นเดียวกับตัวประสบการณ์สูงอย่าง อันเดร ซิลวา, กอนซาโล่ เกเดส หรือ ชูเอา เฟลิกซ์ ไปจนถึง ราฟาเอล เลเอา ที่สร้างชื่อกับ เอซี มิลาน ได้อย่างน่าจับตาตลอดปีหลังๆ แม้จะเพิ่งได้โอกาสรับใช้ทีมชาติไปเพียง 11 เกมก็ตาม

 

• แต่นอกจากกลุ่มข้างต้น บรรดารายชื่อกองหน้าที่เรียกมาในชุดเบื้องต้น รวมถึง 14 ราย อาจมีมากถึงครึ่งที่ถูกคัดทิ้ง โดยเฉพาะพวกดาวรุ่งไม่เคยติดธงมาก่อนเลยอย่าง เบโต้ (24), โชต้า (23), กอนซาโล่ รามอส (21) หรือ วิตินญ่า (22)

 

ทีมชาติโปรตุเกส โผรายชื่อนักเตะ ลุยฟุตบอลโลก 2022• ในราย โชต้า นับเป็นข่าวฮือฮาเล็กๆ ในสื่ออังกฤษ เมื่อ “Jota Out / Jota In” ดีโอโก้ โชต้า กองหน้าลิเวอร์พูล (เล่นทีมชาติ 29 นัด 10 ประตู) เจ็บหนักพักยาว อดไปช่วย โปรตุเกส เตะบอลโลกหนนี้เรียบร้อยแล้ว แต่ยังมี ชูเอา เปโดร เนเวส ฟิลิเป้ “โชต้า” ปีกเด็กจาก กลาสโกว์ เซลติก ติดอยู่ในชุดเบื้องต้น ภายหลังยิง 18 ประตูให้ทีมม้าลายเขียวขาว ในระยะหนึ่งซีซั่นครึ่ง

 

• ที่จะถูกคัดทิ้งอีกเพียบเป็นสิบคนคือกลุ่มกองหลัง ที่ แฟร์นันโด ซานโตส เรียกไปอยู่ในชุดเบื้องต้นถึง 21 ราย โดยมี 9 คนในนั้นไม่เคยผ่านประสบการณ์ทีมชาติมาก่อนเลย แต่ก็พอจะคาดเดาได้ว่าที่สุดแล้ว ตัวเก๋าๆ ก็ได้ไปกันหมด นำมาโดย เปเป้ ป.ประมุข ที่ปาเข้าไป 39 แล้วยังเตะปากกองหน้าคู่แข่งได้อยู่ เช่นเดียวกับ โชเซ่ ฟอนเต้ ในวัย 38 ที่ก็ยังมีที่ทางในทีมชาติ นอกนั้นตัวดังๆ อย่าง รูเบน ดิอาส, ชูเอา กันเซโล่, ดีโอโก้ ดาโล่ต์, ดานิโล่ เปเรยร่า, มาริโอ รุย ก็จะไม่พลาดแน่

 

ทีมชาติโปรตุเกส โผรายชื่อนักเตะ ลุยฟุตบอลโลก 2022• เด็กสุดในชุดเบื้องต้นนี้ เป็น อันโตนิโอ ซิลวา เซนเตอร์แบ็กวัยเพียง 18 จากเบนฟิก้า ที่เพิ่งขึ้นชุดใหญ่ในซีซั่นนี้ แต่มีค่าฉีกสัญญาสูงถึง 100 ล้านยูโร และถูกคาดหมายว่าจะเป็นแกนหลักของ โปรตุเกส ในระยะยาว

 

• สำหรับกลุ่มกองกลางโปรตุเกส ก็เป็นชุดเดิมๆ อย่าง แบร์นาร์โด้ ซิลวา, บรูโน่ แฟร์นันเดส, ชูเอา มูตินโญ่, รูเบน เนเวส, เรนาโต้ ซานเชส ที่จะได้ไปชัวร์ แต่หนึ่งในจุดที่น่าสนใจคือ มาเตอุส นูเนส ดาวเตะรูปหล่อขวัญใจคนไทย เจ้าของค่าตัวสถิติสโมสรวูล์ฟแฮมป์ตัน วันเดอเรอร์ส 38 ล้านปอนด์ ยังไม่มีการันตีว่าจะได้ไปฟุตบอลโลกแน่ๆ ภายหลังเพิ่งติดธงไปแค่ 9 นัด และฟอร์มกับทัพหมาป่าหลังย้ายมา ก็ยังไม่น่าประทับใจนัก

 

• ส่วนทาง ฟาบิโอ คาร์วัลโญ่ เจ้าหนูวัย 20 จากลิเวอร์พูล แม้จะไม่เคยติดธงมาก่อน แต่คาดว่ามีโอกาสได้ไปสูง หลังลงเล่นสม่ำเสมอกับหงส์แดงในตลอดช่วงที่ผ่านมา

 

• ย้ำอีกทีว่าจากชุดเบื้องต้น 55 คน แฟร์นันโด ซานโตส จะตัดเหลือชุดสุดท้ายไม่เกิน 26 คน ภายใน 10 พ.ย.

 

• ทั้งนี้ โปรตุเกส อยู่ในกลุ่มเอช ร่วมกับของแข็งจากต่างทวีปทั้งสิ้น โดยมีคิวเตะดังนี้
24/11 โปรตุเกส – กาน่า
28/11 โปรตุเกส – อุรุกวัย
02/12 เกาหลีใต้ – โปรตุเกส

 

• ด้วยความที่อยู่ในกลุ่มแข็งพอตัว และไม่เคยเป็นแชมป์โลกมาก่อน ทำให้ โปรตุเกส ไม่ถูกมองว่ามีภาษีดีนักในการผงาดแชมป์สมัยแรกที่กาตาร์ เวลานี้เป็นตัวเต็งลำดับที่ 8-9 เท่านั้น ในราคาประมาณ 15/1 หรือ 16/1

 

• ยิ่งไปกว่านั้น ฟอร์มการเล่นช่วงเดือนหลังๆ ที่วูบลงไป มีหลุดแพ้ทั้ง สวิตเซอร์แลนด์ 0-1 และแพ้ สเปน สกอร์เดียวกันใน ยูฟ่า เนชั่นส์ ลีก ก็ทำให้เป็นงานหนักอึ้งของ โรนัลโด้ และชาวคณะฝอยทอง ไม่น้อยเลย สำหรับความหวังสูงสุดในการผงาดบัลลังก์แชมป์โลกสมัยแรก ภายหลังครองแชมป์ทวีปยุโรป ยูโร 2016 สำเร็จมาแล้วในยุคสมัยของ CR7.

 

 

ไกด์เถื่อน

 

 

อ้างอิง
WIKIPEDIA
Oddschecker

ภาพประกอบ
AP
Nike
Glasgow Live
FootballTransfers