เรื่อง

โมร็อกโก vs โปรตุเกส : ตัวต่อตัว 8 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022

โมร็อกโก vs โปรตุเกส : ตัวต่อตัว 8 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022

ฟุตบอลโลก 2022 รอบน็อกเอาต์ 8 ทีมสุดท้าย : โมร็อกโก vs โปรตุเกส
เสาร์ 10 ธันวาคม 2565, 22.00 น.
สนาม : อัล ธูมาม่า สเตเดี้ยม, โดฮา
ถ่ายทอดสด : True4U

 

ผลการพบกัน : 2 นัด
ฟุตบอลโลก 1986 โมร็อกโก ชนะ 3-1
ฟุตบอลโลก 2018 โปรตุเกส ชนะ 1-0

 

ผลงานในฟุตบอลโลก 2022
โมร็อกโก
รอบแบ่งกลุ่ม เสมอ โครเอเชีย 0-0
รอบแบ่งกลุ่ม ชนะ เบลเยียม 2-0
รอบแบ่งกลุ่ม ชนะ แคนาดา 2-1
รอบ 16 ทีม เสมอ สเปน 0-0, ชนะจุดโทษ 3-0

โปรตุเกส
รอบแบ่งกลุ่ม ชนะ กาน่า 3-2
รอบแบ่งกลุ่ม ชนะ อุรุกวัย 2-0
รอบแบ่งกลุ่ม แพ้ เกาหลีใต้ 1-2
รอบ 16 ทีม ชนะ สวิตเซอร์แลนด์ 6-1

 

ความพร้อมก่อนเตะ
โมร็อกโก
ม้ามืดตัวจริงแห่งฟุตบอลโลก 2022 มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ตัวกุนซือ วาฮิด ฮาลิลฮ็อดซิช โดนเด้งไปเมื่อกลางปี หรือก่อนฟุตบอลโลกที่กาตาร์จะมาถึงแค่ไม่กี่เดือน โดยเป็น วาลิด เรกรากี อดีตนายใหญ่ อัล-ดูฮาอิล และ วีดัด คาซาบลังก้า มาเสียบแทน

 

แต่การเปลี่ยนโค้ชเหมือนเลือกหวยถูกใบ โมร็อกโก เกมแรกยันเสมอ โครเอเชีย 0-0 ต่อมาพลิกล็อกชนะ เบลเยียม 2-0 ตามด้วยตบ แคนาดา 2-1 จนเข้ารอบด้วยการเป็นแชมป์กลุ่ม

 

สำคัญคือในรอบน็อกเอาต์ 16 ทีมสุดท้าย ยันเสมอ สเปน 0-0 ใน 120 นาที ก่อนได้ ยาสซีน “โบโน่” บูนู เป็นฮีโร่ เซฟแล้วเซฟอีกจนชนะดวลเป้าแบบคลีนชีต 3-0

 

อย่างไรก็ตาม โมร็อกโก สะบักสะบอมไม่น้อยจากการศึกกับทัพกระทิงดุ จนต้องเสียกองหลังคนสำคัญ นาเยฟ อาแกร์ด เจ็บโคนขาหนีบ เกมนี้หมดสิทธิ์ลงสนาม พร้อมกับต้องเช็กฟิตกัปตันทีม โรแม็ง ซาอิสส์ ที่มีอาการบริเวณแฮมสตริง

 

ยังเชื่อว่า ซาอิสส์ จะกัดฟันลงเล่นแม้ไม่สมบูรณ์เต็มร้อย ไม่เช่นนั้น เรกรากี ต้องปรับคู่เซนเตอร์แบ็กพร้อมกันทั้งสองราย

 

ระบบคงเดิม 4-3-3 อัชราฟ ฮาคิมี่ ประจำการแบ็กขวา แนวรุก ฮาคิม ซีเย็ค กับ โซฟียาน บูฟาล ขนาบข้างหอกเป้า ยุสเซฟ เอ็น-เนซีรี่ เหมือนเช่นเคย

 

โปรตุเกส
แชมป์ยูโร 2016 ยังไม่เคยไปถึงแชมป์โลกมาก่อน รวมถึงว่าก็ยังไม่เคยเข้าชิงชนะเลิศได้ด้วย ดังนั้นจึงมุ่งมั่นเต็มที่ในการคว้าโทรฟี่อำลายุคสมัยของ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ และอีกหลายตัวเก๋าในทีม

 

และแม้เกมแรกของฟุตบอลโลก 2022 จะมีตำหนิพอสมควรกับการทุบ กาน่า 3-2 แต่ก็ยังสร้างความต่อเนื่องด้วยการตบ อุรุกวัย 2-0 จนสุดท้ายแม้จะแพ้ เกาหลีใต้ แต่ไม่ได้มากพอให้หลุดออกจากตำแหน่งแชมป์กลุ่ม ขณะที่รอบ 16 ทีมสุดท้าย ผ่าน สวิตเซอร์แลนด์ แบบยิงไม่ยั้ง 6-1

 

แฟร์นันโด ซานโตส ยังมีปัญหาตัวเจ็บคั่งค้างอยู่ 2 ราย คือ นูโน่ เมนเดส กับ ดานิโล่ เปเรยร่า ซึ่งเป็นกองหลังทั้งคู่ โดยรายแรกเจ็บหนักพักยาวหมดสิทธิ์เล่นฟุตบอลโลก 2022 แล้ว ส่วนรายหลังยังไม่พร้อมสำหรับเกมนี้ ต้องลุ้นให้ทีมไปต่อรอบหน้า

 

ซานโตส มีการปรับทัพสำคัญในรอบที่ผ่านมา ด้วยการดร็อป คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ซึ่งโรยราไปตามวัย ลงสู่ม้านั่งสำรอง เปิดทางให้ กอนซาโล่ รามอส ดาวรุ่งวัย 21 จากเบนฟิก้า ลงตัวจริงแทน และ รามอส ก็ตอบแทนด้วยการทำแฮตทริกในทันที

 

ดังนั้นการจัดทัพจึงจะไม่เปลี่ยน ในระบบ 4-3-3 ข้างหน้าขยับ บรูโน่ แฟร์นันเดส ขึ้นมาเล่นร่วมกับ กอนซาโล่ รามอส และ ชูเอา เฟลิกซ์ ขณะที่แนวรับ ท่านผู้เฒ่า เปเป้ วัยย่าง 40 จะลงยืนเซนเตอร์แบ็กคู่ รูเบน ดิอาส เช่นเดิม

 

ตัวความหวัง
โมร็อกโก : ฮาคิม ซีเย็ค & อัชราฟ ฮาคิมี่
ซีเย็ค เลิกเล่นทีมชาติไปช่วงหนึ่งเนื่องจากความขัดแย้งส่วนตัวกับโค้ชเก่า วาฮิด ฮาลิลฮอดซิช ซึ่งพอมีการเปลี่ยนเป็น วาลิด เรกรากี แล้วก็กลับสู่สารบบทีมชาติดังเดิม โดยแม้จะเจอปัญหาเข้าๆ ออกๆ จากทีมเชลซี แต่ก็คือตัวยืนของทีมชาติ มีผลงานยิง 19 ประตูจาก 47 เกม ด้าน ฮาคิมี่ พัฒนาตัวเองไปจนอยู่ในระดับแบ็กขวาตัวท็อปของวงการแล้ว พร้อมกับบางเสียงยกว่าเป็นเบอร์ 1 โลกยุคปัจจุบันด้วยซ้ำ โดยยิงไปแล้ว 8 ประตูใน 58 เกมทีมชาติ

 

โปรตุเกส : กอนซาโล่ รามอส
แม้จะยิง 1 ลูกในเกมลับแข้งกับ ไนจีเรีย (4-0) ก่อนบอลโลก แต่ก็น้อยคนนักที่จะรู้จักเด็กหนุ่มชื่อ กอนซาโล่ มาติอัส รามอส เมื่อนี่คือหัวหอกดาวรุ่งวัยเพียง 21 ที่ขึ้นชั้นมาเล่นกับ เบนฟิก้า ชุดใหญ่ เมื่อปี 2020 เป็นต้นมา และที่จริงก็เพิ่งระเบิดฟอร์มน่าประทับใจในช่วงครึ่งซีซั่นแรกที่ผ่านมานี้เอง ด้วยการยิง 14 ประตูจาก 21 นัด เป็นใบเบิกทางให้ แฟร์นันโด ซานโตส หิ้วมาฟุตบอลโลก 2022 และเพียงเกมแรกที่ลงตัวจริงก็กระหน่ำแฮตทริกใส่ สวิตเซอร์แลนด์ จนแฟนๆ แทบจะลืมไปแล้วว่ามี คริสเตียโน่ โรนัลโด้ อยู่ที่ม้านั่งสำรอง

 

11 ตัวจริงที่คาด
โมร็อกโก (4-3-3, กุนซือ วาลิด เรกรากี) ยาสซีน บูนู – นูสแซร์ มาซราอุย, จาวัด เอล ยามิก, โรแม็ง ซาอิสส์, อัชราฟ ฮาคิมี่ – อัซเซดีน อูนาฮี, โซฟียาน อัมราบัต, เซลิม อมัลลาห์ – ฮาคิม ซีเย็ค, โซฟียาน บูฟาล, ยุสเซฟ เอ็น-เนซีรี่
โปรตุเกส (4-3-3, กุนซือ แฟร์นันโด ซานโตส) ดีโอโก้ คอสต้า – ราฟาเอล เกร์เรยโร่, เปเป้, รูเบน ดิอาส, ดีโอโก้ ดาโล่ต์ – รูเบน เนเวส, วิลเลี่ยม คาร์วัลโญ่, แบร์นาร์โด้ ซิลวา – บรูโน่ แฟร์นันเดส, กอนซาโล่ รามอส, ชูเอา เฟลิกซ์

 

สถิติที่เกี่ยวข้อง
• แม้จะอยู่ห่างกันแค่ชั่วโมงเศษ (ทางอากาศ) แต่คู่นี้พบกันมาเพียง 2 ครั้งเท่านั้น เป็นในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายทั้งสองเกม หรือก็คือไม่เคยเตะกระชับมิตรกันมาก่อนเลย
• บอลโลก 1986 โมร็อกโก ชนะ โปรตุเกส ยุค เปาโล ฟูเตร้ 3-1
• จากนั้นอีก 32 ปี มาพบกันในฟุตบอลโลก 2018 โปรตุเกส ชนะคืน 1-0 คริสเตียโน่ โรนัลโด้ พังประตูโทน

 

• วาลิด เรกรารี เป็นฮีโร่ของชนชาติโมร็อกโกไปแล้ว และจะคุมทีมลงสนามเกมนี้เป็นเพียงนัดที่ 8 เท่านั้น ด้วยสถิติไร้พ่าย ที่ผ่านมาชนะ 4 เสมอ 3
• โมร็อกโก ยังไร้พ่ายมาถึง 9 เกมซ้อน และในจำนวนนี้ทำคลีนชีตได้ถึง 7 เกม
• แม้กระทั่งการดวลจุดโทษ โมร็อกโก ก็ยังจะทำคลีนชีต ชนะ สเปน 3-0

 

• ในการเจอทีมจากแอฟริกาหนล่าสุด โปรตุเกส เฉือนชนะ กาน่า 3-2 ซึ่งก็คือเกมแรกของฟุตบอลโลก 2022 ครั้งนี้
• 5 นัดหลัง โปรตุเกส ยิงรวม 16 ประตู เฉลี่ยนัดละ 3.2 ลูก
• โปรตุเกส อยู่ในเส้นทางของการลุ้นแชมป์โลกสมัยแรก โดยยังไม่เคยเข้าชิงชนะเลิศได้มาก่อน ผลงานดีสุดคืออันดับสาม 1966 และอันดับสี่ 2006

 

• กอนซาโล่ รามอส เป็นเจ้าของแฮตทริกแรกในฟุตบอลโลก 2022 และเป็นคนแรกที่ทำแฮตทริกในรอบน็อกเอาต์บอลโลก นับตั้งแต่ โธมัส สคูราวี่ ปี 1990 นอกจากนั้นยังเป็นคนแรกในรอบ 15 เกมของโปรตุเกส ถัดจากที่ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ซัดสามใส่ ลักเซมเบิร์ก เมื่อ ต.ค. 2021
• กอนซาโล่ รามอส เล่นทีมชาติ 4 นัด ซัด 4 ประตู

 

ความน่าจะเป็น
เป็นอีกเกมที่คาดเดาผลได้ลำบาก ด้วยแม้ว่า โปรตุเกส จะถล่ม สวิตเซอร์แลนด์ มา แต่ระดับคุณภาพของ โมร็อกโก ที่แสดงให้เห็นตลอดในฟุตบอลโลก 2022 ก็ทำให้เชื่อได้ว่าจะไม่ใช่เกมแบบนั้น ดีไม่ดีมีสิทธิ์ซ้ำรอยเกมที่แล้วของ โมร็อกโก ซึ่งกินกันไม่ลงใน 90 นาที จากนั้นก็ค่อยมาดูกันว่าโชคดวงจะเข้าข้างฝั่งไหน

 

ผลที่คาด : เสมอ 1-1 ใน 90 นาที

 

สเปน กระทิงดุจะขวิดสิงโตแห่งเทือกเขาแอตลาส โมร็อกโก ผ่านเข้ารอบ 8 ทีทฟุตบอลโลก 2022

สเปน กระทิงดุจะขวิดสิงโตแห่งเทือกเขาแอตลาส โมร็อกโก ผ่านเข้ารอบ 8 ทีทฟุตบอลโลก 2022

ทำนายผลการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบ 16 ทีม โมร็อกโก – สเปน

6 ธันวาคม เวลา 22:00 น. (เวลาในประเทศไทย) ชมได้ทาง True 4U/ True Sport 2

สเปน กระทิงดุจะขวิดสิงโตแห่งเทือกเขาแอตลาส โมร็อกโก ผ่านเข้ารอบ 8 ทีทฟุตบอลโลก 2022

โมร็อกโก ที่เป็นชาติแรกของแอฟริกาใต้ ที่ผ่านรอบแรกฟุตบอลโลกได้สำเร็จ (ภาพ: www.moroccoworldnews.com)

สถานการณ์ของโมร็อกโกและสเปน

แม้จะเป็นการเจอกันของสองทีมจากสองทวีป แต่เอาเข้าจริง ๆ โมร็อกโกกับสเปนก็ไม่ต่างจากบ้านใกล้เรือนเคียง เมื่ออยู่ห่างกันแค่ไม่ถึง 10ไมล์

โมร็อกโกผ่านเข้ารอบด้วยฟอร์มการเล่นที่สุขุมและพยายามควบคุมเกมเอาไว้ให้ได้ ส่งให้พวกเขาเป็นทีมจากแอฟริกาทีมแรกที่เข้ารอบน็อคเอาต์ของฟุตบอลโลกในศตวรรษที่ 21 โดยเป็นแชมป์กลุ่ม ขณะที่เกมของสเปนซึ่งถูกทุบและพังทลายในครึ่งหลังของเกมกับญี่ปุ่น ทำให้พวกเขาเข้าตกเป็นที่ 2 ของกลุ่ม อี ทั้ง ๆ ที่ช่วงหนึ่งของเกม พวกเขาตกรอบไปแล้วเมื่อคอสตาริก้าขึ้นนำเยอรมนี

โมร็อกโกฉวยโอกาสจากการที่สองทีมยุโรป รองแชมป์และอันดับ 3ของฟุตบอลโลก 2018 ขาดความสม่ำเสมอในแดนหน้า สร้างเซอร์ไพรส์ด้วยการเป็นแชมป์กลุ่ม เอฟ ด้วย 7 แต้มในมือ และเป็น 1 ใน 2 ทีมจากแอฟริกาที่เข้ารอบนี้สำเร็จร่วมกับเซเนกัล และเป็นหนที่สอง หลังเคยทำสำเร็จในปี 1986

สเปนของลุยส์ เอ็นริเก้ ทำประตูญี่ปุ่นเพิ่มไม่ได้ หลังยิงนำไปก่อนในเกมนัดสุดท้ายของรอบแรก ท้ายที่สุดพวกเขาก็พลาดและตกเป็นที่ 2 ในกลุ่มเบียดเยอรมนีตกรอบด้วยประตูได้เสีย หากกลับเป็นเรื่องดี เมื่อคู่ต่อสู้ของพวกเขาเป็นโมร็อกโกไม่ใช่โครเอเชีย รวมถึงรอบต่อ ๆ ไปก็หนีทีมแกร่งอย่าง บราซิลและอาร์เจนติน่าได้อีก แต่เมื่อ 4 ปีที่แล้วพวกเขาก็จบที่รอบนี้ ที่ถ้าเกิดซ้ำก็จะเป็นครั้งแรกที่สเปนตกรอบนี้ติดต่อกัน

สเปน ฟุตบอลโลก 2022 กลุ่ม อี

กระทิงดุ สเปน จะไปได้ไกลแค่ไหนในฟุตบอลโลก 2022 (ภาพ: Getty Images)

เช็กสถิติของโมร็อกโกและสเปน

ศึกของทีมเพื่อนบ้านที่ไม่ต่างไปจากเกมดาร์บี้แม็ตช์ ทั้งสองประเทศมีเขตแดนติดกัน มีปัญหาทางการเมืองรวมไปถึงการอพยพข้ามแดนมาเป็นระยะ ๆ และในเกมฟุตบอล โมร็อกโกกับสเปนเคยเจอกันมาแล้ว 3 ครั้ง โดยสเปนชนะ 2 และเสมออีกหนหนึ่ง โดยเป็นการเจอกันในรอบเพลย์ออฟระหว่างทีมจากแอฟริกาและยุโรป ที่สเปนชนะ 4-2 จากการเล่น 2 เกม และในฟุตบอลโลก 2018 โมร็อกโกที่คุมทีมโดยเฮิร์ฟ เรนาร์ด ที่ปัจจุบันเป็นโค้ชซาอุดิอาระเบีย โมร็อกโกนำสเปนไปก่อน 2-1 แต่ท้ายที่สุด สเปนก็ตีเสมอสำเร็จในช่วงท้ายเกม แบ่งแต้มกันไป

ส่วนฟอร์ม 5 นัดหลัง โมร็อกโก เสมอ 2 และชนะ 3 ขณะที่สเปนชนะ 3 เสมอ 1 และแพ้ 1 สถิติที่น้าสนใจของโมร็อกโกก็คือ พวกเขาไม่แพ้มาแล้ว 8 เกมติดต่อกัน แถมยังเสียไปแค่ 2 ประตู และสำหรับเกมในฟุตบอลโลกแล้ว พวกเขาไม่แพ้ติดต่อกันมาแล้ว 4 เกม และหากไม่แพ้นัดนี้ จะทำสถิติทาบ 5 เกมที่แคเมอรูนทำได้จากฟุตบอลโลก 1982 – 1990

สเปน กระทิงดุจะขวิดสิงโตแห่งเทือกเขาแอตลาส โมร็อกโก ผ่านเข้ารอบ 8 ทีทฟุตบอลโลก 2022
สถานการณ์ของผู้เล่นโมร็อกโกและสเปน

ยาสซีน โบโน ผู้รักษาประตูที่ถูกเปลี่ยนตัววินาทีสุดท้ายก่อนเกมกับเบลเยี่ยม ลงเล่นในเกมชนะแคนาดา ประเทศบ้านเกิดของตัวเองได้แล้ว และคงได้เป็นตัวจริงในเกมนี้ อาชราฟ ฮาคิมี่ที่บาดเจ็บข้อเท้า หากผ่านเช็คความฟิตน่าจะได้ลงเล่นเป็นตัวจริง หลังพยายามเซฟตัวเองโดยไม่ลงซ้อมแบบเต็ม ๆ เมื่อวันเสาร์ ส่วนขาประจำ อย่าง ซีเย็ก, ซอยฟาน, อัมราบัต และโซเฟียน บูฟอล ก็พักซ้อมด้วย แต่ไม่มีสัญญาณว่า ทั้งสามคนมีอาการบาดเจ็บ

เอ็นริเก้หวังให้ลูกทีมฟิตเต็มที่มากที่สุดในเกมนี้ โดยในเกมกับญี่ปุ่น เขาเปลี่ยนผู้เล่นจากเกมกับเยอรมนีถึง 5 คน และใน 20 นาทีสุดท้ายก็ส่งผู้เล่นที่ยังไม่ได้สัมผัสเกม 4 รายไปแทนผู้เล่นจากเกมเยอรมนีที่ลงในสนามนัดนี้ นอกจากนี้ยังไม่ให้ดานี่ โอลโม่, เดวิด รายา และซีซาร์ อัซปลิกวยต้าลงซ้อมเมื่อวันศุกร์ แต่เชื่อว่าโอลโม่น่าจะเป็นการพักหลังกรำศึกในรอบแบ่งกลุ่ม ส่วนอัซปลิกวยต้าที่ถูกเปลี่ยนตัวในเกมเจอญี่ปุ่นบาดเจ็บน่อง ขณะที่รายาไม่มีรายงาน แต่การเป็นผู้รักษาประตูสำรอง และซิมอนน่าจะได้ลงเล่นอยู่แล้ว ไม่น่าส่งผลกระทบอะไรกับทีม นิโก้ วิเลียมส์ และอเลฆานโดร บัลเด้ที่ได้ลงเจอญี่ปุ่น จะถูกแทนที่โดยแฟร์ราน ตอร์เรสและจอร์ดี้ อัลบา

ผู้เล่นที่คาดว่าน่าจะลงสนามของโมร็อกโกและสเปน

โมร็อกโก ระบบ 4-3-3: โบโน; ฮาคิมี่, อากวอร์ด, ซาอิสส์, มาซราอุย; อูนาฮี, อัมราบัต, ซาบิรี่; ซีเย็ก, เอ็น-เนสซีรี่, บูฟอล
สเปน ระบบ 4-3-3: ซิมอน; คาร์บาฆาล, โรดรี้, ลาปอร์ต, อัลบา; เปดรี้, บุสเก็ตส์, กาบี้; แฟร์ราน ตอร์เรส, โมราต้า, โอลโม่

ผลการแข่งขันระหว่างโมร็อกโกและสเปน

โมร็อกโกต้องทุ่มสุดตัวเพื่อเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศครั้งแรกให้ได้ โดยเฉพาะแนวรับที่ต้องรับมือแนวรุกสเปน แต่พวกเขาก็มีโอกาสเจาะกองหลังทีมกระทิงดุที่เปราะบางเหมือนกัน หากด้วยผู้เล่นในแนวรุกที่มีประสิทธิภาพ มีตัวเลือกที่หลากหลาย สเปนดูจะเหนือกว่าโมร็อกโก แต่อย่าลืมว่า นับตั้งแต่วาลิด เรเกรกุยเข้ามารับตำแหน่งในเดือนสิงหาคม โมร็อกโกยังไม่เคยเสียประตูเลย และช่วงที่วาฮิด ฮาลิลฮ็อดซิกคุมทีมในรอบคัดเลือก พวกเขาเสียแค่ประตูเดียว

นี่คือเกมอึดอัดวัดที่ความอดทน สเปนคงป้อไปป้อมาแต่หาช่องยิงลำบาก ส่วนโมร็อกโกรอจังหวะแบบเดียวกับที่ญี่ปุ่นแสดงให้เห็น และหากสร้างความกดดันให้เกิดขึ้นกับสเปนได้ โมร็อกโกก็มีโอกาสคว้าชัย เกมนี้เป็นอีกเกมที่น่าจะลากกันยาว แต่คงไม่ถึงฎีกา

สเปนชนะหวิว 2-1 หรือ 1-0

เรื่องน่าอ่าน
ทีมจากแอฟริกา จะไปได้ไกลแค่ไหนในฟุตบอลโลก 2022 ?
ผู้ตัดสินหญิง และผู้ช่วยผู้ตัดสินสตรี กับครั้งแรกในฟุตบอลโลก ทำความรู้จักกับพวกเธอกัน
ล้ำหน้าในฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ ฟีฟ่านำเอไอตรวจจับร่างกายของผู้เล่นมาช่วยตัดสิน
รู้จักกับลูกฟุตบอลของ ฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์
รู้จักและฟัง BETTER TOGETHER เพลงฟุตบอลโลก 2022 เพลงแรก 

โมร็อกโก vs สเปน : ตัวต่อตัว 16 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022

โมร็อกโก vs สเปน : ตัวต่อตัว 16 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022

ฟุตบอลโลก 2022 รอบน็อกเอาต์ 16 ทีมสุดท้าย : โมร็อกโก vs สเปน

อังคาร 6 ธันวาคม 2565, 22.00 น.
สนาม : เอดูเคชัน ซิตี้ สเตเดี้ยม, อัล รายยาน
ถ่ายทอดสด : True4U

 

ผลการพบกัน : 3 นัด
คัดบอลโลก 1961 สเปน ชนะ 1-0
คัดบอลโลก 1961 สเปน ชนะ 3-2
ฟุตบอลโลก 2018 เสมอ 2-2

 

ฟอร์ม 5 เกมหลังสุด
โมร็อกโก
อุ่นเครื่อง เสมอ ปารากวัย 0-0
อุ่นเครื่อง ชนะ จอร์เจีย 3-0
ฟุตบอลโลก 2022 เสมอ โครเอเชีย 0-0
ฟุตบอลโลก 2022 ชนะ เบลเยียม 2-0
ฟุตบอลโลก 2022 ชนะ แคนาดา 2-1

สเปน
เนชั่นส์ ลีก ชนะ โปรตุเกส 1-0
อุ่นเครื่อง ชนะ จอร์แดน 3-1
ฟุตบอลโลก 2022 ชนะ คอสตาริกา 7-0
ฟุตบอลโลก 2022 เสมอ เยอรมนี 1-1
ฟุตบอลโลก 2022 แพ้ ญี่ปุ่น 1-2

 

ผลงานรอบแบ่งกลุ่ม โมร็อกโก และ สเปน

โมร็อกโก : ม้ามืดตัวจริงของฟุตบอลโลก 2022 เริ่มต้นด้วยการยันเสมอ โครเอเชีย 0-0 ก่อนสร้างเซอร์ไพรส์ปราบ เบลเยียม 2-0 และฟาดอีกสามแต้มด้วยการสยบ แคนาดา 2-1 จนเข้ารอบด้วยการเป็นแชมป์กลุ่ม แบบที่ยิง 4 เสียแค่ 1
สเปน : เริ่มต้นดีเกินคาด ขยี้ คอสตาริกา 7-0 จากนั้นก็หวิดชนะ เยอรมนี แต่โดนทวงท้ายเกม 1-1 แต่ปรากฏว่านัดสุดท้าย เล่นแบบเอื่อยๆ จนโดน ญี่ปุ่น แซงเชือด 2-1 ท่ามกลางครหาว่าอันที่จริง พวกเขาตั้งใจแพ้เพื่อขวางไม่ให้ เยอรมนี หลุดเข้าไปเป็นเสี้ยนหนาม แถมตัวเองยังจะเลี่ยง โครเอเชีย หรือ บราซิล ในรอบถัดๆ ไปได้ด้วย

 

ความพร้อมก่อนเตะ โมร็อกโก และ สเปน

โมร็อกโก
มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ตัวกุนซือ วาฮิด ฮาลิลฮ็อดซิช โดนเด้งไปเมื่อกลางปี หรือก่อนฟุตบอลโลก 2022 จะมาถึงแค่ไม่กี่เดือน โดยเป็น วาลิด เรกรากี อดีตนายใหญ่ อัล-ดูฮาอิล และ วีดัด คาซาบลังก้า มาเสียบแทน

 

แต่การเปลี่ยนโค้ชเหมือนเลือกหวยถูกใบ โมร็อกโก เกมแรกยันเสมอ โครเอเชีย 0-0 ต่อมาพลิกล็อกชนะ เบลเยียม 2-0 ตามด้วยตบ แคนาดา 2-1 จนเข้ารอบด้วยการเป็นแชมป์กลุ่ม

 

เรกรากี มีตัวเจ็บเหลือในราย อับเดสซาหมัด เอซซาลซูลี่ กองหน้าโอซาซูน่า ในขณะที่ นูสแซร์ มาซราอุย แบ็กจากบาเยิร์น มิวนิค กับ อับเดลฮามิด ซาบิรี่ กองกลางจากซามพ์โดเรีย ฟื้นฟิตพร้อมกลับมาเล่นตั้งแต่นัดก่อนแล้ว จนถือว่าค่อนข้างพร้อมรบดีทีเดียว

 

ระบบใช้ 4-3-3 อัชราฟ ฮาคิมี่ ประจำการแบ็กขวา แนวรุก ฮาคิม ซีเย็ค กับ โซฟียาน บูฟาล ขนาบข้างหอกเป้า ยุสเซฟ เอ็น-เนซีรี่

 

สเปน
หลุยส์ เอ็นริเก้ พากระทิงดุเจ้าของแชมป์โลก 1 สมัยเข้ามาเล่นรอบสุดท้ายฟุตบอลโลก 2022 ด้วยผลงานค่อนข้างดี รวมถึงในยูฟ่า เนชั่นส์ ลีก ก็ครองแชมป์กลุ่ม ได้ไปต่อในรอบชิงแชมป์ ปีหน้า

 

จากนั้นเมื่อเริ่มเกมแรก ทำได้ดีเกินความคาดหมาย กราดยิง คอสตาริกา ดับอนาถ 7-0 เฟร์ราน ตอร์เรส ซัดสอง ที่เหลือช่วยกันยิงอีก 5 คน ต่อมา แบ่งแต้มด้วยผลเสมอ เยอรมนี 1-1 และนัดสุดท้าย พลิกพ่าย ญี่ปุ่น 1-2 ทำให้เข้าด้วยการเป็นที่สองของกลุ่ม

 

เอ็นริเก้ ไม่มีปัญหาตัวเจ็บเพิ่มเติม และด้วยทีมที่เล่นกันดีอยู่แล้ว ทำให้คงแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง 11 ตัวจริง ระบบ 4-3-3 ประตูเป็น อูไน ซิมอน แดนกลางบาร์ซ่าเหมาทั้ง เปดรี้, บุสเก็ตส์, กาบี ส่วนแนวรุก ดานี่ โอลโม่ จะเล่นร่วมกับ เฟร์ราน ตอร์เรส และ อัลบาโร่ โมราต้า

 

ตัวความหวัง
โมร็อกโก : ฮาคิม ซีเย็ค & อัชราฟ ฮาคิมี่
ซีเย็ค เลิกเล่นทีมชาติไปช่วงหนึ่งเนื่องจากความขัดแย้งส่วนตัวกับโค้ชเก่า วาฮิด ฮาลิลฮอดซิช ซึ่งพอมีการเปลี่ยนเป็น วาลิด เรกรากี แล้วก็กลับสู่สารบบทีมชาติดังเดิม โดยแม้จะเจอปัญหาเข้าๆ ออกๆ จากทีมเชลซี แต่ก็คือตัวยืนของทีมชาติ มีผลงานยิง 19 ประตูจาก 46 เกม ด้าน ฮาคิมี่ พัฒนาตัวเองไปจนอยู่ในระดับแบ็กขวาตัวท็อปของวงการแล้ว พร้อมกับบางเสียงยกว่าเป็นเบอร์ 1 โลกยุคปัจจุบันด้วยซ้ำ โดยยิงไปแล้ว 8 ประตูใน 57 เกมทีมชาติ

 

สเปน : อัลบาโร่ โมราต้า
แมว 9 ชีวิตแห่งทัพกระทิงดุ เมื่อต่อให้ฟอร์มในระดับสโมสรจะออกทะเลขนาดไหน ก็ยังมีที่ยืนในทีมชาติอยู่ตลอดเวลา รวมถึงกับชุดปัจจุบันทั้งที่ผลงานกับ แอตเลติโก มาดริด ไม่ได้สวยหรูนัก (5 ประตูซีซั่นนี้) กระนั้นก็ต้องให้เครดิตกับหัวหอกวัย 30 ด้วยเหมือนกันว่าก็ทำผลงานได้ดีจริงในทีมชาติ สองปีหลังกดไป 12 ประตู รวมแล้วมี 30 ลูกจาก 60 นัด รวมถึงเป็นหนึ่งในสองคนที่ยิงตลอด 3 เกมรอบแรกฟุตบอลโลก 2022

 

11 ตัวจริงที่คาด
โมร็อกโก (4-3-3, กุนซือ วาลิด เรกรากี) ยาสซีน บูนู – นูสแซร์ มาซราอุย, นาเยฟ อาแกร์ด, โรแม็ง ซาอิสส์, อัชราฟ ฮาคิมี่ – อัซเซดีน อูนาฮี, โซฟียาน อัมราบัต, อับเดลฮามิด ซาบิรี่ – ฮาคิม ซีเย็ค, โซฟียาน บูฟาล, ยุสเซฟ เอ็น-เนซีรี่
สเปน (4-3-3, กุนซือ หลุยส์ เอ็นริเก้) อูไน ซิมอน – จอร์ดี้ อัลบา, อายเมอริก ลาป๊อร์กต์, โรดรี้, ดานี่ การ์บาฆัล – เปดรี้, เซร์คิโอ บุสเก็ตส์, กาบี – ดานี่ โอลโม่, อัลบาโร่ โมราต้า, เฟร์ราน ตอร์เรส

 

สถิติที่เกี่ยวข้อง
• พบกันมา 3 เกม สเปน ไม่เคยแพ้
• ล่าสุดในฟุตบอลโลก 2018 รอบแบ่งกลุ่ม เสมอ 2-2 ยาโก้ อัสปาส ยิงตีเสมอให้สเปนนาทีสุดท้าย
• โมร็อกโก อยู่ในทรงที่ดีเยี่ยม ชนะ 6 จาก 8 เกมหลังสุด และแพ้เกมเดียวเท่านั้นจาก 11 แมตช์หลัง
• สเปน ทำคลีนชีตได้แค่นัดเดียวจาก 4 เกมหลังสุด
• สเปน ชุดนี้ มีแค่ 2 คนที่ยิงประตูในทีมชาติได้เกิน 10 ลูก คือ อัลบาโร่ โมราต้า (30) กับ เฟร์ราน ตอร์เรส (15)

 

ความน่าจะเป็น
แม้จะแพ้ ญี่ปุ่น มา แต่ทั้งปรับทัพเยอะ ทั้งดูเล่นไม่ค่อยเต็มที่ ทำให้เมื่อกลับมาใช้ชุดใหญ่และเน้นทุกเม็ดแล้ว สเปน คือทีมที่ใครก็ประมาทไม่ได้ทั้งนั้น และแม้ โมร็อกโก จะมาดี แข็งทั้งรุกรับ แต่ยังพอมีช่องให้เจาะเข้า และเกมรุกที่จัดจ้านของ สเปน ก็น่าจะทำให้พวกเขาได้ไปต่อ

 

ผลที่คาด : สเปน ชนะ 2-1

โมร็อกโก จะไม่แพ้แคนาดา และเป็นชาติแอฟริกาที่ผ่านเข้ารอบสองของฟุตบอลโลก 2022

โมร็อกโก จะไม่แพ้แคนาดา และเป็นชาติแอฟริกาที่ผ่านเข้ารอบสองของฟุตบอลโลก 2022

ทำนายผลเกมนัดที่ 6 ของกลุ่ม เอฟ วันที่ 1 ธันวาคม เวลาลงสนาม 22:00 น. (เวลาในบ้านเรา)

แคนาดา – โมร็อกโก ถ่ายทอดทาง True4U/ 9MCOT/ True Sport 2

แคนาดา ฟุตบอลโลก 2022

เจ้าภาพฟุตบอลโลกหนต่อไป จะสร้างชื่อให้โลกรับรู้ตั้งแต่ฟุตบอลโลก 2022 เลยหรือไม่ (ภาพ: Canada Soccer / Martin Bazyl)

สถานการณ์ของแคนาดาและโมร็อกโก

กลุ่ม เอฟ ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มที่แต่ละทีมมีความสูสีในเรื่องฝีเท้ามากที่สุดในฟุตบอลโลกหนนี้ก็ว่าได้ และจากผลการแข่งขันใน 4 นัดแรกแสดงให้เห็นก็เป็นอย่างที่คาดการณ์เอาไว้จริง ๆ แม้แคนาดา ที่เข้ารอบฟุตบอลโลกหนนี้เป็นหนที่ 2 จะพ่ายตกรอบไปเรียบร้อยจากการเล่นแค่ 2 นัด แต่ฟอร์มในเกมกับเบลเยี่ยม รวมถึงบางช่วงในเกมกับโครเอเชีย ก็แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่พวกเขาขาดก็คือประสบการณ์เท่านั้นเอง ส่วนอีก 3 ทีม โครเอเชีย, โมร็อกโก และเบลเยี่ยม ก็ยังแย่ง 2 ที่นั่งในรอบน็อคเอาต์กันจนมาถึงนัดสุดท้าย

ขณะที่แคนาดาของโค้ช จอห์น เฮิร์ดแมน เก็บของกลับบ้านตั้งแต่นัดที่ 2 โมร็อกโกของวาลิด เรเกรกุย ที่ต้องเจอกันในนัดสุดท้ายยังมีลุ้นเข้ารอบ และมองได้ถึงแชมป์กลุ่มกันเลยทีเดียว ที่ด้วยฟอร์มการเล่นแล้ว นี่คือทีมที่พูดได้ว่าเป็น “ฟุตบอลทัวร์นาเมนต์” เล่นรับเหนียวแน่น ยากที่จะแพ้ใคร และผลจากสองนัดแรกก็บ่งบอกได้ดี เมื่อพวกเขาเก็บคลีนชีตได้จาก 2 ทีมระดับแถวหน้าของโลก และมีคะแนนตุนในกระเป๋าถึง 4 แต้ม ด้วยการเสมอกับโครเอเชียในนัดแรก และชนะเบลเยี่ยมในนัดที่ 2 โดยเฉพาะการเล่นในครึ่งหลังที่ควรค่ากับการคว้าชัย 2-0 เอามาก ๆ

โมร็อกโกอยู่ในสถานการณ์ที่ดีมาก ๆ สำหรับการเข้ารอบ โดยขอแค่ไม่แพ้แคนาดาที่ตกรอบไปแล้ว พวกเขาก็จะเป็น 1 ใน 16 ทีมสุดท้ายอย่างแน่นอน ซึ่งหากต้องการเป็นแชมป์กลุ่ม โมร็อกโกต้องชนะและลุ้นให้โครเอเชียทำได้แค่เสมอหรือแพ้เบลเยี่ยม แต่ถ้าโครเอเชียชนะพวกเขาจะเป็นที่ 2 ของกลุ่ม และหากทำได้แค่เสมอ สิงโตจากเทือกเขาแอตลาส ก็ยังเข้ารอบสบาย ๆ ในฐานะที่ 2 ของกลุ่ม ไม่ว่าเกมอีกคู่จะจบอย่างไร

กระทั่งแพ้ในนัดสุดท้าย โมร็อกโกก็ยังได้เข้ารอบหากเบลเยี่ยมแพ้โครเอเชีย แต่ถ้าเกิดทั้งสองทีมแบ่งแต้มกัน โมร็อกโกต้องมาวัดสถิติอื่น ๆ กับเบลเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นประตูได้-เสีย, ประตูได้ ซึ่งถ้าเท่ากัน โมร็อกโกจะเป็นฝ่ายเข้ารอบ เมื่อในเกมที่เจอกันเอง พวกเขาคือทีมที่คว้าชัยไปครอง

เพราะฉะนั้นเพื่อไม่สร้างความยุ่งยากให้กับตัวเอง โมร็อกโกต้องไม่แพ้ เพื่อที่จะได้เข้ารอบ

โมร็อกโก ฟุตบอลโลก 2022

โมร็อกโก มากาตาร์ เข้าร่วมฟุตบอลโลก 2022 ในแบบที่มีนักเตะระดับท็อปมากที่สุด เท่าที่เคยมีมาก็ว่าได้ (ภาพ: www.moroccoworldnews.com)

สถานการณ์ผู้เล่นของแคนาดาและโมร็อกโก

ในเกมนี้ โค้ชของแคนาดา จอห์น เฮิร์ดแมน มีทางเลือกในการจัดตัวผู้เล่นมากกว่าเดิม ด้วยสถานภาพที่ตกรอบแน่นอนแล้ว เขาสามารถจัดตัวเต็มที่ก็ได้ หรือจะให้โอกาสผู้เล่นที่ยังไม่ได้ลงสนามสัมผัสเกมบ้างก็ดี โดยเฉพาะเมื่อมีนักเตะหลายรายที่อาจจะไม่พร้อมลงเล่นเป็นตัวจริง

สตีเฟน ยูสตาชิโอ มีอาการเจ็บกล้ามเนื้อจากเกมที่แคนาดาเจอกับโครเอเชีย โดยกองกลางจากปอร์โต้ต้องออกจากสนาม และไม่แน่ว่าจะพร้อมสำหรับเกมสุดท้ายหรือไม่ อิสมาเอล โคเน่ ที่ได้ลงสนามในฐานะตัวสำรองทั้งสองนัด น่าจะได้เล่นแทนอติบา ฮัตชินสัน ตัวเก๋าวัย 39 ที่มีปัญหาเรื่องอาการบาดเจ็บ ไคล ลาริน ฟอร์มออกมาไม่ดีเท่าไหร่เมื่อได้ลงเล่นเป็นตัวจริงแทน จูเนียร์ ฮอยเล็ตต์ ในเกมเจอทีมตราหมากรุก เป็นไปได้ว่าฮอยเล็ตต์จะกลับมาเป็นตัวจริง แล้วอัลฟอนโซ่ เดวิสจะถูกขึ้นไปเล่นหน้ามากขึ้นร่วมกับโจนาธาน เดวิด

ยาสซีน บอนอ ผู้รักษาประตูของโมร็อกโก ได้รับบาดเจ็บก่อนเกมกับเบลเยี่ยมไม่นาน ทั้ง ๆ ที่ยืนเข้าแถวเคารพเพลงชาติก่อนเริ่มเกมแล้ว ทำให้มูเนียร์ โมฮามาดีได้ลงเล่นเป็นตัวจริงแทน และยังไม่แน่ว่าจะได้ลงเล่นในเกมนี้หรือไม่ นูสแซร์ มาซราอุย ผ่านการทดสอบความฟิต และพร้อมลงเป็นฟูลล์แบ็คให้กับทีม แม้จะมีอาการบาดเจ็บสะโพกเล็กน้อยติดมาจากเกมนัดแรก อาชราฟ ฮาคิมี่ที่มีอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อโคนขาก็พร้อมลงเล่น ถึงแม้จะไม่สามารถทำหน้าที่ได้เต็มเกมก็ตาม หากก็น่าจะได้สตาร์ตเป็นตัวจริง

สำหรับในตำแหน่งอื่น ๆ เรเกรกุย น่าจะแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง และโดยปกติแล้วเขาจะไม่เปลี่ยนผู้เล่นในเกมด้วยซ้ำ หากสถานการณ์ไม่ได้เลวร้าย

อัลฟอนโซ เดวีส์ นักเตะดาวรุ่งของแคนาดา

อัลฟอนโซ เดวีส์ ไม่ใช่แค่นักเตะดาวรุ่งของแคนาดาเท่านั้น แต่อาจจะเป็นนักเตะที่ดีที่สุดของชาตินี้ด้วย (ภาพ: Getty Image)

ผู้เล่นที่คาดว่าจะได้ลงสนามของแคนาดาและโมร็อกโก

แคนาดา ระบบ 3-4-3: บอร์ยาน; จอห์นสตัน, วิกตอเรีย, มิลเลอร์; ลาร์ยี, โอโซริโอ, โคเน่, อะเดกุกบี; บูคาแนน, เดวิด, เดวิส
โมร็อกโก ระบบ 4-3-3: มูเนียร์; ฮาคิมี่, แอ็กกวร์ด, ซาอิสส์, มาซราอุย; โออูนาฮี, อัมราบัต, อมาลาลาห์; ซีเย็ก, เอ็น-เนสีรี่, บูฟอล

ผลการแข่งขันระหว่างแคนาดาและโมร็อกโก

แคนาดาเบิกประตูแรกในฟุตบอลโลกได้แล้ว และกับประตูที่ 2 การเจอกับโมร็อกโกไม่ได้ทำให้สถานการณ์ง่ายขึ้น เมื่อคู่แข่งจากแอฟริการายนี้ล็อคประตูสนิทในเกมเจอกับเบลเยี่ยม ซึ่งเป็นเกมที่ 6 ติดต่อกันแล้วที่พวกเขาไม่เสียประตู และจากเสียงเชียร์รอบสนาม รวมถึความสามารถเฉพาะตัวที่ดีกว่าของผู้เล่น สิงโตจากแอตลาส มีโอกาสมากกว่าในการเป็นผู้ชนะ และการที่เก็บเสมอก็เพียงพอต่อการเข้ารอบ ทำให้ความกดดันไม่มากนักสำหรับโมร็อกโก ที่น่าจะรับมือกับเกมวิ่ง-สู้-ฟัดของแคนาดาได้

ทีมจากแอฟริกาจะชนะเจ้าภาพฟุตบอลโลกหนหน้าแบบเบา ๆ 1-0, 2-1 หรือ 2-0 และมีโอกาสที่จะแบ่งแต้มกันไปไม่น้อย

เรื่องน่าอ่าน
1. ใครจะอยู่ใครจะไป พระกาฬในรอบ 16 ทีมสุดท้ายของฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์จะเป็นใคร
2. กลุ่ม เอฟ ในฟุตบอลโลก 2022 โอกาสพิสูจน์ตัวเองของเบลเยี่ยม ทีมยุคทองที่เริ่มโรยรา และรองแชมป์ชรา
3. ล้ำหน้าในฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ ฟีฟ่านำเอไอตรวจจับร่างกายของผู้เล่นมาช่วยตัดสิน
4. ฟุตบอลโลก 2022 ของ 6 ชาติเอเชีย พวกเขาจะผ่านเข้ารอบสองได้กี่ทีม ?
5. ทีมจากแอฟริกา จะไปได้ไกลแค่ไหนในฟุตบอลโลก 2022 ?

แคนาดา vs โมร็อกโก : วิเคราะห์นัดปิดกลุ่ม ฟุตบอลโลก 2022

แคนาดา vs โมร็อกโก : วิเคราะห์นัดปิดกลุ่ม ฟุตบอลโลก 2022

ฟุตบอลโลก 2022 รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มเอฟ นัดสุดท้าย : แคนาดา vs โมร็อกโก
พฤหัสบดี 1 ธันวาคม 2565, 22.00 น.
สนาม : อัล ธูมาม่า สเตเดี้ยม, โดฮา
ถ่ายทอดสด : Thai PBS

 

ผลงานรอบคัดเลือก
แคนาดา
แชมป์รอบ 3 โซนคอนคาเคฟ
เตะ 14 ชนะ 8 เสมอ 4 แพ้ 2 ยิงได้ 23 เสีย 7

โมร็อกโก
ชนะ ดีอาร์ คองโก รอบ 3 โซนแอฟริกา
นัดแรกเสมอ 1-1, นัดสองชนะ 4-1

 

ฟอร์ม 5 เกมหลังสุด
แคนาดา
อุ่นเครื่อง แพ้ อุรุกวัย 0-2
อุ่นเครื่อง เสมอ บาห์เรน 2-2
อุ่นเครื่อง ชนะ ญี่ปุ่น 2-1
ฟุตบอลโลก 2022 แพ้ เบลเยียม 0-1
ฟุตบอลโลก 2022 แพ้ โครเอเชีย 1-4

โมร็อกโก
อุ่นเครื่อง ชนะ ชิลี 2-0
อุ่นเครื่อง เสมอ ปารากวัย 0-0
อุ่นเครื่อง ชนะ จอร์เจีย 3-0
ฟุตบอลโลก 2022 เสมอ โครเอเชีย 0-0
ฟุตบอลโลก 2022 ชนะ เบลเยียม 2-0

 

ผลการพบกัน : 3 นัด
อุ่นเครื่อง 1984 โมร็อกโก ชนะ 3-2
อุ่นเครื่อง 1994 เสมอ 1-1
อุ่นเครื่อง 2016 โมร็อกโก ชนะ 4-0

ตารางคะแนนกลุ่มเอฟ หลังผ่าน 2 นัด
1. โครเอเชีย คะแนน 4 ผลต่างประตู +3
2. โมร็อกโก คะแนน 4 ผลต่างประตู +2
3. เบลเยียม คะแนน 3 ผลต่างประตู -1
4. แคนาดา คะแนน 0 ผลต่างประตู -4 (ตกรอบแล้ว)

 

สภาพทีม
แคนาดา
ทัพเมเปิ้ลได้กลับมาโชว์ตัวในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายอีกครั้ง หลังหายหน้าไปตั้งแต่ได้เล่นหนแรกเมื่อปี 1986 แต่เริ่มต้นฟุตบอลโลก 2022 ด้วยการแพ้ เบลเยียม 0-1 ก่อนตามด้วยแพ้ โครเอเชีย 1-4

 

สองนัดไม่มีแต้ม แคนาดา จึงการันตีการไม่ได้ไปต่อ ตกรอบแรกเป็นที่เรียบร้อย แถมผลต่างประตู -4 ยังทำให้ขยับขึ้นจากอันดับบ๊วยลำบากด้วย

 

แคนาดา คุมทีมโดย จอห์น เฮิร์ดแมน โค้ชชาวอังกฤษ ที่ขยับจากทีมชาติฝ่ายหญิง (2011-2018) มารับงานนี้ และในทีมมีดาวเด่นอย่าง อัลฟอนโซ่ เดวิส (บาเยิร์น), โจนาธาน เดวิด (ลีลล์), ไคล์ ลาริน (คลับ บรูช), สตีเฟ่น ยุสตากิโต้ (ปอร์โต้) เป็นแกนนำ

 

เฮิร์ดแมน ไม่มีปัญหาในการจัดทีมเกมนี้ แต่ระบบจะเปลี่ยนกลับไปใช้แบ็กทรี 3-4-3 เหมือนเกมแรก ภายหลังใช้แบ็กโฟร์แล้วโดน โครเอเชีย ยิงไม่ยั้ง

 

โมร็อกโก
มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ตัวกุนซือ วาฮิด ฮาลิลฮ็อดซิช โดนเด้งไปเมื่อกลางปี หรือก่อนฟุตบอลโลก 2022 จะมาถึงแค่ไม่กี่เดือน โดยเป็น วาลิด เรกรากี อดีตนายใหญ่ อัล-ดูฮาอิล และ วีดัด คาซาบลังก้า มาเสียบแทน

 

แต่การเปลี่ยนโค้ชเหมือนเลือกหวยถูกใบ โมร็อกโก เกมแรกยันเสมอ โครเอเชีย 0-0 ต่อมาพลิกล็อกชนะ เบลเยียม 2-0 ส่งผลให้มี 4 แต้มในมือ เกมนี้ต่อให้แพ้ก็ยังมีสิทธิ์เข้ารอบ หากว่าอีกคู่ เบลเยียม ไม่อาจเอาชนะ โครเอเชีย ได้

 

เรกรากี มีตัวเจ็บเหลือในราย อับเดสซาหมัด เอซซาลซูลี่ กองหน้าโอซาซูน่า ในขณะที่ นูสแซร์ มาซราอุย แบ็กจากบาเยิร์น มิวนิค กับ อับเดลฮามิด ซาบิรี่ กองกลางจากซามพ์โดเรีย ฟื้นฟิตพร้อมกลับมาเล่นแล้ว

 

ระบบยึด 4-1-4-1 ขุนพลตัวหลักอย่าง ฮาคิม ซีเย็ค, โซฟียาน บูฟาล, ยุสเซฟ เอ็น-เนซีรี่ หรือ อัชราฟ ฮาคิมี่ พร้อมรบตามปกติทั้งหมด

 

ตัวความหวัง
แคนาดา : อัลฟอนโซ่ เดวิส
นักเตะที่ดีที่สุดในยุคนี้ของ แคนาดา หรือกระทั่งอาจจะดีที่สุดตลอดกาล โตมากับ แวนคูเวอร์ ไวท์แคปส์ ก่อนที่ บาเยิร์น มิวนิค จะทุ่มเงินเป็นสถิติ 22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (รวมโบนัสเสริม) คว้าตัวไปตอนที่ เดวิส อายุได้แค่ 17-18 เท่านั้น ซึ่งก็ไม่มีคำว่าผิดหวังเมื่อเจ้าหนูเชื้อสายกาน่าพัฒนาตัวเองได้อย่างก้าวกระโดด บางกระแสยกย่องว่าเป็น “แบ็กซ้ายเบอร์ 1 โลก” ที่สำคัญ ยังสารพัดประโยชน์ เล่นได้หมดทางกราบซ้าย และในฟุตบอลโลกครั้งนี้ก็โขกพังประตูประวัติศาสตร์ใส่ โครเอเชีย มาแล้ว

 

โมร็อกโก : ฮาคิม ซีเย็ค & อัชราฟ ฮาคิมี่
ฮาคิม ซีเย็ค เลิกเล่นทีมชาติไปช่วงหนึ่งเนื่องจากความขัดแย้งส่วนตัวกับโค้ชเก่า วาฮิด ฮาลิลฮอดซิช ซึ่งพอมีการเปลี่ยนเป็น วาลิด เรกรากี แล้วก็กลับสู่สารบบทีมชาติดังเดิม โดยแม้จะเจอปัญหาเข้าๆ ออกๆ จากทีมเชลซี แต่ก็คือตัวยืนของทีมชาติ มีผลงานยิง 18 ประตูจาก 45 เกม ด้าน ฮาคิมี่ พัฒนาตัวเองไปจนอยู่ในระดับแบ็กขวาตัวท็อปของวงการแล้ว พร้อมกับบางเสียงยกว่าเป็นเบอร์ 1 โลกยุคปัจจุบันด้วยซ้ำ โดยยิงไปแล้ว 8 ประตูใน 56 เกมทีมชาติ

 

11 ตัวจริงที่คาด
แคนาดา (3-4-3, กุนซือ จอห์น เฮิร์ดแมน) มิลาน บอร์ยาน – คามาล มิลเลอร์, สตีเว่น วิตอเรีย, อลิสแตร์ จอห์นสตัน – อัลฟอนโซ่ เดวิส, สตีเฟ่น ยุสตาคิโอ, อติบา ฮัทชินสัน, ริชี่ ลาร์เยีย – จูเนียร์ ฮอยเล็ตต์, โจนาธาน เดวิด, ทาจอน บัคคาแนน
โมร็อกโก (4-1-4-1, กุนซือ วาลิด เรกรากี) ยาสซีน บูนู – นูสแซร์ มาซราอุย, นาเยฟ อาแกร์ด, โรแม็ง ซาอิสส์, อัชราฟ ฮาคิมี่ – โซฟียาน อัมราบัต – ฮาคิม ซีเย็ค, อัซเซดีน อูนาฮี, โซฟียาน บูฟาล, เซลิม อมัลลาห์ – ยุสเซฟ เอ็น-เนซีรี่

 

สถิติที่เกี่ยวข้อง
• พบกันมา 3 ครั้ง ล่าสุดอุ่นเครื่องปี 2016 โมร็อกโก ต้อนขาด 4-0 ฮาคิม ซีเย็ค ซัดสองประตู
• โมร็อกโก ได้ลุ้นเต็มตัวในการเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้าย หนแรกนับแต่ปี 1986
• อติบา ฮัทชินสัน กัปตันแคนาดา อ่อนกว่ากุนซือ จอห์น เฮิร์ดแมน แค่ 7-8 ปี
• ไคล์ ลาริน ยิงในทีมชาติ 25 ประตู ส่วน โจนาธาน เดวิด 22 ลูก
• โมร็อกโก ก็อยู่ในทรงที่ดีทีเดียว ชนะ 5 จาก 7 เกมหลังสุด และแพ้เกมเดียวเท่านั้นจาก 10 แมตช์หลัง
• แคนาดา ตกรอบแรกแล้ว แต่จะได้ไปฟุตบอลโลกครั้งหน้า 2026 แน่นอน เนื่องจากได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับ สหรัฐอเมริกา และ เม็กซิโก

 

ความน่าจะเป็น
อยู่ในสถานการณ์สบายๆ มีโอกาสดีสำหรับการเข้ารอบ แถมเกมนี้ยังได้เจอทีมที่ตกรอบไปแล้วอีกต่างหาก ทำให้ โมร็อกโก จะไม่กดดันเลยในการเตะแมตช์นี้ สามารถเล่นไปตามเกมได้อย่างไม่ซีเรียสเร่งเร้า และด้วยคุณภาพที่เหนือกว่า ทำให้เชื่อว่าน่าจะยังคงเบียดเอาชนะไปได้ในที่สุด

 

ผลที่คาด : โมร็อกโก ชนะ 1-0

เบลเยี่ยม จะคว้าตั๋วเข้ารอบ 16 ทีม ฟุตบอลโลก 2022 ด้วยการปราบทีมจากแอฟริกา – โมร็อกโก

เบลเยี่ยม จะคว้าตั๋วเข้ารอบ 16 ทีม ฟุตบอลโลก 2022 ด้วยการปราบทีมจากแอฟริกา – โมร็อกโก

ทำนายผล เกมนัดที่ 3 ของกลุ่ม เอฟ เบลเยี่ยม– โมร็อกโก

วันที่ 27 พฤศจิกายน เวลา 20:00 น. (ตามเวลาบ้านเรา) ถ่ายทอดทาง: 9MCOT/ True Sports 2

เบลเยี่ยม ฟุตบอลโลก 2022

ทีมยุคทองของเบลเยี่ยม อาจจะมีฟุตบอลโลก 2022 เป็นโอกาสพิสูจน์ตัวเองหนสุดท้าย (ภาพ: Twitter @BelRedDevils)

สถานการณ์ของเบลเยี่ยมและโมร็อกโก

ปีศาจแดงแห่งยุโรป คว้าชัยนัดแรกมาได้แบบหืดจับ ด้วยการเฉือนหวิวแคนาดา 1-0 ในเกมที่เควิน เดอบรอยน์ ยอมรับว่า แคนาดาเป็นทีมที่ดีกว่า เช่นเดียวกับโค้ชของทีมโรเบอร์โต้ มาร์ติเนซ และกับคู่ต่อสู้ในนัดที่ 2 อย่างโมร็อกโก ก็ไม่ใช่คู่แข่งที่จัดการได้ง่ายเช่นกัน เมื่อดูฟอร์มการเล่นในนัดแรก ที่ทีมจากแอฟริกา รับมือรองแชมป์เก่า โครเอเชียได้เป็นอย่างดี และแบ่งแต้มได้สำเร็จจากผลเสมอ 0-0 โดยเล่นได้ไม่ต่างไปจากทีมในยุโรป ทีมเวิร์กแน่น มีความแข็งแกร่งของร่างกาย ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เมื่อดูรายชื่อสโมสรที่นักเตะเหล่านี้ สังกัดอยู่ และคราวนี้ก็เป็นที่ 3 จากฟุตบอลโลกหนที่แล้ว ที่ต้องโมร็อกโกต้องเผชิญ

เบลเยี่ยม จะคว้าตั๋วเข้ารอบ 16 ทีม ฟุตบอลโลก 2022 ด้วยการปราบทีมจากแอฟริกา – โมร็อกโก

โมร็อกโก ที่เป็นชาติแรกของแอฟริกาใต้ ที่ผ่านรอบแรกฟุตบอลโลกได้สำเร็จ (ภาพ: www.moroccoworldnews.com)

สถานการณ์ผู้เล่นของเบลเยี่ยมและโมร็อกโก

โรเมลู ลูกากู ที่นั่งชมเกมเบลเยี่ยมเอาชนะแคนาดาไปได้หวุดหวิด 1-0 โดยนั่งดูเกมจากอัฒจันทร์ ซึ่งบางทีการทีทีมต้องกระเสือกกระสนอย่างหนักกว่าจะได้แต้มอย่างที่ต้องการ โดยอาศัยความเก๋า และประสบการณ์มาช่วยอย่างเห็นได้ชัด อาจจะเป็นเพราะขาดกองหน้าที่จบสกอร์ได้เด็ดขาดอย่างเขาก็เป็นได้ แต่ทีมปีศาจแดงแห่งยุโรป ก็น่าจะยังไม่สามารถใช้งานเขาได้ในนัดนี้ แม้ดาวยิงจากอินเตอร์ มิลานจะกลับมาลงซ้อมเดี่ยวได้แล้ว หลังรับบาดเจ็บกล้ามเนื้อ แต่คงจะเสี่ยงเกินไปหากให้เขาลงเล่นในนัดนี้ โดยสภาพความฟิตยังไม่เต็มร้อย อย่างเร็วที่สุดที่ลูกากูจะลงเล่นคงเป็นเกมนัดสุดท้ายของรอบแรก ที่ต้องเจอกับโครเอเชีย และนั้นหมายความว่า บัตชัวยี่ที่ทำหมูหกอยู่หลายครั้งในเกมนัดแรกจะได้ทำหน้าที่แทนต่อไป โดยมีโลอิส โอเพนด้าจาก ล็องส์ ในลีก เอิง เป็นอีกตัวเลือก เช่นที่แสดงให้เห็นในครึ่งหลังของเกมนัดแรก นอกจากนี้มาร์ติเนซยังมี ลีอันโดร ทรอสซาร์ดให้ใช้บริการอีกคน ซึ่งฟอร์มในนัดเจอแคนาดา ที่เขาลุกจากม้านั่งสำรองในครึ่งหลัง ถือว่าทำได้ดี แต่ดาวเด่นจากไบรตัน แอนด์ โฮฟ อัลเบียน น่าจะเป็นตัวสำรองอดทนให้กัปตันทีมเอเด็น อาซาร์ดต่อไป ในหลาย ๆ ตำแหน่งน่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากนัดแรกมากนัก แต่โธมัส มูนิเยร์ กับอามาดู โอนาน่า น่าจะมีโอกาสได้ลงเล่นในตำแหน่งวิงแบ็คและกองกลางตามลำดับ

ทางฝั่งโมร็อกโก กองกลางคนสำคัญ ซอนฟาน อัมราบัต น่าจะได้ลงเล่น แต่ต้องระวังตัวเมื่อมีใบเหลืองติดมาจากเกมเจอโครเอเชีย โดยวาลิด เรกรากุย น่าจะให้ลงเล่นเป็น 11 ตัวแรกเหมือนนัดที่แล้ว เช่นเดียวกับ ยาสมีน บอนอ ผู้รักษาประตูจากเซบีญ่า ที่อยู่หลังแนวรับซึ่งประกอบด้วย อาชราฟ ฮาคิมี่, โรเมน ซาอิสส์ และนาเยฟ อาเกิร์ด แต่นูสแซร์ มาซราอุย แบ็คจากบาเยิร์น มิวนิก ที่ถูกหามออกในชั่วโมงสุดท้ายเกมระหว่างโมร็อกโกกับโครเอเชีย หลังสะโพกกระแทกพื้น ที่รายงานอาการบาดเจ็บในตอนแรก ระบุว่าไม่ร้ายแรงมากอย่างที่คิด อาจจะฟื้นตัวลงเล่นไม่ทันนัดนี้ ซึ่งต้องรอเช็คสถานการณ์ก่อนลงเตะอีกที ถ้าลงเล่นไม่ได้โอกาสจะเป็นของยาเฮีย อัตติยาต-อัลลาห์ อับเดลฮามิด ซาบิรี่ ก็ไม่น่าจะลงเล่นได้เนื่องจากมีอาการบาดเจ็บ อับเดสซามาด เอซซาลซูลี่ ก็มีบาดเจ็บโคนขาหลัง

เอเด็น อาซาร์ เบลเยี่ยม ฟุตบอลโลก 2022

กลายเป็นนักเตะตัวรองของสโมสรไปแล้ว ซึ่งผิดจากทีมชาติ และเช็คความเยี่ยมยอดของอาซาร์ได้ในฟุตบอลโลก 2022 (ภาพ: AFP)

นักเตะที่น่าจะได้ลงสนามเป็น 11 ตัวจริงของเบลเยี่ยมและโมร็อกโก

เบลเยี่ยม ระบบ 3-4-2-1: คูร์ตัวส์; เดนดองเคอร์, อัลเดอร์ไวเรลด์, แฟร์ตองเก้น; มูนิเยร์, วิตเซล, ตีเลอมองส์, คาสแตงน์; เดอ บรอยน์, เอเด็น อาซาร์ด; บัตชัวยี่
โมร็อกโก ระบบ 4-3-3: บอนอ; ฮาคิมี่, อาเกิร์ด, ซาอิสส์, อัลลาห์; อูนาฮี, อัมราบัต, อามัลลาห์; ซีเย็ก, เอ็น-เนย์สรี่, บูฟอล

สถานการณ์ของเกมระหว่างเบลเยี่ยมและโมร็อกโก

ในเกมฟุตบอลโลก 8 นัดสุดท้ายในรอบแบ่งกลุ่ม สถิติของเบลเยี่ยมถือว่าทำได้ดีมาก เมื่อเก็บชัยได้ทั้งหมด ซึ่งเท่ากับที่ทีมเต็ง 1 ของฟุตบอลโลกในครั้งนี้ บราซิลทำได้ และที่ยิ่งไปกว่านั้น เบลเยี่ยมไม่เคยแพ้ก่อนรอบน็อคเอาต์ นับตั้งแต่พ่ายให้ซาอุดิอาระเบียในปี 1994 แต่จากที่เห็นในนัดแรกของฟุตบอลโลกครั้งนี้ เบลเยี่ยมที่ทีม “ยุคทอง” น่าจะเดินทางมาถึงบั้นปลายแล้ว ต้องเหนื่อยนักกว่าจะเก็ยชัยชนะได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พวกเขายังต้องหาจุดลงตัวในเกม หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้ แต่ด้วยผู้เล่นระดับท็อป ที่เต็มไปด้วยประสบการณ์มากมาย เบลเยี่ยมน่าจะทำได้ดีกว่านัดแรก แต่จากที่เห็นแม้สถานการณ์จะถูกกดดันแค่ไหน ขอแค่โอกาสเพียงครั้งหรือสองครั้ง เท่านั้นก็พอแล้วสำหรับปีศาจแดงแห่งยุโรป ที่ด้วยความเหนียวแน่นของโมร็อกโก พวกเขาจะต้องใช้โอกาสที่มีให้คุ้มค่าที่สุด และน่าจะเอาชนะไปได้อย่างหวุดหวิดอีกครั้ง

ปีศาจแดงเฉือนโมร็อกโก 1-0 หรืออาจจะยิงเพิ่มได้อีกสักประตู

เรื่องน่าอ่าน:
1. กลุ่ม เอฟ ในฟุตบอลโลก 2022 โอกาสพิสูจน์ตัวเองของเบลเยี่ยม ทีมยุคทองที่เริ่มโรยรา และรองแชมป์ชรา
2. ใครจะอยู่ใครจะไป พระกาฬในรอบ 16 ทีมสุดท้ายของฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์จะเป็นใคร
3. นักเตะดาวรุ่งคนไหนจะเป็นซูเปอร์สตาร์หน้าใหม่ในฟุตบอลโลก 2022
4. แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022 แบรนด์ไหนครองตลาด มีไหมชาติที่ไม่ทำเสื้อทีมใหม่ในโอกาสนี้

เบลเยียม vs โมร็อกโก : ตรวจความพร้อมรอบแรก ฟุตบอลโลก 2022

เบลเยียม vs โมร็อกโก : ตรวจความพร้อมรอบแรก ฟุตบอลโลก 2022

ฟุตบอลโลก 2022 รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มเอฟ : เบลเยียม vs โมร็อกโก
อาทิตย์ 27 พฤศจิกายน 2565, 20.00 น.
สนาม : อัล ธูมาม่า สเตเดี้ยม, โดฮา
ถ่ายทอดสด : 9MCOT

 

ผลงานรอบคัดเลือก
เบลเยียม
แชมป์กลุ่มอี โซนยุโรป
เตะ 8 ชนะ 6 เสมอ 2 แพ้ 0 ยิงได้ 25 เสีย 6

โมร็อกโก
ชนะ ดีอาร์ คองโก รอบ 3 โซนแอฟริกา
นัดแรกเสมอ 1-1, นัดสองชนะ 4-1

 

ฟอร์ม 5 เกมหลังสุด
เบลเยียม
เนชั่นส์ ลีก ชนะ โปแลนด์ 1-0
เนชั่นส์ ลีก ชนะ เวลส์ 2-1
เนชั่นส์ ลีก แพ้ เนเธอร์แลนด์ 0-1
อุ่นเครื่อง แพ้ อียิปต์ 1-2
ฟุตบอลโลก 2022 ชนะ แคนาดา 1-0

โมร็อกโก
คัด AFCON ชนะ ไลบีเรีย 2-0
อุ่นเครื่อง ชนะ ชิลี 2-0
อุ่นเครื่อง เสมอ ปารากวัย 0-0
อุ่นเครื่อง ชนะ จอร์เจีย 3-0
ฟุตบอลโลก 2022 เสมอ โครเอเชีย 0-0

 

ผลการพบกัน (3 นัด)
ฟุตบอลโลก 1994 เบลเยียม ชนะ 1-0
อุ่นเครื่อง 1999 เบลเยียม ชนะ 4-0
อุ่นเครื่อง 2008 โมร็อกโก ชนะ 4-1

 

สภาพทีม
เบลเยียม
ผ่านเข้ารอบแบบไร้พ่ายจากรอบคัดเลือกโซนยุโรป และเกมแรกก็เบียดชนะ แคนาดา 1-0 จากประตูโทนของ มิชี่ บัตชูอายี่

 

โรเบร์โต้ มาร์ติเนซ กุนซือชาวสแปนิชของทัพปีศาจแดงแห่งยุโรป ถูกคาดหมายว่าจะคุมทีมในฟุตบอลโลก 2022 ครั้งนี้เป็นทัวร์นาเมนต์สุดท้าย ภายหลังอยู่บนเก้าอี้มาพักใหญ่ตั้งแต่ปี 2016 และร่วมสร้างยุคทองให้ เบลเยียม เต็มไปด้วยนักเตะระดับคุณภาพ แต่กลับมีร่องรอยตำหนิตรงที่ไม่มีแชมป์รายการใดติดมือเป็นชิ้นเป็นอัน ดีที่สุดคือเป็นอันดับ 3 ฟุตบอลโลก 2018 ที่รัสเซีย

 

สำหรับความพร้อมของ เบลเยียม ในเกมนี้ มาร์ติเนซ ยังคงไม่สามารถใช้งาน โรเมลู ลูกากู ดาวยิงเบอร์หนึ่งเจ้าของสถิติ 68 ประตูในนามทีมชาติ ได้ หลังจากหัวหอกอินเตอร์ มิลาน เจ็บต้นขาจนไม่ได้เล่นมาตั้งแต่สิ้นเดือน ต.ค.

 

การขาด ลูกากู ทำให้หน้าเป้าจะเป็นโอกาสต่อเนื่องของ มิชี่ บัตซูอายี่ โดยมี เควิน เดอ บรอยน์ กับ เอแด็น อาซาร์ เป็นตัวปั้นเกมสนับสนุน

 

โมร็อกโก
มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ตัวกุนซือ วาฮิด ฮาลิลฮ็อดซิช โดนเด้งไปเมื่อกลางปี หรือก่อนฟุตบอลโลก 2022 จะมาถึงแค่ไม่กี่เดือน โดยเป็น วาลิด เรกรากี อดีตนายใหญ่ อัล-ดูฮาอิล และ วีดัด คาซาบลังก้า มาเสียบแทน

 

แต่ โมร็อกโก ก็อยู่ในทรงที่ดีทีเดียว ชนะ 4 จาก 6 เกมหลังสุด และแพ้เกมเดียวเท่านั้นจาก 9 แมตช์หลัง รวมเกมแรกที่ยันเสมอ โครเอเชีย 0-0

 

อย่างไรก็ตาม เรกรากี มีตัวเจ็บเยอะทีเดียว ทั้ง นูสแซร์ มาซราอุย แบ็กจากบาเยิร์น มิวนิค, อับเดลฮามิด ซาบิรี่ กองกลางจากซามพ์โดเรีย และ อับเดสซาหมัด เอซซาลซูลี่ กองหน้าโอซาซูน่า ไม่พร้อมเล่น

 

แต่ขุนพลตัวหลักอย่าง ฮาคิม ซีเย็ค, โซฟียาน บูฟาล, ยุสเซฟ เอ็น-เนซีรี่ หรือ อัชราฟ ฮาคิมี่ พร้อมรบตามปกติทั้งหมด

 

ตัวความหวัง
เบลเยียม : เควิน เดอ บรอยน์
สร้างชื่อขึ้นเป็นหนึ่งในเพลย์เมกเกอร์ที่ดีที่สุดในโลก และมาตรฐานสูงๆ ก็ยังคงอยู่เช่นเดิมในซีซั่นนี้ ที่ยิง 3 ประตู แอสซิสต์อีกถึง 13 กับการเล่นให้ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ 19 นัด สำหรับในทีมชาติ (94 นัด 25 ประตู) เดอ บรอยน์ ก็ถือเป็นทีเด็ดทีขาดที่ทุกคู่แข่งต้องระวังอยู่เสมอ ไม่ว่าจะลูกจ่ายคมๆ หรือการชงเองกินเองที่มิดฟิลด์วัย 31 พร้อมจัดให้ได้หมด

 

โมร็อกโก : ฮาคิม ซีเย็ค & อัชราฟ ฮาคิมี่
ฮาคิม ซีเย็ค เลิกเล่นทีมชาติไปช่วงหนึ่งเนื่องจากความขัดแย้งส่วนตัวกับโค้ชเก่า วาฮิด ฮาลิลฮอดซิช ซึ่งพอมีการเปลี่ยนเป็น วาลิด เรกรากี แล้วก็กลับสู่สารบบทีมชาติดังเดิม โดยแม้จะเจอปัญหาเข้าๆ ออกๆ จากทีมเชลซี แต่ก็คือตัวยืนของทีมชาติ มีผลงานยิง 18 ประตูจาก 44 เกม ด้าน ฮาคิมี่ พัฒนาตัวเองไปจนอยู่ในระดับแบ็กขวาตัวท็อปของวงการแล้ว พร้อมกับบางเสียงยกว่าเป็นเบอร์ 1 โลกยุคปัจจุบันด้วยซ้ำ โดยยิงไปแล้ว 8 ประตูใน 54 เกมทีมชาติ

 

11 ตัวจริงที่คาด
เบลเยียม (3-4-2-1, กุนซือ โรเบร์โต้ มาร์ติเนซ) ติโบต์ กูร์กตัวส์ – ยาน แฟร์ตองเก้น, โทบี้ อัลเดอร์ไวเรลด์, เลอันเดร์ เดนดองเคอร์ – ยานนิค การ์รัสโก้, อักเซล วิตเซล, ยูรี่ ตีเลมันส์, ทิโมธี คาสตันเย่ – เควิน เดอ บรอยน์, เอแด็น อาซาร์ – มิชี่ บัตชูอายี่
โมร็อกโก (4-2-3-1, กุนซือ วาลิด เรกรากี) ยาสซีน บูนู – นยาห์ย่า อัตติอัต-อัลลาห์, นาเยฟ อาแกร์ด, โรแม็ง ไซส์, อัชราฟ ฮาคิมี่ – อัซเซดีน อูนาฮี, โซฟียาน อัมราบัต – ฮาคิม ซีเย็ค, โซฟียาน บูฟาล, เซลิม อมัลลาห์ – ยุสเซฟ เอ็น-เนซีรี่

 

สถิติที่เกี่ยวข้อง
• พบกันมาแค่ 3 ครั้ง หนึ่งในนั้นเป็นเกมฟุตบอลโลก 1994 ที่สหรัฐฯ เบลเยียม เฉือนชนะ 1-0
• เจอกันล่าสุดปี 2008 โมร็อกโก ถลุง 4-1 ซึ่งบางคนอย่าง ยาน แฟร์ตองเก้น หรือ อักเซล วิตเซล อยู่ในทีมวันนั้นด้วย
• เบลเยียม ชนะเกมฟุตบอลโลก 7 จาก 8 นัดหลัง
• โมร็อกโก ไม่ชนะเกมฟุตบอลโลกถึง 10 จาก 11 แมตช์ล่าสุด
• โมร็อกโกชุดนี้มีเด็กอายุ 18 ด้วย อย่าง บิลาล เอล คานนุส กองกลางดาวรุ่งเชื้อสายเบลเยียมจาก เกงค์ ซึ่งไม่เคยเล่นชุดใหญ่มาก่อน

 

ความน่าจะเป็น
ห้ามประมาทเป็นเด็ดขาดสำหรับ เบลเยียม เมื่อนอกจากฟอร์มของพวกเขาเองจะไม่ได้อยู่ในจุดที่ดีที่สุดแล้ว ยังมีปัญหาสภาพทีม อีกทั้ง โมร็อกโก เองก็มีทีเด็ดทีขาดสร้างอันตรายได้อยู่ แม้ความเป็นไปได้อาจมีโอกาสที่ เบลเยียม จะชนะมากกว่า แต่จะไม่ยิงขาด และมีมุมที่ โมร็อกโก จะดึงแต้มได้ด้วย

 

ผลที่คาด : เบลเยียม ชนะ 1-0, เสมอ 1-1

 

โปรแกรมถัดไป
พฤหัสบดี 1 ธันวาคม 2565
22.00 — โครเอเชีย vs เบลเยียม
22.00 — แคนาดา vs โมร็อกโก

 

โครเอเชีย รองแชมป์เก่า จะเอาชัยเหนือโมร็อกโก ในฟุตบอลโลก 2022 นัดแรกของพวกเขา

โครเอเชีย รองแชมป์เก่า จะเอาชัยเหนือโมร็อกโก ในฟุตบอลโลก 2022 นัดแรกของพวกเขา

ทำนายผลฟุตบอลโลก 2022 นัดแรก ของกลุ่ม เอฟ โมร็อกโก – โครเอเชีย

โครเอเชีย ฟุตบอลโลก 2022

รองแชมป์เก่า เดินทางมากาตาร์พร้อมกับข่วงโรยราเต็มที่ของเหล่าซูเปอร์สตาร์ (ภาพ: Russian Presidential Press and Information Office/CC)

โมร็อกโก ฟุตบอลโลก 2022

โมร็อกโก มากาตาร์ เข้าร่วมฟุตบอลโลก 2022 ในแบบที่มีนักเตะระดับท็อปมากที่สุด เท่าที่เคยมีมาก็ว่าได้ (ภาพ: www.moroccoworldnews.com)

เกมในกลุ่ม เอฟ วันที่ 23 พฤศจิกายน เวลา 17:00 น. (ตามเวลาในบ้านเรา) ถ่ายทอด True4U/ True Sports 2: เกมนัดแรกของกลุ่ม เอฟ การโชว์ตัวของโครเอเชีย รองแชมป์เมื่อ 4 ปีก่อน โดยพวกเขาจะเจอกับโมร็อกโก ทีมจากแอฟริกา ที่ในช่วงฟุตบอลยูโรที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่า ทีมตราหมากรุกนั้น อยู่ในช่วงกำลังโรยราและเปลี่ยนผ่าน ที่การส่งต่อไม่ได้ราบรื่นและลงตัวนัก เมื่อยังอาศัยผู้เล่นในชุดรองแชมป์โลกเป็นแกนหลักเหมือนเดิม จนหลาย ๆ คนมองว่า พวกเขาไม่น่าจะไปได้ไกลอย่างที่เคยทำได้

เส้นทางก่อนการเจอกันของโมร็อกโก – โครเอเชีย

ทั้งสองทีมเคยเจอกันแค่ครั้งเดียวในปี 1996 เป็นเกมกระชับมิตรและจบลงด้วยสกอร์ 2-2 ที่มีการดวลจุดโทษตามมา ซึ่งโครเอเชียคว้าชัยไปได้ ซึ่งไม่สามารถเอามาเป็นมาตรฐานวัดการเจอกันครั้งนี้ได้ เพราะเวลาก็ผ่านมาตั้ง 26 ปีแล้ว ส่วนสถิติในฟุตบอลโลกทีมสิงโตจากแอตลาส เคยสร้างเซอร์ไพรส์ไว้ในฟุตบอลโลก 1986 เมื่อเป็นที่หนึ่งในสาย ที่ประกอบด้วย อังกฤษ, โปแลนด์ และโปรตุเกส ซึ่งนั่นคือครั้งที่พวกเขาไปได้ไกลที่สุด ที่รอบ 16 ทีม ซึ่งตอนนั้นประเทศโครเอเชียยังไม่มีเลยด้วยซ้ำ ส่วนทีมตราหมากรุก ครั้งแรกที่เข้าร่วมพวกเขาก็เป็นทีมอันดับ 3 ในฟุตบอลโลก 1998 ก่อนจะตกรอบแรกในอีก 3 ครั้งต่อมา แล้วเป็นรองแชมป์ในปีที่โมร็อกโกทำได้แค่ตกรอบแรก

โมร็อกโกถือว่ามาดีในรอบคัดเลือก ทำให้พอมีความหวังว่า จะทำได้อย่างที่ทีมชุด 1986 ทำได้ ซึ่งพวกเขาต้องเอาชนะโครเอเชียหรือไม่ก็เบลเยี่ยมสองทีมจากยุโรปให้ได้ หรือไม่ก็แบ่งแต้มจากทั้งสองนัด แล้วไปเอาชนะแคนาดา

ห้านัดล่าสุดของทั้งคู่ โมร็อกโกชนะ 3 เสมอ 2 โดยหนึ่งในนั้นคือการปราบชิลี 2-0 แต่เมื่อเทียบกับทีมตราหมากรุก ต้องบอกว่าคนละเรื่อง เพราะพวกเขาชนะรวด และ 4 ทีมที่เจอก็คือ เสือ-สิงห์-กระทิง-แรดของยุโรปทั้งนั้นในเกมเนชั่นส์ ลีก ไม่ว่าจะเป็นโคนมที่พวกเขาชนะทั้งไปและกลับ, ฝรั่งเศส แชมป์โลก และออสเตรีย ส่วนนัดหลังสุดก็เก็บซาอุดิอาระเบีย หนึ่งใน 32 ทีมของฟุตบอลโลกครั้งนี้ และการที่โมร็อกโกไม่ได้เจอทีมระดับหัวแถวมากนัก งานของพวกเขาเลยดูยากไปเลย

ความพร้อมของนักเตะโมร็อกโกและโครเอเชีย

โครเอเชีย รองแชมป์เก่า จะเอาชัยเหนือโมร็อกโก ในฟุตบอลโลก 2022 นัดแรกของพวกเขา

ลูก้า โมดริช ดาวเตะที่ดีที่สุดของโครเอเชีย รองแชมป์ฟุตบอลโลก 2018

สิ่งหนึ่งที่เป็นความเปลี่ยนแปลงของโมร็อกโกก็คือ ฮาคิม ซีเย็ก ที่กลับมาเล่นทีมชาติ หลังมีปัญหากับโค้ชวาฮิด ฮาลิฮอดซิซ จนเลิกเล่น แต่เมื่อฮาลิฮอดซิซถูกปลด แม้จะทำทีมไปถึงรอบก่อนรองชนะเลิศของฟุตบอลแอฟริกัน คัพ ออฟ เนชั่นส์ เขาก็กลับมา ที่น่าจะทำให้เกมของทีมยกระดับจากเดิมได้ โดยเฉพาะเกมตามกราบเมื่อยังมีผู้เล่นในแดนนี้อย่าง อาชราฟ ฮาคิมี่ ที่ว่ากันว่าเป็นหนึ่งในฟูลแบ็คที่ดีที่สุดของโลกยุคนี้, นูสแซร์ มาซราอุย จากบาเยิร์น มิวนิก แล้วก็มีผู้เล่นเด่น ๆ จากลีกระดับหัวแถวของยุโรป อย่าง โรเมน ซาอิสส์ หรือยูสเซฟ เอ็น-เนสรี น่าเสียดายที่ไม่มีอามีน ฮาริต เพราะบาดเจ็บจากเกมลีกเอิงนัดสุดท้ายก่อนฟุตบอลโลก แต่ก็เรียก อานาสส์​ ซารูรี จากเบิร์นลีย์ มาแทน ส่วนเซลิม อามาลลาห์ จากสตองดาร์ด ลีเอช ซึ่งไม่ได้เล่นให้สโมสรเลย ตั้งแต่เดือนกันยาฯ ถูกเรียกมาติด และอาจได้ลงเล่น แต่วาลิด เรเกรกุย ที่ยังมีอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้ออยู่ น่าจะพลาดเกมนัดแรกของทีม

ฝั่งโครเอเชียที่จุดแข็งต่างไปจากโมร็อกโก เมื่อแดนกลางแข็งปั้ก ไม่มีผู้เล่นบาดเจ็บในลิสต์และฟอร์มก็มาดีเหลือเกิน แม้เกมอุ่นเครื่องนัดสุดท้ายกับซาอุดิ อาระเบีย มาร์โก ลิวายากับคริสติยาน จากิซ ไม่ติดทีม แต่ก็ไม่มีข่าวเรื่องการได้รับบาดเจ็บ

ผู้เล่นที่คาดว่าจะลงสนามของโมร็อกโกและโครเอเชีย

โมร็อกโก ระบบ 4-3-3: บูนู; ฮาคิมี่, อะการ์ด, ซาอิสส์, มาซซาราอุย; อมาลลาห์, อามราบัต, โอนูไฮ; ซิเย็ก, เอ็น-เนยสรี่, โบฟาล
โครเอเชีย ระบบ 4-3-3: ลิวาโควิก; จูราโนวิก, ซูตาโล่, กวาร์ดิออล, โซซ่า; โมดริซ, บรอโซวิซ, โควาซิซ ; วลาซิซ, ครามาริก, เปริซิซ

ผลการแข่งขันระหว่างโมร็อกโก – โครเอเชีย

ด้วยสภาพผู้เล่น สภาพฟอร์ม ทีมตราหมากรุกเหนือกว่าสิงโตจากแอตลาสอย่างเห็นได้ชัด และน่าจะเอาชนะไปได้ ในเกมที่พวกเขาน่าจะครองเกมได้แบบเบ็ดเสร็จ เล่นเอาแน่นอนเป็นหลัก ซึ่งเป็นมาตรฐานของโครเอเชียไปแล้วก็ว่าได้ แต่สกอร์ไม่น่าจะสูงมากนัก เมื่อดูจากเกมหลัง ๆ ที่พวกเขามักเก็บชัยแบบหวุดหวิด 1-0 เป็นส่วนใหญ่ หากจะมากกว่านี้ ผลต่างประตูได้เสียก็ไม่น่าจะเกิน 2 ลูก

เรื่องน่าอ่าน:
1. 
กลุ่ม เอฟ ในฟุตบอลโลก 2022 โอกาสพิสูจน์ตัวเองของเบลเยี่ยม ทีมยุคทองที่เริ่มโรยรา และรองแชมป์ชรา
2. ทีมจากแอฟริกา จะไปได้ไกลแค่ไหนในฟุตบอลโลก 2022 ?
3. ฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ งานอำลายอดนักเตะคนไหนบ้าง นอกจากโรนัลโด้และเมสซี่
4. ฟุตบอลโลกในอนาคต เมื่อเอเชียมีสิทธิ์ 8+1 ทีม โอกาสของทีมชาติไทยอยู่ตรงไหน ?

โมร็อกโก vs โครเอเชีย : ตรวจความพร้อมรอบแรก ฟุตบอลโลก 2022

โมร็อกโก vs โครเอเชีย : ตรวจความพร้อมรอบแรก ฟุตบอลโลก 2022

ฟุตบอลโลก 2022 รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มเอฟ : โมร็อกโก vs โครเอเชีย
พุธ 23 พฤศจิกายน 2565, 17.00 น.
สนาม : อัล เบย์ท สเตเดี้ยม, อัล คอร์
ถ่ายทอดสด : ทรูโฟร์ยู

 

ผลงานรอบคัดเลือก
โมร็อกโก
ชนะ ดีอาร์ คองโก รอบ 3 โซนแอฟริกา
นัดแรกเสมอ 1-1, นัดสองชนะ 4-1

โครเอเชีย
แชมป์กลุ่มเอช โซนยุโรป
เตะ 10 ชนะ 7 เสมอ 2 แพ้ 1 ยิงได้ 21 เสีย 4

 

ฟอร์ม 5 เกมหลังสุด
โมร็อกโก
คัด AFCON ชนะ แอฟริกาใต้ 2-1
คัด AFCON ชนะ ไลบีเรีย 2-0
อุ่นเครื่อง ชนะ ชิลี 2-0
อุ่นเครื่อง เสมอ ปารากวัย 0-0
อุ่นเครื่อง ชนะ จอร์เจีย 3-0

โครเอเชีย
เนชั่นส์ ลีก ชนะ เดนมาร์ก 1-0
เนชั่นส์ ลีก ชนะ ฝรั่งเศส 1-0
เนชั่นส์ ลีก ชนะ เดนมาร์ก 2-1
เนชั่นส์ ลีก ชนะ ออสเตรีย 3-1
อุ่นเครื่อง ชนะ ซาอุดีอาระเบีย 1-0

 

ผลการพบกัน (1 นัด)
อุ่นเครื่อง 1996 โมร็อกโก 2-2 โครเอเชีย

 

สภาพทีม
โมร็อกโก
มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ตัวกุนซือ วาฮิด ฮาลิลฮ็อดซิช โดนเด้งไปเมื่อกลางปี หรือก่อนฟุตบอลโลก 2022 จะมาถึงแค่ไม่กี่เดือน โดยเป็น วาลิด เรกรากี อดีตนายใหญ่ อัล-ดูฮาอิล และ วีดัด คาซาบลังก้า มาเสียบแทน

 

แต่ โมร็อกโก ก็อยู่ในทรงที่ดีทีเดียว ชนะ 4 จาก 5 เกมหลังสุด และแพ้เกมเดียวเท่านั้นจาก 8 แมตช์หลัง

 

กับนัดเปิดหัวฟุตบอลโลก 2022 เกมนี้ เรกรากี มีปัญหาตัวเจ็บอยู่ 2 ราย อับเดลฮามิด ซาบิรี่ กองกลางจากซามพ์โดเรีย กับ อับเดสซาหมัด เอซซาลซูลี่ กองหน้าโอซาซูน่า ไม่พร้อมเล่น

 

แต่ขุนพลตัวหลักอย่าง ฮาคิม ซีเย็ค, โซฟียาน บูฟาล, ยุสเซฟ เอ็น-เนซีรี่, นูสแซร์ มาซราอุย หรือ อัชราฟ ฮาคิมี่ พร้อมรบตามปกติทั้งหมด

 

โครเอเชีย
กำลังอยู่ในร่างทอง ซูเปอร์ไซย่า เมื่อชนะมาติดต่อกัน 5 เกมซ้อน ทั้งใน ยูฟ่า เนชั่นส์ ลีก และเกมอุ่นเครื่องล่าสุดเมื่อกลางเดือน ที่เบียด ซาอุฯ 1-0 จากประตูโทนของ อันเดรจ์ ครามาริช ท้ายเกม

 

ซลัตโก้ ดาลิช ไม่มีปัญหาตัวผู้เล่นใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากที่นายทวาร ลอฟเร่ คาลินิช เจ็บอยู่ก่อนแล้วจนหลุดโผไปตั้งแต่ก่อนประกาศรายชื่อ รวมถึงตัวที่ถูกกาทิ้งอย่าง ดูเย่ กาเลต้า-คาร์ หรือ โยซิป เบรคาโล่ ก็ไม่ได้มีความสำคัญกับทีม

 

คาดว่าระบบจะใช้ 4-3-3 แดนกลางอัดแน่นด้วยตัวเก่งอย่าง มาเตโอ โควาซิช, มาร์เซโล่ โบรโซวิช และ ลูก้า โมดริช ส่วนข้างหน้าดัน อีวาน เปริซิช ไปเดินเกมรุกร่วมกับ มาร์โก ลิวาย่า และ นิโกล่า วลาซิช

 

ตัวความหวัง
โมร็อกโก : ฮาคิม ซีเย็ค & อัชราฟ ฮาคิมี่
ฮาคิม ซีเย็ค เลิกเล่นทีมชาติไปช่วงหนึ่งเนื่องจากความขัดแย้งส่วนตัวกับโค้ชเก่า วาฮิด ฮาลิลฮอดซิช ซึ่งพอมีการเปลี่ยนตัวกุนซือเป็น วาลิด เรกรากี แล้วก็กลับสู่สารบบทีมชาติดังเดิม โดยแม้เขาจะเจอปัญหาเข้าๆ ออกๆ จากทีมเชลซี จนซีซั่นนี้เพิ่งได้เล่นแค่ 9 นัด แต่ก็คือตัวยืนของทีมชาติ มีผลงานยิง 18 ประตูจาก 43 เกม ด้าน ฮาคิมี่ พัฒนาตัวเองไปจนอยู่ในระดับแบ็กขวาตัวท็อปของวงการแล้ว พร้อมกับบางเสียงยกว่าเป็นเบอร์ 1 โลกยุคปัจจุบันด้วยซ้ำ โดยยิงไปแล้ว 8 ประตูใน 54 เกมทีมชาติ

 

โครเอเชีย : อีวาน เปริซิช
แม้การเป็นลูกทีมของ อันตนิโอ คอนต้ ที่สเปอร์ส เปริซิช จะถูกใช้งานเป็นวิงแบ็กฝั่งซ้าย แต่กับการารับใช้ชาติแล้ว เขาคือปีกซ้ายที่มีหน้าที่เล่นเกมรุกเต็มอัตรา หรือจะเรียกว่ากองหน้าไปเลยก็ได้ไม่ผิด เช่นเดียวกับเกมนี้ที่ถูกคาดหมายว่าจะถูกใช้เป็นกองหน้าฝั่งซ้ายอีกครั้งในระบบ 3 ตัวรุก ซึ่งสิ่งที่เราเห็นกันมาตลอดกับ สเปอร์ส รวมถึง อินเตอร์ มิลาน คือ เปริซิช แค่ต้องปรับความคมให้เพิ่มมากขึ้นอีกนิด สกอร์จะไหลมาเทมามากกว่าที่เป็น แต่ถึงอย่างนั้น ตอนนี้เขาก็นำดาวซัลโวของทีมชุดนี้อยู่แล้ว

 

11 ตัวจริงที่คาด
โมร็อกโก (4-2-3-1, กุนซือ วาลิด เรกรากี) ยาสซีน บูนู – นูสแซร์ มาซราอุย, นาเยฟ อาแกร์ด, โรแม็ง ไซส์, อัชราฟ ฮาคิมี่ – อัซเซดีน อูนาฮี, โซฟียาน อัมราบัต – ฮาคิม ซีเย็ค, โซฟียาน บูฟาล, เซลิม อมัลลาห์ – ยุสเซฟ เอ็น-เนซีรี่
โครเอเชีย (4-3-3, กุนซือ ซลัตโก้ ดาลิช) โดมินิก ลิวาโควิช – บอร์นา โซซ่า, ยอสโก้ กวาร์ดิโอล, โยซิป ซูตาโล่, โยซิป ยูราโนวิช – มาเตโอ โควาซิช, มาร์เซโล่ โบรโซวิช, ลูก้า โมดริช – อีวาน เปริซิช, มาร์โก ลิวาย่า, นิโกล่า วลาซิช

 

สถิติที่เกี่ยวข้อง
• เคยพบกันมาแค่ครั้งเดียวถ้วน ตั้งแต่ปี 1996 ยุค โรเบิร์ต โปรซิเนซกี้, โรเบิร์ต ยาร์นี่, ซโวนิเมียร์ ซอลโด้, มุสตาฟา ฮัดจิ ซึ่งลงเอยด้วยผลเสมอ 2-2 และมีเตะจุดโทษตัดสิน โครเอเชียชนะ 7-6
• โมร็อกโกชุดนี้มีเด็กอายุ 18 ด้วย อย่าง บิลาล เอล คานนุส กองกลางดาวรุ่งจาก เกงค์ ซึ่งไม่เคยเล่นชุดใหญ่มาก่อน แต่เคยเล่นให้ทั้ง เบลเยียม และ โมร็อกโก ในชุดเยาวชน
• โครเอเชีย มีถึง 3 คนที่เล่นทีมชาติทะลุร้อยนัด คือ ลูก้า โมดริช (155), อีวาน เปริซิช (116) และ โดมากอย วิด้า (100)
• ดาวซัลโวชุดนี้ของ โครเอเชีย เป็นวิงแบ็กอย่าง อีวาน เปริซิช ที่กดไป 32 ประตู

 

ความน่าจะเป็น
คู่คี่สูสีกันมาก ทั้ง โมร็อกโก และ โครเอเชีย ที่ต่างก็แข็งแกร่งหนั่นแน่นในทุกขุมกำลังตั้งแต่หลังมาหน้าสุด ทำให้เกมนี้เป็นอะไรที่คาดเดาลำบาก และแม้ โครเอเชีย จะมีดาวเด่นอย่าง ลูก้า โมดริช, มาเตโอ โควาซิช หรือ อีวาน เปริซิช ในทีม แต่ โมร็อกโก ชุดนี้ก็นำขบวนมาโดย ฮาคิม ซีเย็ค, ยุสเซฟ เอ็น-เนซีรี่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบ็กขวาระดับโลกอย่าง อัชราฟ ฮาคิมี่ ทำให้จะสู้กันอย่างดุเดือด ผลสามารถออกได้ทั้งสามหน้า และอาจตัดสินกันด้วยประตูเดียว

ผลที่คาด : 1-0

 

โปรแกรมถัดไป
โมร็อกโก
อาทิตย์ 27 พฤศจิกายน 2565 — 20.00 — เบลเยียม vs โมร็อกโก
พฤหัสบดี 1 ธันวาคม 2565 — 22.00 — แคนาดา vs โมร็อกโก

โครเอเชีย
อาทิตย์ 27 พฤศจิกายน 2565 — 23.00 — โครเอเชีย vs แคนาดา
พฤหัสบดี 1 ธันวาคม 2565 — 22.00 — โครเอเชีย vs เบลเยียม

 

แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022 ตอน 2

เสื้อบอลโลก 2022 ส่งกล้องมองผ้า เสื้อทีมในรอบสุดท้ายของกลุ่ม อี – เอช

เสื้อฟุตบอลโลก 2022 ของกลุ่มอี-เอช

จาก 16 ทีมในกลุ่ม เอ – ดี ที่อวดโฉมชุดแข่งในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายออกมาให้เห็น ซึ่งแต่ละทีมก็ทำออกมาได้อย่างฉูดฉาดจับตาและทำให้สนามหญ้าสีเขียวของกาตาร์​ กลายเป็นเวทีแฟชั่นฟุตบอลโลก 2022 ที่บรรดาดีไซเนอร์ของแบรนด์เสื้อผ้ากีฬาทั้งหลายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าใหญ่ อย่าง ไนกี้, อดิดาส หรือว่าเจ้าเล็ก ๆ อย่าง มาราธอน, ฮุมเมล, คัปป้า หรือว่าแบรนด์ท้องถิ่น เช่น มาจิด ต่างเค้นไอเดีย ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่มาทำให้เสื้อของทีมที่ตัวเองดูแลมีสีสัน ที่จะว่าไปแล้วไม่แพ้เกมการเล่นอย่างแน่นอน

และวันนี้เราจะมาดูแฟชั่นฟุตบอลโลกของอีก 16 ทีมที่เหลือในกลุ่ม อี – เอช

เสื้อบอลโลก ส่องแฟชั่นของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มอี: สเปน, คอสตาริก้า, เยอรมนี, ญี่ปุ่น

3 ใน 4 ทีมของสายนี้ ใช้บริการของอดิดาส แบรนด์ยักษ์ใหญ่ในโลกของฟุตบอล ที่ในฟุตบอลโลกหนนี้ดูจะเสียรังวัดไปไม่น้อย เพราะคู่แข่ง อย่าง ไนกี้ ครองแค็ตวอล์กแฟชั่นฟุตบอลโลก 2022 ไปเรียบร้อยเมื่อมีทีมใช้บริการมากที่สุด ขณะที่หนึ่งเดียวในกลุ่มนี้ที่ไม่เข้าพวกก็คือ คอสตาริก้า ที่ใช้บริการของนิวบาลานซ์ ซึ่งตัวเสื้อก็มาแบบเรียบ ๆ ดูคลาสสิกเน้นสีธงชาติ ชุดเหย้าสีแดง ชุดเยือนสีขาว และมีลูกเล่นที่ปลายแขนสีฟ้า ที่ดูเหมือนต่อออกมาจากตัวเสื้อ ส่วนสามทีมที่อดิดาสส่งเข้าประกวด เยอรมนีดูเก๋ด้วยแถบสีดำพาดกลางเสื้อสีขาวบริเวณหน้าอก จากคอถึงชายเสื้อ แต่ที่แปลกตาก็คือชุดเยือนที่ใช้สีแดงเลือดนกสลับดำเล่นลายกราฟิก สเปนชุดเหย้าเป็นสีแดงที่ดูเรียบ ๆ แต่ชุดเยือนสีขาวสลับกับกราฟิกในเนื้อผ้าสีฟ้าอ่อน ดูสวยดีทีเดียว ปิดท้ายด้วยญี่ปุ่น ที่ดูเตะตาทั้งชุดเหย้าสีน้ำเงินเข้มสลับน้ำเงินอ่อน และชุดขาวที่กราฟิกบริเวณไล่มาถึงปลายแขน ทำให้เสื้อที่ดูเหมือนไม่อะไรตัวนี้เตะตาขึ้นมาทันที

สเปน แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022

เสื้อทีมชาติสเปน ที่ชุดเยือนดูเตะตามาก ๆ (ภาพ: Footy Headlines)

คอสตาริก้า แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022

ในฟุตบอลโลก 2022 หรือแฟชั่นฟุตบอลโลก 2022 นิวบาลานซ์ มีทีมเข้าประกวดแค่ทีมเดียวคือ คอสตาริก้า (ภาพ: Footy Headlines)

เยอรมนี แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022

ชุดเหย้าของเยอรมนีมีแถบตามยาวลากจากคอมาถึงชายเสื้อ ดูมีเสน่ห์ ส่วนชุดเหย้าก็เล่นสีได้มันส์ (ภาพ: Footy Headlines)

ญี่ปุ่น แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022

ญี่ปุ่น หนึ่งในขาประจำเสื้อสวย ที่ในแฟชั่นฟุตบอลโลก 2022 ก็ยังสวยงามเหมือนเดิม (ภาพ: Footy Headlines)

กลุ่ม เอฟ: เบลเยี่ยม, แคนาดา, โมร็อกโก, โครเอเชีย
มีถึงสามแบรนด์มาประชันกัน พูม่าสินค้าตราเสือดูแลเสื้อให้ทีมจากแอฟริกา เสื้อชุดเหย้ายังคงเอกลักษณ์เดิม สีแดงและมีแถบสีเขียวคาดกลางหน้าอก ชุดเยือนแม้จะเป็นแพ็ทเทิร์นเหมือน ๆ ทีมอื่น ๆ ที่ใช้บริการแบรนด์เดียวกัน แต่การที่ไม่มีกรอบและพิมพ์ลายสีสีเทาอ่อน ๆ ลงในเนื้อผ้า ก็ทำให้แตกต่าง อดิดาสที่ใช้บริการโดยเบลเยี่ยม ชุดเหย้าสีแดงมีสีดำบริเวณไหล่ไปถึงแขน แล้วมีกิมมิกที่ปลายแขนเป็นกราฟิกเปลวเพลิง ชุดเยือนสีขาวดูเผิน ๆ เหมือนจะเรียบ ๆ แต่การเล่นสีบริเวณคอและปลายแขนก็ทำให้ดูดีขึ้นมา ส่วนแคนาดาที่ใช้บริการไนกี้ และไม่ได้ออกเสื้อใหม่รับฟุตบอลโลก ทำให้ตกแค็ตวอล์กแฟชั่นฟุตบอลโลก 2022 ไปเรียบร้อยมาแบบเรียบ ๆ สีแดงและขาว โดยคัตติ้งเป็นแพ็ทเทิร์นเดียวกับเสื้อหลาย ๆ ทีมในทัวร์นาเมนต์นี้ ส่วนโครเอเชีย โดดเด่นเสมอด้วยตารางหมากรุก แต่ไม่ได้ปูเต็มตัวเหมือนเคย โดยเฉพาะในชุดเยือนสีน้ำเงินเข้ม ตารางสีพื้นสลับกับฟ้า ก็ดูไม่ต่างจากงานอาร์ต

เบลเยี่ยม แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022

ปีศาจแดงเบลเยี่ยม มาพร้อมพลังเพลิงสำหรับชุดเหย้า ขณะที่ชุดเยือนก็มาแบบเรียบ ๆ แต่มีลูกเล่นที่คอและปลายแขน (ภาพ: Footy Headlines)

แคนาดา แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022

แคนาดาเป็นชาติเดียวที่ไม่มีเสื้อใหม่สำหรับแฟชั่นฟุตบอลโลก 2022 (ภาพ: Footy Headlines)

โมร็อกโก แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022

พูม่ายังคงเอกลักษณ์ชุดเหย้าของโมร็อกโก ที่มีแถบสีเขียวพาดกลางหน้าอกเอาไว้ ชุดเยือนก็มีลูกเล่นนิดหน่อย ทำให้ไม่เหมือนเสื้อฟอร์แม็ตนัก (ภาพ: Footy Headlines)

โครเอเชีย แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022

ตารางหมากรุกคือลายเซ็นบนเสื้อของโครเอเชียมาตลอด และหนนี้ก็ยังไม่หายไปไหน แต่ชุดเยือนดูเหมือนจะเข้าตามากกว่าชุดเหย้า (ภาพ: Footy Headlines)

กลุ่ม จี: บราซิล, เซอร์เบีย, สวิสเซอร์แลนด์, แคเมอรูน
แคเมอรูนคือชาติเดียวในฟุตบอลโลก 2022เดียวที่ยังไม่เปิดตัวเสื้อทีม แม้จะมาถึงเดือนตุลาคมแล้ว พวกเขาให้วันออลสปอร์ตส์ แบรนด์ที่มีเครดิตจากสายมอเตอร์สปอร์ตดูแลให้ ถึงจะยังไม่มีเสิื้อทีม แต่ก็ปล่อยชุดในวาระต่าง ๆ ของแคเมอรูนออกมาให้เห็นพอสมควร ส่วนชาติอื่น ๆ บราซิลยังใช้บริการไนกี้ ซึ่งตัวเสื้อคราวนี้ ชุดเยือนดูเด่นกว่าชุดหย้าในเวทีแฟชั่นฟุตบอลโลก 2022 เซอร์เบียกับสวิสเซอร์แลนด์ ใช้บริการของพูม่า ตัวชุดเยือนมาในคอนเซ็ปต์เดียวกับเสื้อชาติอื่น ที่ใช้บริการพูม่า มีตราทีมชาติกลางหน้าอก แล้วก็ต้องมีกรอบสี่เหลี่ยมหรือวงกลมที่มีเบอร์ผู้เล่นอยู่ข้างใน แต่สวิสฯ ดูจะฉีกออกไปเล็กน้อย เมื่อเป็นแถบคาดสีแดงขวางหน้าอก ตราทีมชาติกับโลโก้พูม่าขยับลงมาเล็กน้อย ก็ทำให้ฉีกไปจากฟอร์แม็ตที่ดูซ้ำ ๆ ได้พอสมควร ขณะที่เสื้อทีมเหย้าซึ่งใช้สีแดงเหมือนกันสวิสฯ ดูจะมีลูกเล่นมากกว่าตรงกราฟิกลายเส้นที่ขาวที่ไหล่

บราซิล แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022

ชุดเยือนของบราซิล ดูเตะตากว่าชุดเหย้าที่ออกไปทางคลาสสิก อย่างเห็นได้ชัด (ภาพ: Footy Headlines)

สวิสเซอร์แลนด์ แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022

สวิสเซอร์แลนด์ ยังคงใช้บริการของพูม่า ที่ทำชุดเยือนออกมาเป็นรูปแบบที่คล้ายคลึงกันทุกทีมก็ว่าได้ (ภาพ: Footy Headlines)

เซอร์เบีย แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022

เซอร์เบีย กับชุดที่ดูเรียบ ๆ ทั้งชุดเหย้า และชุดเยือน (ภาพ: Footy Headlines)

แคเมอรูน แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022

แคเมอรูน คือชาติเดียวที่ยังไม่เผยเสื้อทีมออกมาให้เห็นเต็มตาจนถึงขณะนี้ (ตุลาคม) (ภาพ: Footy Headlines)

กลุ่ม เอช: โปรตุเกส, กาน่า, อุรุกวัย, เกาหลีใต้
ปิดท้ายการส่งเสื้อทีมในแฟชันฟุตบอลโลก 2022 ด้วยกลุ่มที่เป็นการดวลระหว่างไนกี้กับพูม่า ที่ฝ่ายแรกส่งโปรตุเกสและเกาหลีใต้เข้าประกวด เสื้อชุดเหย้าของโปรตุเกสมาแบบเรียบ ๆ แต่เล่นกับสีธงชาติโดยสีพื้นเป็นแดงแต่มีสีเขียวพาดจากปลายแขนขวาต่อมาถึงช่วงล่างของเสื้อ ขณะที่ชุดเยือนดูเตะตากว่า สีขาวปลายแขนดำ และมีสีธงชาติแดง-เขียว พาดขวางหน้าอก เกาหลีใต้ชุดเหย้ามาในฟอร์แม็ตเดียวกับเหย้าของโปแลนด์แต่เปลี่ยนจากสีขาวมาเป็นแดง แต่ชุดเยือนถือว่าแซ่บมาก มีอารมณ์แบบงานอาร์ต สาดสีใส่ผืนผ้าใบสีดำ กานากับอุรุกวัยที่ให้พูม่าดูแล ชุดเยือนมาตามสูตรของพูม่าขณะที่ชุดเหย้าก็ไม่ได้มีอะไรหวือหวาเป็นพิเศษ ถือว่าไม่ค่อยมีเสน่ห์โดนตาสักเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับทีมอื่น ๆ

โปรตุเกส แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022

จากสีแดงเต็มตัว หนนี้ชุดเหย้าของโปรตุเกส จะมีสีเขียวของธงพาด ขณะที่ชุดเยือนก็ออกมาดูดี และเล่นกับสีธงชาติเช่นกัน (ภาพ: Footy Headlines)

กานา แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022

กานามาเรียบ ๆ ชุดเหย้าคล้าย ๆ กับเซอร์เบีย แต่เปลี่ยนสี มีสันที่ปลายแขน และแน่นอนชุดเยือนก็มาฟอร์แม็ตเดียวกับชุดทีมอื่น ๆ ที่พูม่าดูแล (ภาพ: Footy Headlines)

อุรุกวัย แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022

มาแบบเรียบ ๆ ไม่หวือหวา คือนิยามของเสื้อทีมอุรุกวัยในแฟชั่นฟุตบอลโลก 2022 (ภาพ: Footy Headlines)

เกาหลีใต้ แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022

ดูดีทั้งชุดเหย้าและเยือนสำหรับทีมชาติเกาหลีใต้ ที่เหลือก็คือฟอร์มการเล่นของทีม (ภาพ: Footy Headlines)

และนี่คือบรรดาเสื้อทีมชาติต่าง ๆ ในศึกฟุตบอลโลก 2022 ที่ทำให้กาตาร์และทัวร์นาเมนต์นี้เป็นสนามแฟชันฟุตบอลโลก 2022 ไปในคราวเดียวกัน

ภาพปก: FOOTYHEADLINES
เรื่องน่าอ่าน: แฟชั่นฟุตบอลโลก 2022 ตรวจดูความสวยงามของบรรดาเสื้อทีมของ 32 ทีมสุดท้าย จากกลุ่ม เอ – กลุ่มดี